星期二, 四月 02, 2019

Nivarana

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 31/246/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ได้แก่กามฉันทนีวรณ์นั่นเอง. ทรงแสดงพยาบาทนีวรณ์ด้วยอำนาจแห่งโทมนัส
ก็แล หมวดสี่นี้ ตรัสด้วยอำนาจวิปัสสนาเท่านั้น ส่วนธัมมานุปัสสนามี ๖ อย่าง*
ด้วยอำนาจนีวรณอาทิผิด อักขระบรรพเป็นต้น นีวรณบรรพ เป็นข้อต้นของธัมมานุปัสสนานั้น
แม้ของนีวรณบรรพนั้น มี หมวดสองแห่งนีวรณ์นี้ขึ้นต้น. เพื่อจะทรงชี้ถึงคำขึ้น
ต้นแห่งธัมมานุปัสสนา ดังที่ว่ามานี้ จึงตรัสว่า อภิชฌาและโทมนัส
ดังนี้. คำว่า การละ หมายเอา ความรู้สำหรับละอย่างนี้ว่า ภิกษุย่อมละ
ความสำคัญว่าเที่ยง ด้วยการตามพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง. คำว่า ตํ ปญฺาย
ทิสฺวา คือ ญาณเครื่องละอันได้แก่อนิจจญาณ วิราคญาณ นิโรธญานและ
ปฏินิสสัคคญาณนั้น ย่อมมีด้วยวิปัสสนาปัญญา อีกอย่างหนึ่ง ทรงแสดงถึงความ
สืบต่อถัด ๆ กันแห่งวิปัสสนา แม้นั้นอย่างนี้ว่า อย่างอื่นอีก. คำว่า จึง
วางเฉยเสียได้ คือ ชื่อว่า ย่อมวางเฉยอย่างยิ่งโดยสองทางคือ ย่อมวางเฉย
อย่างยิ่งกะผู้ดำเนินไปในความสงบ ๑ ย่อมวางเฉยอย่างยิ่งกะการบำรุง
พร้อมกัน ๑. ในกรณีนั้น ความวางเฉยอย่างยิ่ง ย่อมมีแม้ต่อธรรม
ที่เกิดร่วมกันบ้าง ความวางเฉยอย่างยิ่ง ย่อมมีต่ออารมณ์บ้าง ในที่นี้ประสงค์
เอาความวางเฉยอย่างยิ่งต่ออารมณ์. คำว่า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ คือ
เพราะเหตุที่อานาปานสติสมาธิเป็นไปแล้วโดยทำนองเป็นต้นว่า เราจักตาม
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ไม่ใช่เป็นไปแต่ในธรรมมีนิวรณ์
เป็นต้นเท่านั้น แต่ภิกษุได้เห็นญาณเครื่องละธรรมที่กล่าวไว้แล้วในหัวข้อ
คือ อภิชฌาและโทมนัส ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่างยิ่ง ฉะนั้น
พึงทราบว่า ภิกษุเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้นอยู่.
* พม่า - ๕ อย่าง
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: