Banphachit
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 38/159/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ต้องนุ่งผ้าขาด ผ้าปะ ผ้าย้อมน้ำฝาด จำต้องฉันแต่ข้าวคลุกในบาตรเหล็ก
หรือบาตรดิน จำต้องนอนแต่บนเตียงลาดด้วยหญ้าเป็นต้น ในเสนาสนะ
มีโคนไม้เป็นอาทิ จำต้องนั่งบนท่อนหนังอาทิผิด และเสื่อลำแพนเป็นต้น จำต้อง
ประกอบยาด้วยน้ำมูตรเน่าเป็นต้น. พึงทราบความมีเพศต่างโดยบริขาร
ในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็บรรพชิตอาทิผิด อักขระพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมละโกปะ
ความขัดใจ และมานะความถือตัวเสียได้.
บทว่า ปรปฏิพทฺธา เม ชีวิกา ความว่า บรรพชิตพึงพิจารณา
อย่างนี้ว่า ความเป็นอยู่ด้วยปัจจัย ๔ จำต้องเกี่ยวเนื่องในผู้อื่น อิริยาบถ
ก็สมควร อาชีวะการเลี้ยงชีพก็บริสุทธิ์ ทั้งเป็นอันเคารพยำเกรงบิณฑ-
บาต ชื่อว่าเป็นผู้บริโภคไม่พิจารณาในปัจจัย ๔ ก็หามิได้.
บทว่า อญฺโญ เม อากกฺโป กรณีโย ความว่า บรรพชิตพึงพิจารณา
ว่าอากัปกิริยาเดินอันใดของเหล่าคฤหัสถ์ คือย่างก้าวไม่กำหนด โดยอาการ
ยืดอกคอตั้งอย่างสง่างาม เราพึงทำอากัปกิริยาต่างไปจากอากัปกิริยาของ
คฤหัสถ์นั้น เราพึงมีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ มองชั่วแอก ย่างก้าวกำหนด
แต่น้อย [ไม่ย่างก้าวยาว] พึงเดินไปเหมือนนำเกวียนบรรทุกน้ำไปในที่
ขรุขระ. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมมีอากัปกิริยาสมควร
สิกขา ๓ ย่อมบริบูรณ์.
ศัพท์อาทิผิด อักขระว่า กจฺจิ นุ โข รวมนิบาตลงในความกำหนด. บทว่า อตฺตา
ได้แก่ จิต. บทว่า สีลโต น อุปวทติ ได้แก่ ไม่ตำหนิตนเองเพราะศีลเป็น
ปัจจัยอย่างนี้ว่าศีลของเราไม่บริบูรณ์. ด้วยว่า บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมตั้งหิริความละอายขึ้นภายใน. หิรินั้น ก็ให้สำเร็จความสำรวมใน
ทวารทั้ง ๓. ความสำรวมในทวารทั้ง ๓ ย่อมเป็นจตุปาริสุทธิอาทิผิด สระศีล บรรพ-
ชิตผู้ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล เจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论