星期二, 六月 04, 2019

Satcha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 39/254/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระอรหัตผล. ผู้บรรลุคุณควรบรรลุนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปตฺติปตฺตา.
บทว่า อมตํ ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า วิคยฺห ได้แก่เข้าถึงโดยอารมณ์
บทว่า ลทฺธา แปลว่า ได้แล้ว. บทว่า มุธา ได้แก่ โดยไม่มีค่าคือ ไม่ทำ
ค่าแม้เพียงกากณึกหนึ่ง. บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่ ผลสมาบัติ ที่ระงับความ
กระวนกระวายด้วยอำนาจกิเลสเสียแล้ว. บทว่า ภุญฺชมานา ได้แก่ เสวย
อยู่. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายว่า ชนเหล่าใด ในศาสนาของพระ
โคดมนี้ ชื่อว่าประกอบดีแล้ว เพราะถึงพร้อมด้วยศีล ชื่อว่า มีใจหนักแน่น
เพราะถึงพร้อมด้วยสมาธิ ชื่อว่าไร้ความอาลัยเพราะถึงพร้อมด้วยปัญญา ชนเหล่า
นั้น ก็เข้าถึงอมตะด้วยสัมมาปฏิบัตินี้เป็นผู้ได้เปล่า ๆ เสวยความดับซึ่งเข้าใจได้
ว่าผลสมาบัติ ชื่อว่า เป็นผู้บรรลุคุณที่ควรบรรลุ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสคุณของสังฆรัตนะ โดยพระขีณาสว-
บุคคล ผู้เสวยผลสมาบัติอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรง
ประกอบสัจจอาทิผิด สระวจนะ ว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ แม้อันนี้ ก็เป็น
รัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ความแห่งสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าว
ก่อนแล้ว พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่ง
พระคาถาแม้นี้แล.

พรรณนาคาถาว่า ยถินฺทขีโล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น ตรัสสัจจวจนะมีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง โดย
ขีณาสวบุคคล อย่างนี้แล้ว ทรงเริ่มตรัส โดยคุณของพระโสดาบันเท่านั้นว่า
ยถินฺทขีโล เป็นต้น. ในคำนั้น บทว่า ยถา เป็นคำอุปมา. คำว่า
อินฺทขีโล นี้ เป็นชื่อของเสาไม้แก่นที่เขาตอกจมดิน ๘ ศอก หรือ ๑๐ ศอก
ภายในธรณีประตู เพื่อป้องกันประตูพระนคร. บทว่า ปฐวึ แปลว่า แผ่นดิน
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: