星期三, 十月 17, 2018

Yakhu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 27/197/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สัญญานี้ควรเป็นทั้งบริกัมมสัญญา ทั้งอุปจารสัญญา ทั้งอัปปนาสัญญา,
แม้สัญญาที่เกิดว่า “สีเขียว สีเขียว” ก็ควรเหมือนกัน. แม้ในสิ่งทั้งหลาย
มีสีเหลืองเป็นต้น ก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้เหมือนกัน
แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกแสดงเฉพาะปัจจัตตลักษณะ
ของสัญญา ซึ่งมีการจำได้หมายรู้เป็นลักษณะ.

สังขาร
บทว่า รูปํ รูปตฺตาย สงฺขตํ อภิสงฺขโรนฺติ ความว่า แม่ครัว
หุงต้มยาคูอาทิผิด อักขระ ก็เพื่อให้เป็นยาคู ปรุงขนมก็เพื่อให้เป็นขนมนั่นเอง ฉันใด
สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น ปรุงแต่ง คือประมวลมา ได้แก่รวบรวมไว้.
อธิบายว่า ให้สำเร็จซึ่งรูปนั้นเอง ที่ได้นามว่าสังขตะ เพราะปัจจัย
ทั้งหลายมาประชุมกันปรุงแต่ง เพื่อความเป็นรูป คือเพื่อความเป็นรูป
นั้น โดยประการที่สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง จะชื่อว่าเป็นรูปได้. แม้ในเวทนา
ทั้งหลาย ก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้แล. ก็ในตอนที่ว่าด้วย
สังขารนี้ มีความย่อดังนี้ :-
สังขารทั้งหลาย ย่อมปรุงแต่ง คือ ยังรูปที่เกิดพร้อมกับตน
หรือธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ที่สัมปยุตกันให้บังเกิด แม้ในที่นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงจำแนกแสดงเฉพาะปัจจัตตลักษณะของ
สังขารซึ่งมีความตั้งใจเป็นลักษณะด้วยประการฉะนี้.

วิญญาณ
บทว่า อมฺพิลมฺปิ วิชานาติ ความว่า ย่อมรู้รสเปรี้ยวของ
ผลมะม่วง ผลมะกอก และผลมะนาว เป็นต้น ว่าเป็นรสเปรี้ยว.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: