星期三, 十月 03, 2018

Tho Thoi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/177/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปรากฏ ชื่อว่า ย่อมให้บังเกิด ผู้ให้ฉันทะบังเกิดขึ้นด้วยความเป็น
ใหญ่ยิ่ง เพราะความไม่ท้อถอยอาทิผิด อาณัติกะ เพราะความไม่หดหู่เป็นไป จึงชื่อ
ว่า ย่อมให้บังเกิดอย่างยิ่ง.

วิริยนิทเทส
ในนิทเทสแห่งวิริยะ พระโยคาวจรผู้ทำความเพียรอยู่นั่นแหละ ชื่อว่า
ปรารภความเพียร. บทที่ ๒ ท่านทำให้เจริญด้วยอุปสรรค. เมื่อทำความเพียร
อยู่นั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมเสพ ย่อมเจริญ. เมื่อทำความเพียรบ่อย ๆ ชื่อว่า
ทำให้มาก. เมื่อทำตั้งแต่ต้นเทียว ชื่อว่า ย่อมปรารภ. เมื่อทำบ่อย ๆ ชื่อว่า
ปรารภด้วยดี. เมื่อซ่องเสพด้วยสามารถแห่งภาวนา ชื่อว่า ย่อมเสพ. เมื่อให้
เจริญอยู่ ชื่อว่า ย่อมเจริญ. เมื่อทำสิ่งนั้นนั่นแหละในกิจทั้งปวงให้มาก พึง
ทราบว่า ย่อมกระทำให้มาก ดังนี้.

จิตตปัคคหนิทเทส
ในนิทเทสแห่งการประคองจิตไว้ พระโยคาวจรผู้ประกอบโดยการ
ประคับประคองซึ่งความเพียร ชื่อว่า ย่อมประคองจิตไว้ อธิบายว่า ยกจิต
ขึ้น. เมื่อประคับประคองจิตบ่อย ๆ ชื่อว่า ย่อมประคองจิตไว้ด้วยดี. จิตอัน
บุคคลประคับประคองไว้ด้วยดี ย่อมไม่ตกไปโดยประการใด เมื่ออุปถัมภ์ฐานะ
โดยประการนั้น โดยการอุปถัมภ์ด้วยความเพียร ชื่อว่า อุปถัมภ์อยู่ เมื่อ
อุปถัมภ์จิตแม้อันท่านอุปถัมภ์แล้วบ่อย ๆ เพื่อความมั่นคง ชื่อว่า ย่อมค้ำชู
ซึ่งจิตนั้น.
ในนิทเทสแห่งบทว่า “ฐิติยา” พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดง
ซึ่งคำไวพจน์ของคำว่าฐิติ (ความดำรงอยู่) แม้แห่งธรรมทั้งหมดมีความไม่-

๑. คำไวพจน์ของ ฐิติ คือ ความไม่สาบสูญ ความภิญโญยิ่ง ความเจริญ ความบริบูรณ์
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: