星期五, 八月 31, 2018

Khom Khuen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 34/208/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๑๐. อาตัปปสูตร

ว่าด้วยความเพียร ๓ ประการ

[๔๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเพียรพึงกระทำโดยสถาน ๓
สถาน ๓ คืออะไร คือ ความเพียรพึงกระทำเพื่อยังธรรมที่เป็นบาปอกุศลอันยิ่ง
ไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อยังธรรมที่เป็นกุศลอันยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๑ เพื่ออด
กลั้นซึ่งเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขื่นไม่เจริญใจพอ
จะคร่าชีวิตได้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุทำความเพียรเพื่อยังธรรมที่เป็น
บาปอกุศลอันยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อยังธรรมที่เป็นกุศลอันยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น เพื่ออดกลั้นซึ่งเวทนาที่เกิดในกายอันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อน ขม
ขื่นอาทิผิด ไม่เจริญใจพอจะคร่าชีวิตได้ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้มีความเพียร มี
ปัญญา มีสติ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.
จบอาตัปปสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาอาตัปปสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอาตัปปสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อาตปฺปํ กรณียํ ความว่า ควรประกอบความเพียร. บทว่า
อนุปฺปาทาย ความว่า เพื่อต้องการไม่ให้เกิดขึ้น อธิบายว่า ต้องทำด้วย
เหตุนี้ คือ ด้วยคิดว่า เราจักตรวจตราไม่ให้กิเลสเกิดขึ้น. แม้ต่อจากนี้ไป
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 30, 2018

Banphachit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/159/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ต้องนุ่งผ้าขาด ผ้าปะ ผ้าย้อมน้ำฝาด จำต้องฉันแต่ข้าวคลุกในบาตรเหล็ก
หรือบาตรดิน จำต้องนอนแต่บนเตียงลาดด้วยหญ้าเป็นต้น ในเสนาสนะ
มีโคนไม้เป็นอาทิ จำต้องนั่งบนท่อนหนังอาทิผิด และเสื่อลำแพนเป็นต้น จำต้อง
ประกอบยาด้วยน้ำมูตรเน่าเป็นต้น. พึงทราบความมีเพศต่างโดยบริขาร
ในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็บรรพชิตอาทิผิด อักขระพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมละโกปะ
ความขัดใจ และมานะความถือตัวเสียได้.
บทว่า ปรปฏิพทฺธา เม ชีวิกา ความว่า บรรพชิตพึงพิจารณา
อย่างนี้ว่า ความเป็นอยู่ด้วยปัจจัย ๔ จำต้องเกี่ยวเนื่องในผู้อื่น อิริยาบถ
ก็สมควร อาชีวะการเลี้ยงชีพก็บริสุทธิ์ ทั้งเป็นอันเคารพยำเกรงบิณฑ-
บาต ชื่อว่าเป็นผู้บริโภคไม่พิจารณาในปัจจัย ๔ ก็หามิได้.
บทว่า อญฺโญ เม อากกฺโป กรณีโย ความว่า บรรพชิตพึงพิจารณา
ว่าอากัปกิริยาเดินอันใดของเหล่าคฤหัสถ์ คือย่างก้าวไม่กำหนด โดยอาการ
ยืดอกคอตั้งอย่างสง่างาม เราพึงทำอากัปกิริยาต่างไปจากอากัปกิริยาของ
คฤหัสถ์นั้น เราพึงมีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ มองชั่วแอก ย่างก้าวกำหนด
แต่น้อย [ไม่ย่างก้าวยาว] พึงเดินไปเหมือนนำเกวียนบรรทุกน้ำไปในที่
ขรุขระ. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมมีอากัปกิริยาสมควร
สิกขา ๓ ย่อมบริบูรณ์.
ศัพท์อาทิผิด อักขระว่า กจฺจิ นุ โข รวมนิบาตลงในความกำหนด. บทว่า อตฺตา
ได้แก่ จิต. บทว่า สีลโต น อุปวทติ ได้แก่ ไม่ตำหนิตนเองเพราะศีลเป็น
ปัจจัยอย่างนี้ว่าศีลของเราไม่บริบูรณ์. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมตั้งหิริความละอายขึ้นภายใน. หิรินั้น ก็ให้สำเร็จความสำรวมใน
ทวารทั้ง ๓. ความสำรวมในทวารทั้ง ๓ ย่อมเป็นจตุปาริสุทธิอาทิผิด สระศีล บรรพ-
ชิตผู้ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล เจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 八月 29, 2018

Anulom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 86/175/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระภาคเจ้าทรงย่อไว้ ก็ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงด้วยอำนาจการกำหนดที่มีได้เหล่า
นี้เอง แล้วทราบอนุโลมอาทิผิด อักขระปัจจนียนัย และปัจจนียานุโลนัยเถิด.
สหชาตวาระ มีคติอย่างเดียวกับ ปัจจยวาระ นิสสยวาระ สัง-
สัฏฐวาระ และสัมปยุตตวาระ ย่อมกำหนดตามบาลีนั่นเอง.
พึงทราบวินิจฉัยใน ปัญหาวาระ ต่อไป. สองบทว่า กุสลากุสเล
นิรุทฺเธ ความว่า เมื่อกุศลอันเป็นไปด้วยอำนาจวิปัสสนา และเมื่ออกุศล
อันเป็นไปด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้นนี้ดับไปแล้ว. คำว่า วิปาโก ตทา-
รมฺมณตา อุปฺปชฺชติ ความว่า กามาวจรวิบากย่อมเกิดขึ้นโดยเป็นตทารัมมณะ
ส่วนอาจารย์เหล่าใดกล่าวว่า ในที่สุดแห่งวิปัสสนาชวนะ และ
วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต อุทธัจจสัมปยุตตจิตไม่มีตทารัมมณะ อาจารย์
เหล่านั้นพึงถูกคัดค้านด้วยพระบาลีนี้. คำว่า อากาสานญฺจายนกุสลํ
วิญฺญาณญฺจายตนกิริยสฺส อารมฺมณปจฺจเยน ปจฺจโย นี้ ท่านกล่าว
ไว้ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้บรรลุพระอรหัต แล้วเข้าสมาบัติที่ไม่เคยเข้าโดย
ปฏิโลม. ในวิสัชนาทั้งปวง ผู้ศึกษาพิจารณาบาลีให้ดีแล้ว พึงทราบเนื้อความ
โดยอุบายนี้.
แม้ในคำว่า เหตุยา สตฺต อารมฺมเณ นว อธิปติยา ทส เป็น
ต้น ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งสหชาตาธิปติปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย
สหชาตนิสสยปัจจัย ปุเรชาตนิสสยปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย อารัมมณู-
ปนิสสยปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย สหชาตวิปปยุตตปัจจัย และปุเรชาตวิปป-
ยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้นในปัจจัยใด ๆ ได้วิสัชนาจำนวนเท่าใด โดยประการ
ใด ๆ ผู้ศึกษาพึงกำหนดวิสัชนาเหล่านั้นทั้งหมดในปัจจัยนั้น ๆ โดยประการ
นั้น ๆ. อนึ่ง วิธีทั้งหมดคือการยกวาระด้วยอำนาจอนุโลมในปัจจนียนัยเป็น
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 八月 24, 2018

Sati

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/168/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ไม่มีผู้อื่นแนะนำ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยไม่ตรัสรู้ด้วยผู้อื่น. บทว่า วิสวิตาย พุทฺโธ ชื่อว่า พุทฺโธ
เพราะมีพระสติอาทิผิด สระไพบูลย์ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่าแย้ม
ดุจดอกบัวแย้มโดยที่ทรงแย้มด้วยคุณต่าง ๆ. ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทฺโธ
เพราะเป็นผู้ฉลาดในการสิ้นไปแห่งการนอนหลับด้วยกิเลสทั้งปวงด้วยละธรรม
อันทำจิตให้ท้อแท้โดยปริยาย ๖ มีอาทิว่า ขีณาสวงฺขาเตน พุทฺโธ ชื่อว่า
พุทฺโธ เพราะนับว่าพระองค์สิ้นอาสวะ ดุจบุรุษผู้ฉลาดในการสิ้นไปแห่งการ
นอนหลับ. เพราะบทว่า สงฺขา สงฺขาตํ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน
ความว่า โดยส่วนแห่งคำว่า สงฺขาเตน. ชื่อว่า เพราะนับว่าไม่มีเครื่องลูบไล้
เพราะไม่มีเครื่องลูบไล้อาทิผิด อาณัติกะต่อตัณหาและเครื่องลูบไล้ต่อทิฏฐิ. ท่านอธิบายบทมีอาทิ
ว่า เอกนฺตวีตราโค ทรงปราศจากราคะโดยส่วนเดียวให้แปลกด้วยคำว่า
โดยส่วนเดียว เพราะละกิเลสทั้งปวงพร้อมด้วยวาสนาได้แล้ว. บทว่า เอกนฺ-
ตนิกฺกิเลโส พระองค์ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว คือ ไม่มีกิเลสด้วยกิเลสทั้งปวง
อันเหลือจาก ราคะ โทสะ และโมหะ. ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเสด็จไปแล้วสู่
หนทางไปแห่งบุคคลผู้เดียว แม้อรรถแห่งการตรัสรู้ ก็ชื่อว่า เป็นอรรถแห่ง
การไปสู่ธาตุทั้งหลาย เพราะอรรถแห่งการตรัสรู้อันเป็นอรรถแห่งการไปถึง
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า พุทฺโธ เพราะเสด็จไปสู่หนทางที่ไปแห่ง
บุคคลผู้เดียว.
อนึ่ง ในบทว่า เอกายนมคฺโค นี้ ท่านกล่าวชื่อของทางไว้ในชื่อ
เป็นอันมากกว่า
มรรค ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏุมะ
อายนะ นาวา อุตตรสตุ (สะพานข้าม) กุลล (แพ)
สังกมะ (ทางก้าวไป).
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 八月 21, 2018

Phuen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 70/171/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระผู้มีพระภาคเจ้า พรรณนาการเสด็จดำเนินไปยังนครแห่งราชสกุลของ
พระทศพล ด้วยคาถาประมาณ ๖๐ คาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ต้นไม้ทั้งหลายมีสีแดง กำลัง
ทรงผลสลัดใบแล้ว ต้นไม้เหล่านั้น สว่างโพลงดุจมีเปลวไฟ
ข้าแต่มหาวีระ ถึงสมัยที่เหมาะสมแก่การที่พระองค์จะรื่น
รมย์ ฯลฯ
สถานที่ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด ไม่อัตคัดและอดอยากนัก
พื้นอาทิผิด อักขระภูมิภาคมีหญ้าแพรกเขียวสด ข้าแต่พระมหามุนี กาลนี้
เป็นกาลสมควรที่จะเสด็จไป ดังนี้.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระกาฬุทายีเถระว่า ดูก่อนอุทายี เพราะ
เหตุไรหนอ เธอจึงพรรณนาการไป ด้วยเสียงอันไพเราะ พระกาฬุทายี
เถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
พระบิดาของพระองค์ ทรงมีพระประสงค์จะพบเห็นพระองค์ ขอพระองค์
จงทรงกระทำการสงเคราะห์พระญาติทั้งหลายเถิด. พระศาสดาตรัสว่า
ดีละอุทายี เราจักกระทำการสงเคราะห์อาทิผิด สระพระญาติทั้งหลาย เธอจงบอก
แก่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจักได้ทำคมิกวัตร คือระเบียบของผู้จะไปให้
บริบูรณ์. พระเถระรับพระดำรัสว่า ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แล้ว
บอกแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้อมล้อมด้วยพระภิกษุขีณาสพสองหมื่นองค์
คือ ภิกษุกุลบุตรชาวเมืองอังคะและมคธะหมื่นองค์ ภิกษุกุลบุตร
ชาวเมืองกบิลพัสดุ์หมื่นองค์ เสด็จออกจากเมืองราชคฤห์เสด็จดำเนินวัน
ละโยชน์หนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า จากเมืองราชคฤห์
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 八月 18, 2018

Asoraphit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 27/195/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มีเรื่องเล่าว่า หญิงคนหนึ่งเหนื่อยล้าจากการเดินทางด้วย
กองเกวียนในทางกันดารทะเลทรายตลอดทั้งคืน ครั้นถึงเวลากลางวัน
เมื่อพระอาทิตย์อุทัยทรายร้อนระอุ นางไม่สามารถจะวางเท้าลงไปได้
จึงเอาตะกร้า (ที่เทินมา) ลงจากศีรษะแล้วเหยียบไว้ เมื่อตะกร้า
ร้อนมากเข้า ๆ โดยลำดับ นางก็ไม่สามารถ (เหยียบ) ยืนอยู่ได้ จึง
วางผ้าลงบนตะกร้านั้นแล้วเหยียบ เมื่อผ้าแม้นั้นร้อน นางจึงจับลูกน้อยที่
อุ้มมาให้นอนคว่ำหน้าลงแล้ว (ยืน) เหยียบลูกน้อยซึ่งส่งเสียงร้องไห้
จ้าอยู่ (นาง) ถูกความร้อนแผดเผา (ไม่ช้า) ก็ขาดใจตายในที่นั้นเอง
พร้อมกับลูกน้อย (ของนาง) นั้น.
บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์ตัวยาวทุกชนิดที่เลื้อยคลานไป
ความย่อยยับเพราะสัมผัสของสัตว์ตัวยาวเหล่านั้น พึงทราบด้วย
อำนาจแห่งเหตุมีถูกอสรพิษอาทิผิด ขบกัดเป็นต้น.

ลักษณะ ๒
ธรรมทั้งหลายมีลักษณะอยู่ ๒ ลักษณะ คือ สามัญญลักษณะ
(ลักษณะทั่วไป) ๑ ปัจจัตตลักษณะ (ลักษณะเฉพาะตัว) ๑ บรรดา
ลักษณะทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปัจจัตตลักษณะของ
รูปขันธ์ไว้เป็นอันดับแรกด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. ก็
ปัจจัตตลักษณะนี้มีแก่รูปขันธ์เหล่านั้น หามีแก่ขันธ์ทั้งหลาย (นอกนี้)
มีเวทนาขันธ์เป็นต้นไม่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะ.
ส่วนอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ย่อมมีแก่ขันธ์
ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นด้วย เพราะฉะนั้น ลักษณะทั้ง ๓ นั้นจึงเรียกว่า
สามัญญลักษณะ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 16, 2018

Chamraek

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/170/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เฉพาะ ๑ การทำให้แจ้งด้วยการทำให้เป็นอารมณ์ ๑.
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด จัดจำแนกเข้าฝ่ายเสื่อม กล่าวคือเป็นไป
ในฝ่ายแห่งความเสื่อมด้วยสามารถแห่งการกำเริบขึ้นแห่งธรรมอันเป็น
ข้าศึก ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น จึงชื่อว่า หานภาคิยา - อัน
เป็นส่วนแห่งความเสื่อม.
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด จัดจำแนกเข้าในฝ่ายดำรงอยู่ กล่าวคือตั้ง
อยู่ ด้วยสามารถแห่งการตั้งมั่นแห่งสติตามสมควรแก่ธรรมนั้น ฉะนั้น
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น จึงชื่อว่า ฐิติภาคิยา - อันเป็นส่วนแห่งการ
ดำรงอยู่.
ธรรมทั้งหลายเหล่าใด จัดจำแนกเข้าในฝ่ายคุณวิเศษด้วยสามารถ
แห่งการบรรลุคุณพิเศษในเบื้องบน ฉะนั้น ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
จึงชื่อว่า วิเสสภาคิยา - อันเป็นส่วนแห่งคุณพิเศษ.
ธรรมใด ย่อมชำแรก ย่อมทำลาย กองโลภะ โทสะ โมหะ
ซึ่งยังไม่เคยชำแรกอาทิผิด อักขระ ไม่เคยทำลาย ฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า นิพ-
เพธะ - ผู้ทำลาย คือ อริยมรรค, ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ย่อมจัด
จำแนกเข้าในฝ่ายทำลายนั้น ด้วยสามารถแห่งการตั้งขึ้นแห่งสัญญามน-
สิการอันสหรคตด้วยนิพพิทา - ความเบื่อหน่าย ฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย
เหล่านั้น จึงชื่อว่า นิพเพธภาคิยา - อันเป็นส่วนแห่งความเบื่อ
หน่าย.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 八月 15, 2018

Asai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/173/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยอาทิผิด วิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งกลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรค
อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อ-
ละตัณหา ๓ อย่างนี้แล.
จบปฐมตัณหาสูตรที่ ๑๗

๑๘. ทุติยตัณหาสูตร

ตัณหา ๓
[๓๓๑] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ฯลฯ
[๓๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกําหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่าง
นี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกําจัด
โทสะเป็นที่สุด มีอันกําจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอัน
กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกําจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกําจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น
ที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 八月 13, 2018

Kasi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 48/151/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุโต นุ อาคมฺม ความว่า ดูก่อน
นวลนางผู้ดูไม่จืดเลย คืองามทุกส่วนสัด เพราะบุญกรรมอะไรหนอ เป็น
ตัวเหตุ ตัวเจ้าจึงมาเข้าถึง คือเข้าถึงโดยการถือกำเนิด ยังภพของเรานี้.
ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงประกาศความที่ตรัสว่า อโนมทสฺสเน นี่แล
ด้วยอุปมา จึงตรัสว่า พฺรหฺมํว เทวา ติทสา สหินฺทกา สพฺเพน
ตปฺปามเส ทสฺสเนน ตํ. ในคาถานั้น ความว่า ทวยเทพชั้นดาวดึงส์
ที่ชื่อว่า สหินทกะ เพราะพร้อมด้วยองค์อินทร์ เมื่อพบท้าวสหัมบดีพรหม
หรือสนังกุมารพรหมที่เสด็จถึง ย่อมไม่อิ่มด้วยการเห็น ฉันใด พวกเรา
ทวยเทพทุกองค์ย่อมไม่อิ่ม ด้วยการเห็นเจ้า ฉันนั้น.
ก็เทวดาองค์นั้น ถูกท้าวสักกะ จอมทวยเทพตรัสถามอย่างนี้แล้ว
เมื่อจะประกาศความนั้น จึงกล่าว ๒ คาถาว่า
ข้าแต่ท่านท้าวสักกะ พระองค์ทรงพระกรุณา
ตรัสถามข้าพระบาทถึงปัญหาข้อนี้ได้ว่า เจ้าจุติจาก
ที่ไหนจึงมา ณ ที่นี้ ข้าพระบาทขอทูลตอบปัญหาข้อ
นั้นว่า ราชธานีของแคว้นกาสีอาทิผิด อักขระมีอยู่ชื่อว่า พาราณสี
ข้าพระบาทเกิดในราชานี้นั้น มีชื่อว่า เปสการี
เพคะ.
ข้าพระบาทมีใจเลื่อมใส มีความเชื่อมั่นส่วน
เดียว ไม่สงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระสงฆ์ รักษาสิกขาบทไม่ขาดวิ่น บรรลุผลแล้ว
เป็นผู้แน่นอนในธรรม คือการตรัสรู้ ไม่มีโรคภัย.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 八月 11, 2018

Kolahon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/165/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในสามพวกนั้น ทิฏฐิมังคลิกบุรุษ ก็ไม่อาจทำให้สุตมังคลิกบุรุษและ
มุตมังคลิกบุรุษยินยอมได้ ทั้งสามฝ่ายนั้น ฝ่ายหนึ่ง ก็ทำอีกสองฝ่ายให้ยินยอม
ไม่ได้ บรรดามนุษย์เหล่านั้น พวกใดยอมรับคำของทิฏฐิมังคลิกบุรุษ พวกนั้น
ก็ถือว่ารูปที่เห็นแล้ว เท่านั้นเป็นมงคล. พวกใด ยอมรับคำของสุตมังคลิกบุรุษ
และมุตมังคลิกบุรุษ พวกนั้นก็ถือว่าเสียงที่ได้ยินเท่านั้นเป็นมงคล สิ่งที่ได้
ทราบเท่านั้น เป็นมงคล. เรื่องมงคลปัญหานี้ ปรากฏไปทั่วชมพูทวีป ด้วย
ประการฉะนี้.
ครั้งนั้น มนุษย์ทั่วชมพูทวีปถือกันเป็นพวกๆ พากันคิดมงคลทั้งหลาย
ว่า อะไรกันหนอเป็นมงคล. อารักขเทวดาของมนุษย์พวกนั้น ฟังเรื่องนั้น
แล้ว ก็พากันคิดมงคลทั้งหลายเหมือนกัน. เหล่าภุมมเทวดา เป็นมิตรของ
เทวดาเหล่านั้น ฟังเรื่องจากอารักขเทวดานั้นแล้ว ก็พากันคิดมงคลอย่างนั้น
เหมือนกัน. อากาสัฏฐกเทวดาเป็นมิตรของเทวดาเหล่านั้น จตุมหาราชิกเทวดา
เป็นมิตรของอากาสัฏฐกเทวดาเหล่านั้น โดยอุบายนี้ ตราบถึงอกนิฏฐเทวดา
เป็นมิตรของสุทัสสีเทวดา ฟังเรื่องจากสุทัสสีเทวดานั้นแล้ว ก็ถือกันเป็นพวก ๆ
พากันคิดมงคลทั้งหลาย ด้วยอุบายอย่างนี้ การคิดมงคลได้เกิดไปในที่ทุกแห่ง
จนถึงหมื่นจักรวาล. ก็การคิดมงคลเกิดขึ้นแล้ว แม้วินิจฉัยว่านี้เป็นมงคล นี้
เป็นมงคลแต่ก็ยังไม่เด็ดขาด จึงตั้งอยู่ถึง ๑๒ ปี. ทั้งมนุษย์ทั้งเทวดาทั้งพรหม
หมดด้วยกันเว้น พระอริยสาวกแตกเป็น ๓ พวก คือทิฏฐมังคลิกะอาทิผิด อักขระ สุตมังคลิกะ
และมุตมังคลิกะ แม้แต่พวกหนึ่ง ก็ตกลงตามเป็นจริงไม่ได้ว่า นี้เท่านั้นเป็น
มงคล มงคลโกลาหลอาทิผิด อักขระ การแตกตื่นเรื่องมงคลเกิดขึ้นแล้วในโลก.
ขึ้นชื่อว่า โกลาหลมี ๕ คือ กัปปโลาหล จักกวัตติโกลาหล
พุทธโกลาหล มงคลโกลาหล โมเนยยโกลาหล. บรรดาโกลาหลทั้ง ๕
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 八月 10, 2018

Phlat Phrak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 17/621/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ภายนอกบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้างพิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อม
ในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรม
บ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่น อยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อ
ว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่.
[ ๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ?
แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งไม่
เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากอาทิผิด อักขระจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออาทิผิด อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ?
ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้น ๆ อันนี้เรียกว่าชาติ.
ก็ชราเป็นไฉน ?
ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความ
เสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์
นั้น ๆ อันนี้เรียกว่าชรา.
ก็มรณะเป็นไฉน ?
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 09, 2018

Ruen Rom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/502/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๕. รามเณยยกสูตร

ว่าด้วยภูมิสถานอันน่ารื่นรมย์

[๙๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นแล้วทรงถวายบังคมแล้วประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับ
เรียบร้อยแล้ว ได้ตรัสถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สถานที่เช่นไรหนอ เป็น
ภูมิสถานอันน่ารื่นรมย์.
[๙๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
อารามอันวิจิตร ป่าอันวิจิตร สระ
โบกขรณีที่สร้างอย่างดี ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่
๑๖ อันแบ่งออก ๑๖ ครั้ง แห่งภูมิสถาน
อันรื่นรมย์ของมนุษย์ พระอรหันต์ทั้งหลาย
อยู่ในที่ใด เป็นบ้านหรือป่าก็ตาม เป็น
ที่ลุ่มหรือที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิสถาน
อันน่ารื่นรมย์อาทิผิด อักขระ.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 八月 08, 2018

Ying

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/180/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อัศจรรย์บ้าง เราจักกล่าวว่าได้เคยเห็นสัตว์เช่นนี้ เขาก็จักถามว่า สัตว์นั้น
ชื่ออะไร ถ้าเราจักตอบว่า ไม่รู้จัก เขาก็จักติเตียนเรา เพราะเหตุนั้น เราจัก
ยิงผู้นี้ทำให้ทุรพลแล้ว จึงถามเรื่อง ลำดับนั้น ในเมื่อฝูงมฤคนั้นลงดื่มน้ำแล้ว
ขึ้นก่อน พระโพธิสัตว์จึงค่อย ๆ ลงราวกะพระเถระผู้มีวัตรอันเรียนแล้ว อาบ-
น้ำระงับความกระวนกระวายแล้วขึ้นจากน้ำ นุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดงผืนหนึ่ง ห่ม
ผืนหนึ่ง เอาหนังเสือพาดเฉวียงบ่า ยกหม้อน้ำขึ้นเช็ดน้ำแล้ววางบนบ่าซ้าย
ก็ในกาลนั้น พระราชาทรงคิดว่า บัดนี้เป็นสมัยที่จะยิง จึงยกลูกศรอาบยาพิษ
นั้นขึ้นยิงพระโพธิสัตว์ถูกข้างขวาทะลุออกข้างซ้าย ฝูงมฤครู้ว่าพระมหาสัตว์
ถูกยิง ตกใจกลัวหนีไป ฝ่ายสุวรรณสามบัณฑิตแม้ถูกยิง ก็ประคองหม้อน้ำ
ไว้โดยปกติ ตั้งสติค่อย ๆ วางหม้อน้ำลง คุ้ยเกลี่ยทรายตั้งหม้อน้ำ กำหนดทิศ
หันศีรษะไปทางทิศาภาคเป็นที่อยู่ของอาทิผิด บิดามารดา เป็นดุจสุวรรณปฏิมานอน
บนทรายมีพรรณดังแผ่นเงิน ตั้งสติกล่าวว่า ชื่อว่าบุคคลผู้มีเวรของเราใน
หิมวัน ประเทศนี้ย่อมไม่มี บุคคลผู้มีเวรของบิดามารดาของเราก็ไม่มี
กล่าวดังนี้แล้วถ่มโลหิตในปาก ไม่เห็นพระราชาเลย เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถา
ที่หนึ่งว่า
ใครหนอใช้ลูกศรยิงอาทิผิด อาณัติกะเราผู้ประมาทกำลังแบก
หม้อน้ำ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ คนไหนยิงอาทิผิด อาณัติกะเรา
ซ่อนกายอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมตฺตํ ความว่า ผู้ไม่ตั้งสติในการ
เจริญเมตตา ก็คำนี้พระโพธิสัตว์กล่าวหมายเนื้อความว่า ได้กระทำตนอาทิผิด อักขระเป็นผู้
ประมาทในขณะนั้น. บทว่า วิทฺธา ความว่า ยิงแล้วซ่อนกายอยู่ในที่นี้
ชนชื่อไรหนอ เป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์ หรือแพศย์ ใช้ลูกศรอาบยาพิษ
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 八月 05, 2018

Than

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/203/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เมื่อเราสละพ่อชาลี แม่กัณหาชินาผู้เป็น
ธิดาและพระนางมัทรีผู้จงรักสามี ไม่คิดถึง
เลย เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง. บุตร
ทั้งสองเราก็ไม่เกลียด พระนางมัทรีเราก็ไม่
เกลียด แต่สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา.
เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้บุตรและภริยาอัน
เป็นที่รักของเราอีกครั้งหนึ่ง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า จชมาโน น จินฺเตสิ คือเมื่อเราสละ
ก็มิได้คิดถึงด้วยความเดือดร้อน. อธิบายอาทิผิด อักขระว่า เราสละแล้วก็เป็นอันสละไปเลย.
ในบทนี้สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็เพราะเหตุไรเล่าพระมหาบุรุษจึงทรงสละ
บุตรภริยาของพระองค์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเป็นกษัตริย์ โดยให้เป็นทาสของ
ผู้อื่น. เพราะการทำผู้เป็นไทบางพวก ไม่ให้เป็นไท มิใช่สิ่งที่ดี. ตอบว่า
เพราะเป็นธรรมสมควร. จริงอยู่การเข้าถึงพุทธการกอาทิผิด อักขระธรรม เป็นธรรมดานี้
คือ การบริจาควัตถุที่เขาหวงว่า นี้ของเราเนื่องในตนทั้งปวงได้โดยไม่
เหลือ. จริงอยู่การสละวัตถุที่เขาหวงว่า ของเราแก่ยาจกผู้ขอจะไม่สมควร
แก่พระโพธิสัตว์ ผู้ถึงความขวนขวายเพื่อบำเพ็ญทานอาทิผิด สระบารมีปราศจากการ
กำหนดไทยธรรมและปฏิคาหกก็หามิได้. แม้นี้ก็เป็นธรรมอันสมควรมีมา
แต่เก่าก่อน. ธรรมที่ประพฤติสะสมมาสม่ำเสมอนี้ เป็นวงศ์ของตระกูล
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 八月 04, 2018

Sila

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/143/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ส่งไปแล้วก็ดี มีจิตน้อมไป โอนไป เอียงไป เพื่อให้วิริยะเกิดขึ้นในอิริยาบถ
ทั้งหลายมีการยืนการนั่งเป็นต้นก็ดี วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น. ภิกษุนั้น ย่อม
ทราบชัดว่า ก็ภาวนาของเธอย่อมเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรหัต-
มรรค ดังนี้.

ปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง
หลายอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ
ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
หรือว่าย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นของปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิด
ขึ้นแล้ว” ดังนี้.
ในข้อนั้น ปีตินั่นแหละ ชื่อว่า ธรรมอาทิผิด อักขระเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์
การทำไว้ในใจเพื่อให้ปีตินั้นเกิดขึ้น ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้น
แห่งปีติสัมโพชฌงค์ คือ
๑. พุทธานุสสติ
๒. ธัมมานุสสติ
๓. สังฆานุสสติ
๔. สีลาอาทิผิด อักขระนุสสติ
๕. จาคานุสสติ
๖. เทวตานุสสติ
๗. อุปสมานุสสติ
๘. การเว้นบุคคลผู้ (มีจิต) เศร้าหมอง
 
พระปิฎกธรรม