星期五, 四月 05, 2019

Su

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 16/297/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อันเป็นอกุศล ที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่า กาเมสนา.
บรรดาเอสนาเหล่านั้น ภเวสนาคืออะไร คือภวราคะ กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม อันเป็นอกุศล ที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่า
ภเวสนา บรรดาเอสนาเหล่านั้น พรหมจริเยสนาคืออะไร คือทิฐิที่ยึดถือ
จนสุดเหวี่ยง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศล ที่มีความ
หมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา.
พึงทราบวินิจฉัยในวิธา. การตั้งไว้ซึ่งอาการ ดังเช่นในประโยคว่า
“ บัณฑิตกล่าวถึงคนมีศีลว่าเป็นอย่างไร, กล่าวถึงคนมีปัญญาว่าเป็น
อย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่า วิธา. ส่วนก็ชื่อว่าวิธา ดังเช่นในประโยคว่า “ญาณ-
วัตถุโดย ๑ ส่วน, ญาณวัตถุโดย ๒ ส่วน”. มานะชื่อว่าวิธา ดังเช่น
ในประโยคว่า “วิธา (มานะ) ว่าเราดีกว่าเขา”, ในที่นี้มุ่งหมายเอาวิธา
ที่แปลว่า มานะนั้น. อันที่จริง มานะท่านเรียกว่า วิชา เพราะจัดแจง
ด้วยอำนาจที่ให้ถือว่าดีกว่าเขาเป็นต้น. ด้วยคำว่า เสยฺโย หมสฺมิ นี้
ท่านกล่าวถึงมานะ ๓ อย่าง คือดีกว่าเขา เสมอเขา เลวกว่าเขา. แม้ใน
สทิสวิธา และหีนวิธา ก็มีนัยเดียวกันนี้. ที่จริงมานะนี้มี ๙ อย่าง. คือ
คนดีกว่าเขามีมานะ ๓ อย่าง คนเสมอเขามีมานะ ๓ อย่าง คนเลวกว่าเขา
มีมานะ ๓ อย่าง. บรรดามานะ ๙ อย่างนั้น สำหรับคนดีกว่าเขา มานะ
ว่าเราดีกว่าเขา ย่อมเกิดขึ้นแก่พระราชาและบรรพชิต. พระราชาย่อมมี
มานะเช่นนี้ว่า “ใครหรือจะมาสู้อาทิผิด อาณัติกะเราได้ ไม่ว่าจะทางราชอาณาเขต ทาง
ราชทรัพย์ หรือว่าทางไพร่พลพาหนะ”. ฝ่ายบรรพชิตก็ย่อมมีมานะเช่น
นี้ว่า “ใครเล่าจะมาทัดเทียมเราได้ด้วยศีลคุณ และธุดงคคุณเป็นต้น”.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: