Fai
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 46/198/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ด้วยสมถวิปัสสนาด้วยตนเอง ถึงความเป็นผู้เที่ยง ด้วยมรรคต้น มีมรรคอัน
ได้เฉพาะแล้ว ด้วยมรรคที่เหลือทั้งหลาย หรือมีญาณเกิดแล้ว ด้วยผลญาณ
ได้บรรลุแล้ว ซึ่งญาณทั้งปวง ด้วยตนเองเท่านั้น เพราะฉะนั้น ผู้นั้นชื่อว่า
อนญฺเนยฺโย อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแล.
ทิฏฐิวิสูกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์
คาถาที่ ๒๒
คาถาว่า นิลฺโลลุโป ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า วิเสท (พ่อครัว) ของพระเจ้าพาราณสี ปรุงพระกระยาหาร
ในระหว่างน้อมเข้าถวาย ด้วยความปรารถนาว่า การเห็นโภชนะที่ฟูใจ เป็นรส
ที่ประเสริฐ ทำอย่างไรหนอ พระราชาพึงพระราชทานทรัพย์แก่เรา. พระ-
กระยาหารนั้นยังความประสงค์ที่จะเสวยให้เกิดขึ้นแก่พระราชาด้วยกลิ่นเท่านั้น
จึงทำให้พระเขฬะเกิดขึ้นในพระโอษฐ์ แต่พอพระองค์ทรงใส่พระกระยาหาร
คำแรกลงในพระโอษฐ์ ประสาทสำหรับรับรส ๗ พัน ก็ซาบซ่านดุจถูกน้ำ
อมฤตฉะนั้น วิเสทคิดว่า บัดนี้ พระราชาจักทรงพระราชทานแก่เรา ฝ่ายอาทิผิด อาณัติกะ
พระราชาทรงพระราชดำริว่า พ่อครัวสมควรแก่สักการะ แต่ครั้นทรงลิ้มรส
แล้ว ทรงพระราชดำริว่า เกียรติศัพท์ที่ชั่ว พึงระบือถึงเราผู้สักการะว่า
พระราชานี้เป็นผู้โลภติดในรส จึงไม่ตรัสอะไร ฝ่ายวิเสทก็คิดว่า พระราชา
จักพระราชทานรางวัลในบัดนี้ จนกระทั่งเสวยพระกระยาหารเสร็จอย่างนี้ แม้
พระราชาก็ไม่ตรัสอะไร เพราะทรงกลัวการติเตียน.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论