Khao Jhan
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 53/369/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ภิกษุเหล่าใดเข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้ชอบทุกเมื่อ มี
พรหมจรรย์อันงอกงาม ภิกษุเหล่านั้นมีภพใหม่สิ้นแล้ว
ภิกษุผู้ยังมีใจฟุ้งซ่านกลับกลอก ถึงจะนุ่งห่มผ้าบังสุกุล
ภิกษุนั้นย่อมไม่งดงามด้วยผ้าบังสุกุลนั้น เหมือนกับวานร
คลุมด้วยหนังราชสีห์ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน
ไม่กลับกลอก มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์
ย่อมงดงามเพราะผ้าบังสุกุล ดังราชสีห์ในถ้ำฉะนั้น
เทพเจ้าผู้มีฤทธิ์มีเกียรติยศเป็นอันมากประมาณหมื่นและ
พรหมทั้งปวง ได้พากันมายืนประนมอัญชลี นอบ-
น้อมท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้มี
ฌานใหญ่ มีใจตั้งมั่น เปล่งวาจาว่า ข้าแต่ท่านบุรุษ
อาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดม-
บุรุษ ขอนอบน้อมแด่ท่าน ท่านย่อมเข้าอาทิผิด อาณัติกะฌานอยู่
เพราะอาศัยอารมณ์ใด ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมรู้ไม่ถึง
อารมณ์เหล่านั้นของท่าน น่าอัศจรรย์จริงหนอ วิสัยของ
ท่านผู้รู้ทั้งหลายลึกซึ้งยิ่งนัก ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้มา
ประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ นับว่าเป็นผู้เฉียบแหลมดังนาย
ขมังธนูก็ยังรู้ไม่ถึง ความยิ้มแย้มได้ปรากฏมีแก่ท่าน
พระกัปปินเถระ เพราะได้เห็นท่านพระสารีบุตรผู้ควรแก่
สักการบูชา อันหมู่ทวยเทพบูชาอยู่เช่นนั้นในเวลานั้น
ตลอดทั่วพุทธอาณาเขต ยกเว้นแต่สมเด็จพระมหามุนี
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论