星期六, 三月 16, 2019

Photchong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/242/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในสัมโพชฌงค์อาทิผิด อักขระนั้น ธรรม ๔ ประการ คือ สติสัมปชัญญะ ๑
ความเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ๑ ความเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ๑ ความ
เป็นผู้น้อมใจไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
สติสัมโพชฌงค์. ก็ในฐานะทั้ง ๗ แม้มีการก้าวไปเป็นต้น สติสัมโพชฌงค์
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยการเว้นบุคคลผู้ที่สติหลงลืมดุจกา
ซ่อนเหยื่อ ด้วยการเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เช่นพระติสสทัตตเถระและ
พระอภัยเถระ และด้วยความเป็นผู้มีจิตโอนน้อมโน้มไปเพื่อให้สติตั้งขึ้น
ในการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน
ยังสติสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ แล้วกระทำสติ-
สัมโพชฌงค์นั้นอย่างเดียวให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอา
พระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้นนั่นแล ชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
ในพระอรหัตมรรค. เมื่อกุลบุตรนั้นบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ย่อมเป็น
ผู้ชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์แล้ว.
ธรรม ๗ ประการ คือ ความสอบถาม ๑ ความทำวัตถุให้สละ
สลวย ๑ ความทำอินทรีย์ให้ดำเนินไปสม่ำเสมอ ๑ ความเว้นบุคคลผู้มีปัญญา
ทราม ๑ ความเสพบุคคลผู้มีปัญญา ๑ ความพิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง๑
ความน้อมใจไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น ๑. ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิด
ขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
บรรดาธรรม ๗ ประการนั้น ความเป็นผู้มากด้วยการสอบถาม
อันอิงอาศัยอรรถแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์
องค์มรรค ฌาน สมถะ และวิปัสสนา ชื่อว่า ความสอบถาม. การ
ทำความสละสลวยแก่วัตถุทั้งภายในและภายนอก ชื่อว่าความทำวัตถุให้
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: