Thewathat
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 60/143/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ทีเดียว. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺนํ ความว่า เมื่อใดกิจอนาคตนั้น บังเกิดเป็น
ความต้องการขึ้น เมื่อนั้นย่อมพากันล่มจม ในเมื่อเกิดความต้องการขึ้นใน
ปัจจุบัน คือย่อมไม่ได้ที่พึ่งแก่ตน พากันถึงความพินาศ เหมือนพวกคนอัน
ช่างไม้พาลเหล่านั้น ที่พากันล่มจมในสมุทรฉะนั้น. บทว่า อนาคตํ ความว่า
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษบัณฑิต พึงเตรียมกระทำ คือพึงทำก่อนทีเดียว ซึ่งกิจ
อนาคตที่ต้องทำก่อน จะเป็นกิจอำนวยผลภายหน้า หรือกิจอำนวยผลปัจจุบัน
ก็ตามที เพราะเหตุไรเล่า เพราะอย่าให้กิจเบียดเบียนเราได้ในคราวต้องการ
ด้วยว่ากิจที่ต้องกระทำให้เสร็จก่อน เมื่อไม่ทำไว้ก่อน ตอนที่ถึงความเป็นปัจจุบัน
ในภายหลัง ย่อมเบียดเบียน ด้วยการเบียดเบียนกายจิต ในเวลาที่ตนต้องการได้
เหตุนั้น บัณฑิตพึงกระทำกิจนั้นก่อนทีเดียว. บทว่า ตํ ตาทิสํ คือ ที่ทำ
ไว้เสร็จถึงความเป็นปัจจุบันในภายหลัง ย่อมไม่เบียดเบียนบีบคั้นบุรุษผู้ดำรง
อยู่อย่างนั้น. บทว่า ปฏิกตกิจฺจการึ คือผู้รีบรัดทำกิจที่ควรทำทันที. บทว่า
ตํ กิจฺจํ กิจฺจกาเล ความว่า กิจอนาคตที่จะต้องทำ ถึงความเป็นปัจจุบัน
ในภายหลัง ในเวลาที่กายและจิตอาพาธ ย่อมไม่เบียดเบียนบุรุษเช่นนั้น.
เพราะเหตุไร ? เพราะกระทำกิจเสร็จไว้ก่อนนั่นแล.
พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เทวทัตมัวเกี่ยวเกาะสุขปัจจุบัน
ไม่มองดูภัยในอนาคต ถึงความพินาศพร้อมทั้งบริษัท ทรงประชุมชาดกว่า
ช่างไม้ผู้พาลในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัตอาทิผิด อักขระผู้ติดสุขในปัจจุบัน เทพบุตรผู้ไม่
ดำรงธรรมที่สถิต ณ ภาคใต้ ได้มาเป็นโกกาลิกะ เทพบุตรผู้ทรงธรรม
ที่สถิตทางทิศเหนือ ได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนช่างผู้เป็นบัณฑิต
ได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาสมุททวาณิชชาดก
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论