星期六, 八月 18, 2018

Asoraphit

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 27/195/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มีเรื่องเล่าว่า หญิงคนหนึ่งเหนื่อยล้าจากการเดินทางด้วย
กองเกวียนในทางกันดารทะเลทรายตลอดทั้งคืน ครั้นถึงเวลากลางวัน
เมื่อพระอาทิตย์อุทัยทรายร้อนระอุ นางไม่สามารถจะวางเท้าลงไปได้
จึงเอาตะกร้า (ที่เทินมา) ลงจากศีรษะแล้วเหยียบไว้ เมื่อตะกร้า
ร้อนมากเข้า ๆ โดยลำดับ นางก็ไม่สามารถ (เหยียบ) ยืนอยู่ได้ จึง
วางผ้าลงบนตะกร้านั้นแล้วเหยียบ เมื่อผ้าแม้นั้นร้อน นางจึงจับลูกน้อยที่
อุ้มมาให้นอนคว่ำหน้าลงแล้ว (ยืน) เหยียบลูกน้อยซึ่งส่งเสียงร้องไห้
จ้าอยู่ (นาง) ถูกความร้อนแผดเผา (ไม่ช้า) ก็ขาดใจตายในที่นั้นเอง
พร้อมกับลูกน้อย (ของนาง) นั้น.
บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์ตัวยาวทุกชนิดที่เลื้อยคลานไป
ความย่อยยับเพราะสัมผัสของสัตว์ตัวยาวเหล่านั้น พึงทราบด้วย
อำนาจแห่งเหตุมีถูกอสรพิษอาทิผิด ขบกัดเป็นต้น.

ลักษณะ ๒
ธรรมทั้งหลายมีลักษณะอยู่ ๒ ลักษณะ คือ สามัญญลักษณะ
(ลักษณะทั่วไป) ๑ ปัจจัตตลักษณะ (ลักษณะเฉพาะตัว) ๑ บรรดา
ลักษณะทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปัจจัตตลักษณะของ
รูปขันธ์ไว้เป็นอันดับแรกด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. ก็
ปัจจัตตลักษณะนี้มีแก่รูปขันธ์เหล่านั้น หามีแก่ขันธ์ทั้งหลาย (นอกนี้)
มีเวทนาขันธ์เป็นต้นไม่ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะ.
ส่วนอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ย่อมมีแก่ขันธ์
ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นด้วย เพราะฉะนั้น ลักษณะทั้ง ๓ นั้นจึงเรียกว่า
สามัญญลักษณะ
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: