星期日, 十月 21, 2018

Khran

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 24/226/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เท้าหน้า ๒ เท้าไว้ที่หนึ่ง วาง ๒ เท้าหลังไว้ที่หนึ่ง แล้วเอาหางใส่ไว้ระหว่าง
ขาอ่อน กำหนดโอกาสที่วางเท้าหน้า เท้าหลังและหางไว้ แล้ววางศีรษะไว้
บนเท้าหน้าทั้งสองแล้วนอน ครั้นอาทิผิด สระนอนแม้ทั้งวัน เมื่อตื่นก็ไม่ตกใจตื่น คือว่า
ยกศีรษะขึ้นกำหนดโอกาสที่วางเท้าหน้าเป็นต้น ถ้าอะไร ๆ ตั้งผิดไป ก็จะไม่
มีใจเป็นของ ๆ ตนจะเสียใจว่า เหตุนี้ ไม่สมควรแก่ชาติของท่าน (ของตน)
ทั้งไม่สมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญ ดังนี้ ย่อมนอนเหมือนอย่างนั้น ไม่ยอม
ไปหาอาหาร ก็แต่เมื่ออวัยวะมีเท้าหน้าเป็นต้นตั้งไว้เรียบร้อย ก็จะมีใจร่าเริงว่า
เหตุนั้น สมควรแก่ชาติของท่าน และสมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญ ลุกขึ้น
บิดกายแบบราชสีห์ สะบัดขนสร้อยคอบันลือสีหนาทแล้วก็ออกไปโคจร (หา
อาหาร).
การนอนในฌานที่ ๔ ตรัสเรียกว่า ตถาคตไสยา. ในการนอนทั้ง ๔
นั้น การนอนดังสีหะมาในสูตรนี้. จริงอยู่ การนอนนี้ ชื่อว่า การนอนอัน
อุดม เพราะความที่การนอนนั้นเป็นอิริยาบถอันมีอำนาจมาก. บทว่า ปาเท ปทํ
ได้แก่ วางเท้าซ้ายบนเท้าขวา. บทว่า อจฺจาธาย แปลว่า ซ้อนเท้า ได้แก่
เหลื่อมเท้ากันหน่อยหนึ่ง เพราะว่า ข้อเท้ากระทบกับข้อเท้า เข่ากระทบกับเข่า
เวทนาย่อมเกิดบ่อย ๆ จิตก็จะไม่ตั้งมั่น การนอนก็ไม่ผาสุก คือว่า การนอน
ย่อมไม่ติดต่อกัน การเหลื่อมเท้าแล้ววางอย่างนี้ เวทนาย่อมไม่เกิด จิตย่อมตั้ง
มั่น เพราะฉะนั้น จึงนอนอย่างนี้. บทว่า สโต สมฺปชาโน ได้แก่ มีสติ-
สัมปชัญญะกำหนดในการนอน. ก็บทว่า อุฏฺฐานสญฺญํ แปลว่า มีความ
สำคัญในการที่จะลุกขึ้นนี้ ท่านไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้. ก็การสำเร็จสีหไสยาของ
พระตถาคตนั้น เป็นการนอนเพราะประชวร.
ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกาเจ็ดร้อย
มีวรรณะงามยังสวนมัททกุจฉิทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: