星期六, 三月 30, 2019

Patikha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 65/664/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期五, 三月 29, 2019

Khop Ha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 86/35/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มี ๓ อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
๑. บุคคลอาศัยศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาแล้ว ย่อมให้ทาน
สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา, ยังฌานที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนาให้เกิดขึ้น ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังมรรคให้เกิดขึ้น,
ยังสมาบัติให้เกิดขึ้นแล้ว, ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
๒. บุคคลอาศัยศีลที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา อาศัยสุตะ จาคะ
ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา อาศัยสุขสหคตกาย-
วิญญาณแล้ว ย่อมให้ทานด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ยังสมาบัติให้
เกิดขึ้น.
ในธรรมหมวด ๕ ที่มีศรัทธาเป็นต้น พึงเพิ่มคำว่า ก่อมานะ
ถือทิฏฐิ เข้าด้วย ส่วนหมวดที่เหลือไม่ต้องเพิ่ม.
๓. บุคคลถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่เหลือ ปล้นในเรือนหลังหนึ่ง ยืนดัก
ในทางเปลี่ยว คบหาอาทิผิด อักขระภรรยาของชายอื่น ฆ่าชาวบ้าน ฆ่าชาวนิคม ด้วยจิตที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
๔. ศรัทธาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ
โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สุขสหคตกาย-
วิญญาณเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ราคะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ ความปรารถนา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา, แก่สุขสหคตกายวิญญาณ แก่
ขันธ์ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 三月 27, 2019

Okkaka

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 47/254/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ก็พวกพราหมณ์เหล่านั้นได้ทรัพย์ในที่นั้น จากสำนักของพระราชานั้น
อย่างนี้แล้ว ชอบใจสั่งสมเสมอ ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่พราหมณ์เหล่านั้นผู้มี
ความปรารถนาหยั่งลงแล้ว พราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์เหล่านั้นแล้วได้เข้าไป
เฝ้าพระเจ้าโอกกากอาทิผิด อักขระราชอีก.
ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?
ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้น ได้ทรัพย์
ในการบูชาอย่างนั้น ๆ จากสำนักพระราชานั้นแล้ว ก็แสวงหาอาหารและเสื้อผ้า
เพียงอย่างเดียวเท่านั้นอยู่ทุก ๆ วันเป็นเวลานาน จึงได้ยินดีการสั่งสมวัตถุกาม
มีประการต่าง ๆ. ต่อจากนั้น เมื่อพราหมณ์เหล่านั้น ผู้ก้าวลงสู่ความอยาก ผู้มี
จิตอันรสตัณหาหยั่งลงแล้ว ด้วยสามารถแห่งความยินดีอันเกิดจากปัญจโครส
มีนมสดเป็นต้น ตัณหาก็เจริญยิ่งขึ้นเพราะอาศัยเนื้ออย่างนี้ว่า ปัญจโครส
ทั้งหลายแม้มีน้ำนมสดเป็นต้น ของโคทั้งหลายยังอร่อย (สาธูนิ) เพียงนี้. แล้ว
เนื้อของโคเหล่านั้นจักอร่อยกว่าแน่แท้ ต่อจากนั้นพวกพราหมณ์ก็คิดว่า ถ้า
พวกเราจักฆ่าโคแล้วจักบริโภค ก็จะเป็นผู้ถูกติเตียนได้ อย่ากระนั้นเลย พวก
เราพึงผูกมนต์ทั้งหลายขึ้น (ดีกว่า)
ลำดับนั้น พวกพราหมณ์ก็ได้ทำลายพระเวทอีกครั้งหนึ่ง คือผูกมนต์
ทั้งหลายเหล่านั้นในที่นั้น ตามสมควรแก่เรื่องนั้น ๆ แล้วผูกมนต์โกงทั้งหลาย
โดยยึดถือมนต์เดิมนั้นเป็นเครื่องหมาย มีความปรารถนาทรัพย์ได้เข้าไปเฝ้า
พระเจ้าโอกกากราชอีก เพื่อจะทูลเนื้อความนี้จึงกราบทูลว่า
แม่โคทั้งหลายเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์สำหรับใช้ในสรรพกิจของมนุษย์
ทั้งหลาย เหมือนน้ำ แผ่นดิน เงิน ทรัพย์ และข้าวเหนียวฉะนั้น เพราะ
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 三月 26, 2019

Kho

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 2/445/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โดยเร็วในสนามรบขาด, ตัวกพันธ์ไม่มีศีรษะ ย่อมวิ่งพล่านไป ภิกษุรูปอื่น
จึงประหารตัวกพันธ์ไม่มีศีรษะนั้นให้ตกไป, ภิกษุรูปไหนเล่า เป็นปาราชิก
ดังนี้. พระเถระจำนวนครึ่ง กล่าวแก้ว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ตัดการไป.
พระโคทัตตเถระ ผู้ชำนาญพระอภิธรรม กล่าวแก้ว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้
ตัดศีรษะ, ในการแสดงเนื้อความแห่งเรื่องนี้ บัณฑิตควรกล่าวเรื่องทั้งหลาย
แม้เห็นปานฉะนั้นแล.
[เรื่องภิกษุสั่งให้บุรุษด้วนดื่มเปรียงตาย]
ในเรื่องเปรียง มีวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อภิกษุสั่งไม่กำหนดว่าพวกท่าน
จงให้บุรุษผู้มือและเท้าด้วนนั้นดื่มเปรียง ดังนี้, เมื่อบุรุษนั้น ถูกพวกญาติ
ให้ดื่มเปรียงชนิดใดชนิดหนึ่งตายไป, ภิกษุต้องอาทิผิด อักขระปาราชิก. แต่เมื่อภิกษุสั่ง
กำหนดไว้ว่า จงให้ดื่มเปรียงโคอาทิผิด อักขระ เปรียงกระบือเปรียงแพะ หรือสั่งไว้ว่า จง
ให้ดื่มเปรียงที่เย็น เปรียงที่ร้อน เปรียงที่รมควัน ที่ไม่ได้รมควัน เมื่อบุรุษ
นั้นถูกพวกญาติให้ดื่มเปรียงชนิดอื่น จากเปรียงที่ภิกษุสั่งไว้นั้นตายไป เป็น
ผิดสังเกต.
[เรื่องยาดองพิเศษชื่อโลณะโสจิรกะ]
ในเรื่องยาดองโลณะโสจิรกะ มีอาทิผิด สระวินิจฉัยดังนี้:- เภสัชขนานหนึ่ง
ซึ่งปรุงด้วยข้าวทุกชนิด ชื่อว่า โลณะโสจิรกะ. เมื่อเขาจะทำเภสัชขนานนั้น
เอาน้ำฝาดแห่งผลสมอ มะขามป้อม และสมอพิเภก ธัญชาติทุกชนิด
อปรัณชาติทุกชนิด ข้าวสุกแห่งธัญชาติทั้ง ๗ ชนิด ผลทุกชนิดมีผลกล้วย
เป็นต้น ผลไม้ซึ่งงอกในหัวทุกชนิด มีผลแห่งหวาย การะเกดอาทิผิด สระอาทิผิด สระ และเป้งเป็นต้น
ชิ้นปลาและเนื้อ และเภสัชหลายอย่าง มีน้ำอาทิผิด สระผึ้ง น้ำอ้อย เกลือสินเธาว์
เกลือธรรมดา และเครื่องเผ็ดร้อน ๓ ชนิดเป็นต้น แล้วใส่รวมกันลง (ในอาทิผิด สระอาทิผิด สระหม้อ)
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 22, 2019

Khat Klao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/308/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานการเปลือยกายที่
พวกเดียรถีย์สมาทาน รูปใดสมาทานต้องอาบัติถุลลัจจัย.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งนุ่งผ้าคากรอง . . . รูปหนึ่งนุ่งผ้าเปลือกไม้
กรอง . . . รูปหนึ่งนุ่งผ้าผลไม้กรอง . . . รูปหนึ่งนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยผมคน. . .รูป
หนึ่งนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์. . . รูปหนึ่งนุ่งผ้าทำด้วยปีกนกเค้า . . .รูปหนึ่งนุ่ง
หนังเสือ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพรรณนาคุณแห่งความมัก
น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่
สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย หนังเสือนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลาอาทิผิด อักขระ ความกำจัดอาการที่น่าเลื่อมใส ความ
ไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประ-
ทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตหนังเสือ-
แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่นไม่สมควร. . . ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้ทรงหนังเสืออันเป็น
ธงชัยของเดียรถีย์เล่า การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงหนังเสืออันเป็นธงชัยของเดียรถีย์ รูปใด
ทรง ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก. . . รูปหนึ่งนุ่งผ้าทำ
ด้วยเปลือกปอ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพรรณนาคุณแห่งความมักน้อย ความ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 21, 2019

Samutthan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 87/270/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คือ เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
[๑๑๓๒] ๒. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยาคามินา-
ปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
มี ๒ อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานอาทิผิด สระรูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และกฏัตตารูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
[๑๑๓๓] ๓. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม
และเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม ฯลฯ
คือ เจตนาที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
[๑๑๓๔] ๔. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยอปจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 三月 19, 2019

Leo Lai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/248/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ของหอมและดอกไม้อันเป็นทิพย์ แล้วกล่าวว่า ทัตตะท่านมีปัญญามากเสมอ
ด้วยแผ่นดิน ตั้งแต่ไปนี้ไปท่านมีชื่อว่า ภูริทัตตะ. บทว่า ภูริ เป็นชื่อของ
แผ่นดิน. เพราะฉะนั้นพระมหาสัตว์ปรากฏชื่อว่า ภูริทัตตะ เพราะยินดี
เนื้อความอันเป็นจริง เพราะเสมอด้วยแผ่นดิน และเพราะประกอบด้วย
ปัญญาใหญ่ดังแผ่นดิน. และมีฤทธิ์มาก เพราะประกอบด้วยฤทธิ์ของนาค
ใหญ่ด้วยประการฉะนี้.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกัปนี้แหละโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสี
ถูกพระบิดาขับไล่ออกจากแว่นแคว้นไปอยู่ในป่า ได้อยู่กินกับนางนาคมาณ-
วิกาตนหนึ่ง. เมื่ออยู่ร่วมกันก็เกิดทารกสองคนเป็นชาย ๑ หญิง ๑. บุตรชื่อ
สาครพรหมทัต. ธิดาชื่อสมุททชา. ต่อมาเมื่อพระบิดาสวรรคต พระโอรส
จึงเสด็จไปกรุงพาราณสี แล้วครองราชสมบัติ ครั้งนั้นนาคราชชื่อว่าธตรัฐ
ครองราชสมบัติอยู่ในนาคพิภพประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ท้าวธตรัฐฟังถ้อยคำที่
เต่าชื่อจิตตจูฬะ ผู้พูดเหลวไหลอาทิผิด สระว่าพระเจ้ากรุงพาราณสีมีพระประสงค์จะยก
พระธิดาให้แก่ตน. พระธิดานั้นชื่อว่าสมุททชา มีรูปงาม น่าดู น่า
เลื่อมใส จึงส่งนาคมาณพ ๔ ตน ไปแล้วขู่พระเจ้ากรุงพาราณสี ผู้ไม่ทรง
ปรารถนายกพระธิดาให้ด้วยพิษนาค เมื่อพระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสว่า เรา
จะยกให้ จึงส่งบรรณาการเป็นอันมากด้วยสำแดงฤทธิ์ของนาคยิ่งใหญ่. ด้วย
บริวารมากนำพระธิดาของพระเจ้ากรุงพาราณสีไปสู่นาคพิภพ ตั้งไว้ในตำ-
แหน่งอัครมเหสี.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 16, 2019

Photchong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/242/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในสัมโพชฌงค์อาทิผิด อักขระนั้น ธรรม ๔ ประการ คือ สติสัมปชัญญะ ๑
ความเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ๑ ความเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ๑ ความ
เป็นผู้น้อมใจไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
สติสัมโพชฌงค์. ก็ในฐานะทั้ง ๗ แม้มีการก้าวไปเป็นต้น สติสัมโพชฌงค์
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยการเว้นบุคคลผู้ที่สติหลงลืมดุจกา
ซ่อนเหยื่อ ด้วยการเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เช่นพระติสสทัตตเถระและ
พระอภัยเถระ และด้วยความเป็นผู้มีจิตโอนน้อมโน้มไปเพื่อให้สติตั้งขึ้น
ในการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน
ยังสติสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ แล้วกระทำสติ-
สัมโพชฌงค์นั้นอย่างเดียวให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอา
พระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้นนั่นแล ชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
ในพระอรหัตมรรค. เมื่อกุลบุตรนั้นบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ย่อมเป็น
ผู้ชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์แล้ว.
ธรรม ๗ ประการ คือ ความสอบถาม ๑ ความทำวัตถุให้สละ
สลวย ๑ ความทำอินทรีย์ให้ดำเนินไปสม่ำเสมอ ๑ ความเว้นบุคคลผู้มีปัญญา
ทราม ๑ ความเสพบุคคลผู้มีปัญญา ๑ ความพิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง๑
ความน้อมใจไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น ๑. ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิด
ขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
บรรดาธรรม ๗ ประการนั้น ความเป็นผู้มากด้วยการสอบถาม
อันอิงอาศัยอรรถแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์
องค์มรรค ฌาน สมถะ และวิปัสสนา ชื่อว่า ความสอบถาม. การ
ทำความสละสลวยแก่วัตถุทั้งภายในและภายนอก ชื่อว่าความทำวัตถุให้
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 三月 14, 2019

Thuk

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 22/292/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ธาตุ ๖

ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุที่มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือดิน ๑ ธาตุ
คือน้ำ ๑ ธาตุคือไฟ ๑ ธาตุคือลม ๑ ธาตุคืออากาศ ๑ ธาตุคือ
วิญญาณ ๑ ดูก่อนอานนท์ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่
เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ
[๒๓๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกหรือไม่.

ธาตุ ๖ อีกอย่างหนึ่ง

พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือสุข ๑
ธาตุคือทุกข์อาทิผิด อักขระ ๑ ธาตุคือโสมนัส ๑ ธาตุคือโทมนัส ๑ ธาตุคืออุเบก-
ขา ๑ ธาตุคืออวิชชา ๑ ดูก่อนอานนท์ เหล่านั้นแล ธาตุ ๖ อย่าง แม้
ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ
[๒๔๐] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่
ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ธาตุ ๖ อีกอย่างหนึ่ง

พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ ธาตุ ได้แก่ ธาตุคือกาม ๑
ธาตุคือเนกขัมมะ ๑ ธาตุคือพยาบาท ๑ ธาตุคือความไม่พยาบาท ๑
ธาตุคือความเบียดเบียน ๑ ธาตุคือความไม่เบียดเบียน ๑ ดูก่อน
อานนท์ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านั้นแล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควร
เรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.
[๒๔๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่
ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 三月 13, 2019

Khap Lai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/625/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นักการได้ฟังดังนั้น เมื่อจะกราบทูลข่าวอย่างอื่นตามมติของตน ซึ่ง
พระเจ้าสญชัยหรือชาวเมืองมิได้ให้ทูลเลย จึงกราบทูลว่า
ชาวสีพีและชาวนิคมประชุมกันกล่าวอย่างนี้ว่า
พระเวสสันดรผู้มีวัตรอันงาม จงเสด็จไปสู่ภูผาอันชื่อ
ว่า อารัญชรคีรี ตามฝั่งแห่งแม่น้ำโกนติมารา ตาม
ทางที่พระราชาผู้ถูกขับไล่เสด็จไปนั้นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนฺติมาราย ได้แก่ ตามฝั่งแห่งแม่น้ำ
ชื่อว่าโกนติมารา. บทว่า คิริมารญฺชรํ ปติ ความว่า เป็นผู้มุ่งตรงภูผาชื่อว่า
อารัญชร. บทว่า เยน ความว่า นักการกราบทูลว่า ชาวสีพีทั้งหลายกล่าว
อย่างนี้ว่า พระราชาทั้งหลายผู้บวชแล้วย่อมไปจากแว่นแคว้นโดยทางใด แม้
พระเวสสันดรผู้มีวัตรงดงามก็จงเสด็จไปทางนั้น ได้ยินว่า นักการนั้นถูก
เทวดาดลใจจึงกล่าวคำนี้.
พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงมีพระราชดำรัสว่า สาธุ เราจักไป
โดยมรรคาที่เสด็จไปแห่งพระราชาทั้งหลายผู้รับโทษ ก็แต่ชาวเมืองทั้งหลายมิได้
ขับไล่อาทิผิด อักขระเราด้วยโทษอื่น ขับไล่เราเพราะเราให้คชสารเป็นทาน เมื่อเป็นเช่นนี้
เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทานสักหนึ่งวัน ชาวเมืองจงให้โอกาสเพื่อเราได้ให้
ทานสักหนึ่งวัน รุ่งขึ้นเราให้ทานแล้วจักไปในวันที่ ๓ ตรัสฉะนี้แล้วตรัสว่า
เราจักไปโดยมรรคาที่พระราชาทั้งหลายผู้ต้อง
โทษเสด็จไป ท่านทั้งหลายงดโทษให้เราสักคืนกับ
วันหนึ่ง จนกว่าเราจะได้บริจาคทานก่อนเถิด.
นักการได้ฟังดังนั้นแล้วกราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระบาท
จักแจ้งความนั้นแก่ชาวพระนครและแด่พระราชา ทูลฉะนี้แล้วหลีกไป
พระมหาสัตว์ส่งนักการนั้นไปแล้ว จึงให้เรียกมหาเสนาคุตมาเฝ้า
ดำรัสให้จัดสัตตสดกมหาทานว่า พรุ่งนี้เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทาน ท่าน
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 三月 11, 2019

Atthayasai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 42/219/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นั้นแตกจากเราแล้ว ” รีบไป เห็นหญิงนั้นฟังธรรมอยู่ในสำนักพระศาสดา
จึงทูลพระศาสดาว่า “ พระเจ้าข้า หญิงคนนี้เขลา ไม่เข้าใจธรรมกถาอัน
ละเอียด. อย่าตรัสธรรมกถาอันละเอียดซึ่งประดับด้วยสภาวธรรมมีขันธ์
เป็นต้น ตรัสแต่เพียงทานกถาหรือสีลกถาแก่เขาก็พอ.”
สักการะย่อมฆ่าคนถ่อย
พระศาสดา ทรงทราบอัธยาศัยอาทิผิด อักขระของเธอแล้ว ตรัสว่า “ เธอเป็น
คนปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า ห้ามปรามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า.
เธอพยายามเพื่อฆ่าตนเอง ” แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๘. โย สาสนํ อรหตํ อริยานํ ธมฺมชีวินํ
ปฏิกฺโกสิ ทุมฺเมโธ ทิฏฺฐึ นิสฺสาย ปาปิกํ
ผลานิ กณฺฏกสฺเสว อตฺตฆญฺญาย ผลฺลติ.
“ บุคคลใดปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า คัด
ค้านคำสั่งสอนของพระอริยบุคคล ผู้อรหันต์ มีปกติ
เป็นอยู่โดยธรรม, บุคคลนั้นย่อมเกิดมาเพื่อฆ่าตน
เหมือนขุยแห่งไม้ไผ่. ”
แก้อรรถ
ความแห่งพระคาถานั้นว่า :-
บุคคลใดปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า ห้ามปรามพวกคนผู้
กล่าวอยู่ว่า ‘ จักฟังธรรมก็ดี.’ ว่า ‘ จักถวายทานก็ดี.’ เพราะกลัวแต่
เสื่อมสักการะของตน ชื่อว่าโต้แย้งคำสั่งสอนของพระอริยบุคคลผู้อรหันต์
มีปกติเป็นอยู่โดยธรรม คือพระพุทธเจ้า. การโต้แย้งและทิฏฐิอันเลวทราม
นั้นของบุคคลนั้น ย่อมเป็นเหมือนขุยของไม้มีหนาม กล่าวคือไม้ไผ่,
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 08, 2019

Chat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/292/9  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระราชาทูลถึงคุณสมบัติ มีพระสิเนหาและความนับถือมากในพระผู้มี
พระภาคเจ้า ของพระราชธิดา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ยังไม่อัศจรรย์ ข้อที่พระ
ราชธิดาซึ่งพระบรมบพิตรทรงปกครองอยู่ จึงรักษาพระองค์ไว้ได้ในเมื่อพระ
ญาณแก่กล้าแล้วในบัดนี้ แต่ก่อน เธอหาผู้ปกครองมิได้ เที่ยวไปแทบเชิง
บรรพต รักษาพระองค์ไว้ได้ในเมื่อพระญาณยังไม่แก่กล้า ดังนี้แล้ว ตรัส
จันทกินรีชาดก.
วันนั้นเอง พระนันทราชกุมาร มีมหามงคล ๕ อย่าง คือ แก้พระ
เกศา ผูกพระสุพรรณบัฏ ฆรมงคล อาวาหมงคล ฉัตรอาทิผิด อักขระมงคล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังพระนันทกุมารให้ถือบาตรแล้วตรัส มงคล
เสด็จลุกจากพระที่นั่งหลีกไป.
ครั้งนั้น นางชนบทกัลยาณี เห็นพระกุมารกำลังเสด็จไป จึงทูลว่า
ข้าแต่พระลูกเจ้า พระองค์รีบเร่งเสด็จกลับมา แล้วชะเง้อคอแลดู. แม้พระ-
นันทกุมารนั้น เมื่อไม่อาจทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์ทรงรับบาตร
เถิด จึงต้องเสด็จไปถึงวัดที่อยู่ทีเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระนันทกุมารนั้น ผู้ไม่ทรงปรารถนาเลย
ให้ผนวช. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่กบิลบุรี ยังพระนันทกุมารให้ผนวชใน
วันที่ ๒ ด้วยประการฉะนี้.

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๑๘๘๓. ในที่อื่นเรียกว่าจันทกินนรชาดก.
๒. เกสวิสชฺชนนฺติ กุลมริยาทวเสน เกโสโรปนนฺติ สารตฺถทีปนี. ราชโมลิพนฺธนตฺถํกุมารกาเล
พนฺธิตสิขาเวณิโมจนํ ตํ กิร กโรนฺตา มงฺคลํ กโรนฺตีติ วิมติวิโนทนี. ๓. ปฏฺฏพนฺโธติ
ยุวราชปฏฺฏพนฺโธติ สารตฺถ. อสุกราชาติ นลาเฎ สุวณฺณปฏฺฎพนฺธนนฺติ. วิมติ ๔. อภินวฆรป
เวสนมโห ฆรมงฺคลนฺติ สารตฺถ. อภินวปาสาทปฺปเวสมงฺคลํ ฆรมงฺคลนฺติ วิมติ.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 三月 06, 2019

Manda

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 44/489/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เหมือนกัน ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการ ทรงกำหนดปริมาณ
อายุของพระพุทธมารดา ๑๐ เดือนกับ ๗ วัน พอทรงทราบว่า นี้เป็น
เวลาที่เราจะถือปฏิสนธิ บัดนี้ เราควรอุบัติ ดังนี้แล้ว จึงทรงถือปฏิสนธิ.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อปฺปายุกา หิ อานนฺท
โพธิสตฺตมาตโร โหนฺติ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาลํ กโรนฺติ ความว่า กระทำกาละ
โดยสิ้นไปแห่งอายุตามที่กล่าวแล้วนั่นแล ไม่ใช่เพราะมีการประสูติเป็น
ปัจจัย. จริงอยู่ สถานที่ที่พระโพธิสัตว์อยู่ ในอัตภาพสุดท้ายเป็นเช่น
กับเรือนพระเจดีย์ ไม่ใช่เป็นสถานที่ที่คนเหล่าอื่นจะใช้สอย และใคร ๆ
ไม่อาจที่จะถอดพระมารดาของพระโพธิสัตว์ออกแล้ว ตั้งหญิงอื่นไว้ใน
ตำแหน่งอัครมเหสี. เพียงเท่านั้นแล จัดเป็นประมาณอายุ ของพระ-
โพธิสัตว์ เพราะฉะนั้น จึงได้ทำกาละเสียในเวลานั้น. ก็พระมหาโพธิสัตว์
ทั้งหลาย หมายถึงเนื้อความนี้นั่นแล จึงกระทำมหาวิโลกนะ ๕ ประการ.
ถามว่า ก็พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทำกาละในวันไหน ? ตอบว่า ใน
มัชฌิมวัย. จริงอยู่ ในปฐมวัย สัตว์ทั้งหลายมีฉันทราคะกล้าในอัตภาพ
เพราะฉะนั้น หญิงทั้งหลายผู้ตั้งครรภ์ในคราวนั้น โดยมากไม่สามารถ
จะตามรักษาครรภ์ได้. หากพึงถือปฏิสนธิได้ไซร้ สัตว์ที่เกิดในครรภ์ก็จะ
ลำบากมาก. ก็ครั้นล่วง ๒ ส่วนของมัชฌิมวัยไปแล้ว ในส่วนที่ ๓ ครรภ์
ก็บริสุทธิ์ เด็กที่เกิดในครรภ์ที่บริสุทธิ์ ก็จะไม่มีโรค เพราะฉะนั้น มารดาอาทิผิด อักขระ
ของพระโพธิสัตว์ จึงได้รับความสมบูรณ์ในปฐมวัย ประสูติในส่วนที่ ๓
ของมัชฌิมวัย แล้วสวรรคตแล.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 三月 03, 2019

Kahapana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/231/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นายช่างหม้อคนนั้น นำเอาภาชนะเหล่านั้นไปยังตำหนักของพระราช-
ธิดาเหล่านั้นแล้ว กราบทูลว่า ภาชนะเล็ก ๆ เหล่านี้ข้าพระองค์ขอถวายไว้
เพื่อสำหรับพระนางได้ทรงเล่น. พระราชธิดาเหล่านั้นทั้งหมดเสด็จมาแล้ว.
นายช่างหม้อก็ได้ถวายภาชนะที่พระมหาสัตว์กระทำอาทิผิด สระไว้เพื่อประโยชน์แก่พระ
นางประภาวดี เฉพาะพระนางทีเดียว. พระนางทรงรับภาชนะนั้นมาแล้ว
ทรงเห็นพระรูปของพระองค์พระรูปของพระมหาสัตว์ และรูปของหญิงค่อม
ในภาชนะนั้นทีเดียว ก็ทรงทราบว่า ภาชนะนี้ไม่ใช่คนอื่นทำ พระเจ้า
กุสราชนั่นแล ทรงกระทำ ทรงแค้นเคืองแล้ว ขว้างของเหล่านั้นลงบน
ภาคพื้น แล้วตรัสว่า เราไม่มีความต้องการด้วยของสิ่งนี้ ใครอยากได้
ท่านจงเอาไปให้เขาเถิด. ลำดับนั้น พระราชธิดาผู้เป็นพระภคินีทั้งหลายของ
พระนาง ทรงทราบว่า พระนางทรงกริ้ว ก็พากันทรงยิ้มว่า พระพี่เข้าพระทัยว่า
ภาชนะเล็ก ๆ นี้ พระเจ้ากุสราชทรงกระทำกระมัง ภาชนะนี้ ไม่ใช่พระเจ้า
กุสราชนั้นทรงกระทำหรอก ช่างหม้อเขากระทำต่างหาก พระพี่นางจงรับเอา
ไว้เถิด พระนางก็มิได้ตรัสบอก ถึงเรื่องที่พระเจ้ากุสราชนั้น ทรงกระทำ
ภาชนะและเรื่องที่พระเจ้ากุสราชนั้น เสด็จมาถึงแล้ว แก่พวกพระภคินีเหล่านั้น
นายช่างหม้อได้ให้กหาปณะอาทิผิด อักขระพันหนึ่งแก่พระโพธิสัตว์แล้ว กล่าวว่า นี่แน่ะพ่อเอ๋ย
พระราชาทรงชอบใจเจ้า ได้ยินว่าจำเดิมแต่นี้ไป เจ้าพึงกระทำภาชนะสำหรับ
พระราชธิดาทุก ๆ พระองค์ เราจักนำไปถวายแด่พระราชธิดาเหล่านั้นเอง
พระโพธิสัตว์เจ้านั้น จึงตรัสว่า ท่านพ่อครับ ผมจักไม่กระทำอาทิผิด สระเพื่อพระราชธิดา
เหล่านั้น พระโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงพระราชดำริว่า เราขืนอยู่ในที่นี้ เห็นจะ
ไม่อาจที่จะได้เห็นพระนางประภาวดีได้ จึงพระราชทานทรัพย์พันหนึ่งนั้นแก่
นายช่างหม้อนั้นทีเดียว แล้วจึงเสด็จไปยังสำนักของนายช่างสาน ผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของพระราชา ขอสมัครเป็นศิษย์ของนายช่างสานนั้น แล้วทรงกระทำใบตาล
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 三月 02, 2019

Si Khang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/266/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ชื่อว่ามีพระกายเต็มดังกึ่งกายท่อนหน้าแห่งสีหะ เพราะกายของพระองค์
ดุจท่อนหน้าแห่งสีหะ. คือกายท่อนหน้าแห่งสีหะบริบูรณ์ กายท่อนหลังไม่
บริบูรณ์. ส่วนของพระตถาคตเจ้าพระกายทั้งหมดบริบูรณ์ดุจกายท่อนหน้าของ
สีหะ. แม้พระกายนั้นใช่ว่าจะตั้งอยู่ไม่ดีไม่งาม เพราะโอนไปเอนไปเป็นต้น
ในที่นั้น ๆ ดุจของสีหะหามิได้. แต่ยาวในที่ที่ควรยาว. ในที่ที่ควรสั้น ควร
หนา ควรกลม ก็เป็นเช่นนั้นเทียว.
สมดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อผลของกรรมเป็นที่ชอบใจ
ปรากฏแล้ว ย่อมงามด้วยอวัยวะยาวเหล่าใด อวัยวะเหล่านั้นยาวก็ดำรงอยู่
ย่อมงามด้วยอวัยวะสั้นเหล่าใด อวัยวะสั้นเหล่านั้นก็ดำรงอยู่ ย่อมงามด้วยอวัยวะ
หนาเหล่าใด อวัยวะหนาเหล่านั้น ก็ดำรงอยู่ ย่อมงามด้วยอวัยวะบางเหล่าใด
อวัยวะบางเหล่านั้นก็ดำรงอยู่ ย่อมงามด้วยอวัยวะกลมเหล่าใด อวัยวะกลมเหล่า
นั้นก็ดำรงอยู่ อัตตภาพของพระตถาคตเจ้า ความวิจิตรต่าง ๆ สั่งสมแล้ว ด้วย
ความวิจิตรแห่งบุญ อันบารมี ๑๐ ตกแต่งแล้วด้วยประการฉะนี้ ช่างศิลป์ทั้ง
ปวง หรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงในโลก ก็ไม่อาจกระทำแม้รูปเปรียบแก่พระตถาคตเจ้า
ได้ดังนี้
บทว่า จิตนฺตรํโส ความว่า ระหว่างอาทิผิด อักขระสีข้างอาทิผิด อาณัติกะทั้งสอง ท่านเรียกว่ามีสีข้างอาทิผิด อาณัติกะ.
สีข้างนั้นของพระองค์งดงาม คือ บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า
จิตนฺรํโส แปลว่า มีพระปฤษฎางค์เต็ม. ส่วนสีข้างอาทิผิด อาณัติกะของคนอื่นนั้นต่ำ.
สีข้างด้านหลังทั้งสองย่อมปรากฏแยกกัน . ส่วนของพระตถาคตเจ้าชั้นเนื้อตั้งแต่
สะเอวถึงพระศอขึ้นปิดหลังตั้งอยู่ ดุจแผ่นทองที่เขายกขึ้นไว้สูง.
บทว่า ทรงมีปริมณฑลดังต้นไทรย้อย ความว่า ทรงมีปริมณฑล
ดุจต้นไทรย้อย ต้นไทรย้อยมีลำต้นและกิ่งเท่ากัน ๕๐ ศอก บ้าง ๑๐๐ ศอกบ้าง
มีประมาณเท่ากันทั้งโดยยาว ทั้งโดยกว้างฉันใด มีประมาณเท่ากันทั้งทางพระกาย
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 三月 01, 2019

Puggala

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 82/253/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปัจจุปปันนานาคตวาระ ปัจจนิก
ปุคคลอาทิผิด อักขระวาระ
รูปขันธมูล
รูปขันธมูละ เวทนาขันธมูลี :-
[๒๕๘] รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลใด, เวทนาขันธ์
ก็ไม่ใช่จักดับแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม ?
เมื่อบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดกำลังตายก็ดี บุคคลที่กำลังเกิดใน
อรูปภูมิก็ดี รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น แต่เวทนาขันธ์
จักดับแก่บุคคลเหล่านั้น, เมื่อปรินิพพันตบุคคลกำลังปรินิพพานใน
จตุโวการภูมิ ปัญจโวการภูมิ รูปขันธ์ไม่ใช่กำลังเกิด และเวทนาขันธ์
ก็ไม่ใช่จักดับแก่บุคคลเหล่านั้น.
ก็หรือว่า เวทนาขันธ์ไม่ใช่จักดับแก่บุคคลใด, รูปขันธ์ก็ไม่ใช่
กำลังเกิดแก่บุคคลเหล่านั้น ใช่ไหม ?
ใช่.
จบ รูปขันธมูละ เวทนาขันธมูลี
รูปขันธมูล จบ
 
พระปิฎกธรรม