星期六, 八月 31, 2019

Sap

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 67/80/4  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๑๓๔] คำว่า อาสึสนฺติ ในอุเทศว่า อาสึสนฺติ โถมยนฺติ
อภิชปฺปนฺติ ชุหนฺติ ดังนี้ ความว่า หวังได้รูป หวังได้เสียง หวังได้
กลิ่น หวังได้รส หวังได้โผฏฐัพพะ หวังได้บุตร หวังได้ภรรยา หวัง
ได้ทรัพย์อาทิผิด  หวังได้ยศ หวังได้ความเป็นใหญ่ หวังได้อัตภาพในสกุลกษัตริย์
มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลพราหมณ์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุล
คฤหบดีมหาศาล หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวจาตุมหาราชิก ฯ ล ฯ หวัง
ยินดี ปรารถนา รักใคร่การได้อัตภาพในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง.
คำว่า ย่อมชม ความว่า ย่อมชมยัญบ้าง ย่อมชมผลบ้าง ย่อม
ชมทักขิไณยบุคคลบ้าง.
ย่อมชมยัญอย่างไร ย่อมชม คือยกย่อง พรรณนา สรรเสริญ
ว่า เราให้ของรัก เราให้ของเจริญใจ เราให้ของประณีต เราให้ของที่
ควร เราเลือกให้ เราให้ของไม่มีโทษ เราให้เนือง ๆ เมื่อกำลังให้ จิต
ก็เลื่อมใส ย่อมชมยัญอย่างนี้.
ย่อมชมผลอย่างไร ย่อมชม ยกย่อง พรรณนา สรรเสริญว่า
เพราะยัญนี้เป็นเหตุ จักได้รูป . . . จักได้โผฏฐัพพะ จักได้อัตภาพใน
สกุลกษัตริย์มหาศาล ฯ ล ฯ จักได้อัตภาพในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่
พรหม ย่อมชมผลอย่างนี้.
ย่อมชมทักขิไณยบุคคลอย่างไร ย่อมชม ยกย่อง พรรณนา
สรรเสริญว่า พระทักขิไณยบุคคลเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยชาติ ถึงพร้อมด้วย
โคตร เป็นผู้ชำนาญมนต์ ทรงมนต์ เรียนจบไตรเพท พร้อมด้วย
คัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์และเกตุภศาสตร์ เป็นประเภทอักขระ มีคัมภีร์อิติหาส
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 29, 2019

Aphatsara

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 38/108/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมหมุนเวียนส่อง
ทิศให้ไพโรจน์อยู่ในที่มีประมาณเท่าใด โลกธาตุพันหนึ่งมีอยู่ในที่มีประ-
มาณเท่านั้น ในโลกธาตุพันหนึ่งนั้นดวงจันทร์พันดวง ดวงอาทิตย์
พันดวง ขุนเขาสิเนรุหนึ่งพัน ชมพูทวีปพันทวีป อมรโคยานพันทวีป
อุตตรกุรุพันทวีป ปุพพวิเทหะพันทวีป มหาสมุทรสี่พัน เทวโลก
ชั้นมหาราชสี่พัน ชั้นอาทิผิด อาณัติกะจาตุมหาราชิกาหนึ่งพัน ชั้นดาวดึงส์หนึ่งพัน
ชั้นยามาหนึ่งพัน ชั้นดุสิตหนึ่งพัน ชั้นนิมมานรดีหนึ่งพัน ชั้นปรนิมมิต-
วสวัตดีหนึ่งพัน ชั้นพรหมโลกหนึ่งพัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พันโลก-
ธาตุมีประมาณเท่าใด ท้าวมหาพรหม โลกกล่าวว่าเป็นเลิศในพันโลกธาตุ
นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่ ความแปรปรวนก็มีอยู่แม้
แก่ท้าวมหาพรหม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมหน่ายแม้ในพันโลกธาตุนั้น เมื่อหน่ายในพันโลกธาตุนั้น ย่อมคลาย
กำหนัดในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยที่โลกนี้พินาศมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อโลกพินาศอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในพรหมโลก ชั้นอาภัสสระ
โดยมาก สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยใจ มีปีติเป็นภักษา มีแสงสว่าง
ในตัว เที่ยวไปได้ในอากาศ มีปกติดำรงอยู่ได้ด้วยดี ย่อมดำรงอยู่
ในพรหมโลกชั้นอาภัสสระนั้น ตลอดกาลยืดยาวนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อโลกพินาศอยู่ อาภัสสรเทพทั้งหลาย โลกกล่าวว่าเป็นผู้เลิศ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนก็มีแม้แก่
อาภัสสรอาทิผิด อักขระเทพทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่าง
นี้ ย่อมหน่ายแม้ในพรหมโลกชั้นอาภัสสระนั้น เมื่อหน่ายในพรหมโลกชั้น
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 八月 28, 2019

Khram Khruan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/17/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ไม่ตั้งจิตเพื่อได้หูและ
เสียงที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตกาล เราพึงมีหูดังนี้ มีเสียงดังนี้ ... ใน
อนาคตกาล เราพึงมีจมูกดังนี้ มีกลิ่นดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึง
มีลิ้นดังนี้ มีรสดังนี้... ในอนาคตกาล เราพึงมีกายดังนี้ มีโผฏฐัพพะ
ดังนี้ ... ในอนาคตกาล เราพึงมีใจดังนี้ มีธรรมารมณ์ดังนี้ เพราะเหตุ
ที่ไม่ตั้งอาทิผิด จิตไว้ จึงไม่เพลินซึ่งใจและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลินซึ่งใจ
และธรรมารมณ์นั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วย
เหตุอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้ภพที่ยังไม่ได้ว่า เราจักเป็น
เทพหรือเทวดาตนใดตนหนึ่ง ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วย
พรหมจรรย์นี้ เพราะเหตุที่ไม่ตั้งจิตไว้ จึงไม่เพลินภพนั้น เมื่อไม่เพลิน
ภพนั้น ก็เป็นผู้ไม่มีตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในอนาคต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้.

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
[๓๙๒] คำว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ความว่า ไม่
เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวน หรือเมื่อวัตถุแปรปรวนไปแล้ว ก็ไม่เศร้า
โศกถึง คือ ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่รำพันถึง ไม่ทุบอกคร่ำอาทิผิด อักขระครวญ
ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ของเรา แปร-
ปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ของเรา แปรปรวนไปแล้ว
สกุล หมู่ คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ของเรา แปรปรวน
ไปแล้ว จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของเรา
แปรปรวนไปแล้ว มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 八月 26, 2019

Khum Khrong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 43/69/9  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๑. น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ เยนตฺถํ สหสา นเย
โย จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ อุโภ นิจฺเฉยฺย ปณฺฑิโตอาทิผิด อักขระ
อสาหเสน ธมฺเมน สเมน นยตี ปเร
ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี ธมฺมฏฺโฐติ ปวุจฺจติ.
“ บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม เพราะเหตุที่นำ
คดีไปโดยความผลุนผลัน; ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต วินิจ-
ฉัยคดีและไม่ใช่คดีทั้งสอง ย่อมนำบุคคลเหล่าอื่นไป
โดยความละเอียดลออ โดยธรรมสม่ำเสมอ, ผู้นั้น
อันธรรมคุ้มอาทิผิด อักขระครองแล เป็นผู้ปัญญา เรากล่าวว่า
ตั้งอยู่ในธรรม.”
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน แปลว่า เพราะเหตุเพียงเท่านั้นเอง.
บทว่า ธมฺมฏฺโฐ ความว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมเครื่องวินิจฉัย ที่
พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายจะพึงทรงกระทำด้วยพระองค์ ไม่เป็นผู้ชื่อว่าตั้งอยู่
ในธรรม. บทว่า เยน แปลว่า เพราะเหตุใด.
บทว่า อตฺถํ ความว่า ซึ่งคดีที่หยั่งลงแล้วอันควรตัดสิน.
สองบทว่า สหสา นเย ความว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอคติมีฉันทาคติ
เป็นต้น ตัดสินโดยผลุนผลัน คือโดยกล่าวเท็จ. อธิบายว่า จริงอยู่ ผู้ใด
ตั้งอยู่ในความพอใจ กล่าวมุสาวาท ย่อมทำญาติหรือมิตรของตนซึ่งมิใช่
เจ้าของนั่นแลให้เป็นเจ้าของ, ตั้งอยู่ในความชัง กล่าวเท็จ ย่อมทำคน
ที่เป็นศัตรูของตนซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงไม่ให้เป็นเจ้าของ, ตั้งอยู่ในความ
๑. อคติ ๔ คือ ๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ ๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 八月 25, 2019

Makham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/168/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้ โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้
โกกาลิก เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะ ภิกษุ
ชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.
แม้ครั้งที่สามแล พระโกกาลิกภิกษุก็ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ฯลฯ ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาอันลามก
แม้ครั้งที่สามแล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสคำอาทิผิด อักขระนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า
ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าสารีบุตรอาทิผิด อักขระและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.
[๖๐๐] ลำดับนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณหลีกไปแล้ว.
ก็เมื่อพระโกกาลิกภิกษุหลีกไปแล้วไม่นาน ต่อมอาทิผิด อักขระทั้งหลายขนาดเมล็ด
พันธุ์ผักกาดได้ผุดขึ้นทั่วกายของเธอ ต่อมอาทิผิด อักขระเหล่านั้นได้โตขึ้นเป็นขนาดถั่วเขียว
แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดถั่วดำ แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดเมล็ดพุดทรา แล้วก็โตขึ้น
เป็นขนาดลูกพุดทรา แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดผลมะขามอาทิผิด อักขระป้อม แล้วก็โตขึ้นเป็น
ขนาดผลมะตูมอ่อน แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดผลมะตูม ต่อจากนั้นก็แตกทั่ว แล้ว
หนองและเลือดหลั่งไหลออกแล้ว.
ครั้งนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุได้กระทำอาทิผิด สระกาละแล้ว เพราะอาพาธอัน
นั้นเอง ครั้นกระทำกาละอาทิผิด แล้วก็เข้าถึงปทุมนรก เพราะจิตอาฆาตในพระสารี
บุตรและพระโมคคัลลานะ.
[๖๐๑] ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงแล้ว
มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
๑.ปทุมอาทิผิด อักขระนรก เป็นส่วนหนึ่งแห่งมหานรกอเวจี ผู้ที่เกิดในมหานรกอเวจีส่วนนี้จะต้อง
หมกไหม้อยู่สิ้นกาลปทุมหนึ่ง ปทุมนั้นเป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ ๑๒๔ สูญ
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 八月 24, 2019

Mahasan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/263/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
ไหนจะดีกว่ากัน.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีอัญชลีกรรมของ
กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลอาทิผิด อักขระ นี้ดีกว่า
ส่วนการที่บุรุษมีกำลังเอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก
นี้เป็นทุกข์.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ
เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี
อัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-
มหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษกำลัง เอาหอกอันคมชะโลม
น้ำมัน พุ่งใส่กลางอก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุ เพราะเขา
จะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้น
เมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้น
เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี
อัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-
มหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลังเอาแผ่น
เหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว กับการบริโภค
จีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล
หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 22, 2019

Utu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 85/311/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในอเหตุกปฏิสนธิขณะอาทิผิด อักขระ ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่
เป็นอัพยากตวิบากเกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ ๒
เกิดขึ้น, หทยวัตถุอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้น, ขันธ์ทั้งหลายอาศัยหทยวัตถุ
เกิดขึ้น.
มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป
และกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น, พาหิรรูป
อาหารสมุฏฐานรูป อุตุอาทิผิด สมุฏฐานรูป ฯลฯ.
สำหรับพวกอสัญญสัตว์ มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ เกิดขึ้น
ฯ ลฯ กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลายเกิดขึ้น.
จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะเกิดขึ้น ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัย
กายายตนะเกิดขึ้น.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกะ อัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา
อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.
๓. อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุ-
ปัจจัย
คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัย
หทยวัตถุเกิดขึ้น.
๔. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลและอัพยากตธรรมเกิดขึ้น
เพราะนเหตุปัจจัย
คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัย
๑. ดูข้อ ๘๗.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 八月 20, 2019

Sanya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/120/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๕. ปฐมสัญญาสูตร
[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่ง
ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑
มรณสัญญาอาทิผิด อักขระ ๑ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเก อภิรตอาทิผิด อักขระสัญญา
อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจ ทุกขสัญญา ๑ ทุกเข อนัตตสัญญา ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุดอาทิผิด อักขระ
จบ ปฐมสัญญาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อมโตคธา ความว่า ตั้งอยู่ในพระนิพพาน บทว่า
อมตปริโยสานา ได้แก่ มีพระนิพพานเป็นที่สุด.
จบ อรรถกถาปฐมสัญญสูตรที่ ๕
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 八月 18, 2019

Suriya

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/71/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เสียแล้วย่อมไม่สามารถระลึกได้. แม้พระสาวกทั้งหลาย ก็ระลึกถึงตาม
ลำดับขันธ์ได้ ครั้นถึงความเป็นผู้ไม่มีความรู้สึก ย่อมไม่เห็นความ
เป็นไปของขันธ์. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ชื่อว่ากาลอันไม่มีแห่งขันธ์ทั้งหลาย
ของสัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปสู่วัฏฏะเหล่านั้นย่อมไม่มี แต่ในอสัญญภพย่อมเป็นไป
๕๐๐ กัป เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายก้าวล่วงกาลประมาณเท่านี้ ตั้งอยู่ในคำแนะ
นำอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประทานแล้ว ย่อมระลึกถึงข้างหน้าได้เหมือน
ท่านโสภิตะฉะนั้น. อนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสองและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
ตรวจดูจุติและปฏิสนธิแล้วย่อมระลึกถึงได้. กิจคือจุติและปฏิสนธิของพระพุทธ
เจ้าทั้งหลายย่อมไม่มี. พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระประสงค์จะทรงเห็นฐานะใด ๆ
ย่อมทรงเห็นฐานะนั้น ๆ ทีเดียว. อนึ่ง เดียรถีย์ทั้งหลายเมื่อระลึกถึงบุพเพสัน
นิวาสย่อมระลึกถึงสิ่งที่ตนเห็นแล้ว กระทำแล้ว ฟังแล้วเท่านั้น. พระสาวก
ทั้งหลายและพระปัจเจกพุทธะทั้งหลายก็เหมือนอย่างนั้น. แต่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมทรงระลึกถึงสิ่งทั้งหมดทีเดียวที่พระองค์หรือผู้อื่นเห็นแล้วกระทำ
แล้วฟังแล้ว. บุพเพนิวาสญาณของพวกเดียรถีย์เป็นเช่นกับแสงหิ่งห้อย ของ
พระสาวกทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงประทีป ของพระอัครสาวก เป็นเช่นกับแสง
ดาวประกายพฤกษ์ ของพระปัจเจกพุทธะทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงพระจันทร์
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงสุริยอาทิผิด อักขระมณฑลพันดวง. พระพุทธเจ้านั้น
ไม่กำหนดประมาณเท่านี้ว่า ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติ หรือ ร้อยกัป
พันกัป แสนกัป เมื่อพระพุทธเจ้าทรงระลึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมไม่พลาด
ย่อมไม่ขัดข้องโดยแท้ ความนึกคิดต่อเนื่องกันย่อมเป็นความต่อเนื่องกันด้วย
ความหวัง ความไตร่ตรองและจิตตุบาทนั่นเอง บุพเพนิวาสญาณย่อมแล่นไป
ไม่ติดขัดดุจลูกศรเหล็กแล่นไปฉับพลันในกองใบไม้ที่ผุ และดุจอินทวัชระ
ที่ซัดไปบนยอดเขาสิเนรุ.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 八月 16, 2019

Samano

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/137/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในบทเหล่านั้น บทว่า อิธ เป็นนิบาตในการชี้ถึงที่อยู่. ท่านกล่าว อิธ
นิบาตนี้ในที่บางแห่งหมายถึงที่อยู่ ในบทเป็นต้นว่า อิเธว ติฏฺฐมานสฺส
เทวภูตสฺส เม สโต แปลว่า เมื่อเราเป็นเทพสถิตอยู่ เทวโลกนี้แล.
ในที่บางแห่งหมายถึงศาสนา ในบทมีอาทิว่า อิเธว ภิกฺขเว สมโณอาทิผิด อักขระ อิธ
ทุติโย สมโณ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น
สมณะที่สองมีในศาสนานี้. ในที่บางแห่งเป็นเพียงบทบูรณ์ ในบทมีอาทิว่า
อิธาหํ ภิกฺขเว ภุตฺตาวี อสฺสํ ปวาริโต แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอันทายกขอร้องแล้วพึงฉัน. ในที่บางแห่งกล่าวหมายถึงโลก ในบทมีอาทิว่า
อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ แปลว่า พระตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้.
พึงเห็นว่าในสูตรนี้หมายถึงในโลกแม้นี้เท่านั้น.
บทว่า เอกจฺจํ ได้แก่ คนหนึ่ง คือคนใดคนหนึ่ง. บทว่า ปุคฺคลํ
ได้แก่สัตว์. จริงอยู่ สัตว์นั้นท่านเรียกว่าบุคคล เพราะยังกุศลอกุศล และ
วิบากของกุศลอกุศลนั้น ให้บริบูรณ์ตามปัจจัย และเพราะอำนาจความตายกลืน
กิน. บทว่า ปทุฏฺฐจิตฺตํ ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวด้วยความประทุษร้าย ด้วยความ
อาฆาต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปทุฏฺฐจิตฺตํ ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวด้วยราคะ
เป็นต้นอันเป็นโทษ. อนึ่ง บทว่า เอกจฺจํ ในที่นี้ นี้เป็นวิเสสนะของบุคคล
ผู้มีจิตขุ่นมัว. ท่านกล่าวอย่างนั้น ถึงบุคคล ผู้ให้ปฏิสนธิได้ทำเหตุขึ้น. อนึ่ง
เพราะอกุศลยังเป็นไปอยู่ ผู้ใกล้จะตายไม่สามารถจะกลับจิตให้หยั่งลงด้วยกุศล
ได้. ท่านแสดงอาการที่ควรกล่าวในบัดนี้ ด้วยบทว่า เอวํ ดังนี้. บทว่า
เจตสา ได้แก่ ด้วยจิต คือ ด้วยเจโตปริยญาณ (การกำหนดรู้จิต) ของตน.
บทว่า เจโต ได้แก่ จิตของบุคคลนั้น . บทว่า ปริจฺจ คือ กำหนดรู้.
ถามว่า นี้เป็นวิสัยของยถากัมมูปคญาณ (การรู้ว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม) มิใช่
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 八月 13, 2019

Phoem Phun

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 65/310/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เพ่งจิตที่ดำเนินไปสู่สมถะ ก็เพราะความที่จิตนั้นดำเนินไปสู่สมถะนั่นแล
บุคคลจึงละความเกี่ยวข้องด้วยกิเลส ไม่ต้องขวนขวายในการประชุม
เอกัตตารมณ์ของจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยเอกัตตารมณ์อีก ชื่อว่า ย่อมเข้าถึงที่
ประชุมเอกัตตารมณ์. พึงทราบการเพิ่มพูนอาทิผิด อักขระอุเบกขา ด้วยสามารถแห่งกิจ
ของตัตรมัชฌัตตุเปกขา ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ธรรมที่เนื่องกันเป็นคู่ กล่าวคือสมาธิและปัญญา ซึ่งเกิดใน
ปฐมฌานนั้น อันอุเบกขาเพิ่มพูนแล้วอย่างนี้ ไม่เป็นไปล่วงกันและกันเป็น
ไป, อินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น มีรสเป็นอันเดียวกันด้วยวิมุตติรส เพราะ
พ้นจากกิเลสต่าง ๆ เป็นไป. ความเพียรที่ถึงความเป็นไปกับด้วยรูป ไม่
เป็นไปล่วงธรรมเหล่านั้น สมควรแก่ภาวะที่มีรสเป็นอันเดียวกันเป็นไป.
และการคบหาที่เป็นไปในขณะนั้นแห่งปฐมฌานนั้น อาการเหล่านั้นแม้ทั้ง
หมด เพราะสำเร็จ เพราะเห็นโทษนั้น ๆ และอานิสงส์นั้น ๆ ในความ
เศร้าหมองและความผ่องแผ้ว ด้วย ญาณ จึงรื่นเริง บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ด้วย
ประการนั้น ๆ ฉะนั้น พึงทราบความรื่นเริง ด้วยสามารถแห่งความสำเร็จ
กิจแห่งญาณที่ผ่องแผ้วด้วยการยังความไม่เป็นไปล่วงธรรมทั้งหลายเป็นต้น
ให้สำเร็จท่านกล่าวไว้ดังนี้.
บทว่า วิตกฺกอาทิผิด อักขระวิจารานํ วูปสมา ความว่า เพราะองค์ ๒ เหล่านี้คือ
วิตกด้วย วิจารณ์ด้วย สงบไป มีอธิบายว่า เพราะไม่ปรากฏในขณะแห่ง
ทุติยฌาน.
ในทุติยฌานนั้น พึงทราบว่า ธรรมแห่งปฐมฌานทั้งหมด ไม่มีใน
ทุติยฌานก็จริง ถึงอย่างนั้น ผัสสะเป็นต้น ในปฐมฌานเป็นอย่าง ๑
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 八月 11, 2019

Khropngam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 73/121/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
และมนุษย์ประกอบพร้อมแล้ว. ที่ใช้ในอรรถว่าส่วนแห่งรถได้ในบาลีเป็นต้น
ว่า จกฺกํ ว วทโต ปทํ เหมือนล้อเกวียนที่แล่นตามเท้าโคที่กำลังนำเกวียน
ไป. ที่ใช้ในอรรถว่า อิริยาบถ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า จตุจกฺกํ นวทฺวารํ
มีอิริยาบถ ๔ มีทวาร ๙. ที่ใช้ในอรรถว่า ทาน ได้ในบาลีนี้ว่า ททํ ภุญฺช จ
มา จ ปมาโท จกฺกํ วตฺตย สพฺพปาณีนํ ท่านเมื่อให้ทาน ก็จงใช้สอย
อย่าประมาทจงบำเพ็ญทานแก่สัตว์ทั้งปวง. ที่ใช้ในอรรถว่า รัตนจักร ได้ใน
บาลีนี้ว่า ทิพฺพํ จกฺกรตนํ ปาตภูตํ จักรรัตนะทิพย์ ปรากฏแล้ว. ที่ใช้
ในอรรถว่า ธรรมจักร ได้ในบาลีนี้ว่า มยา ปวตฺติตํ จกฺกํ ธรรมจักร
อันเราให้เป็นไปแล้ว . ที่ใช้ในอรรถว่า ขุรจักร อธิบายว่า จักรสำหรับ
ประหาร ได้ในบาลีนี้ว่า อิจฺฉาหตสฺส โปสสฺส จกฺกํ ภมติ มตฺถเก
จักรคมหมุนอยู่บนกระหม่อมของบุรุษผู้ที่ถูกความอยากครอบงำอาทิผิด อักขระแล้ว. ที่ใช้ใน
อรรถว่า ลักษณะ. ได้ในบาลีนี้ว่า ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ ลักษณะ
ทั้งหลายเกิดแล้ว ที่ฝ่าพระบาททั้งสอง. แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า
จักรคือลักษณะ. บทว่า ธชวชิรปฏากา วฑฺฒมานงฺกุสาจิตํ ความว่า
ลักษณะจักรที่พระบาททั้งสอง รวบรวม ประดับ ล้อมไว้ด้วยธชะ [ธงชาย]
วชิระ [อาวุธพระอินทร์] ปฏาก [ธงผ้า] วัฑฒมานะ [เครื่องแต่งพระองค์]
และอังกุส [ขอช้าง] เมื่อท่านถือเอาลักษณะจักรแล้ว ก็เป็นอันถือเอาลักษณะ
ที่เหลือไว้ด้วย. พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วา ก็เหมือนกัน เพราะ
ฉะนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประดับพร้อมด้วยพระมหาปุริส-
ลักษณะ ๓๒ พระอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมี ๑ วา ก็เปล่งพระพุทธรัศมีมี
พรรณะ ๖ ซึ่งแล่นฉวัดเฉวียนไป จึงงดงามอย่างเหลือเกิน เหมือนต้นปาริ-
ฉัตตกะดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น เหมือนดงบัว ที่มีดอกบัวหลวงแย้มแล้ว
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 八月 08, 2019

Trai Phet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 71/73/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สุภูติวรรคที่ ๓
๒๑. อรรถกถาสุภูติเถราปทาน
อปทานของท่านพระสุภูติเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร
ดังนี้.
ท่านสุภูติเถระแม้นี้ บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอาทิผิด อุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนาถะของโลก ยังไม่
เสด็จอุบัติขึ้น ในที่สุดแห่งแสนกัปแต่ภัทรกัปอาทิผิด อักขระนี้ ท่านเกิดเป็นบุตรน้อยคน
หนึ่งของพราหมณ์มหาศาลคนหนึ่ง ในหังสวดีนคร. พราหมณ์ได้ตั้งชื่อท่าน
ว่า นันทมาณพ. นันทมาณพนั้นเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท เมื่อไม่เห็น
สิ่งที่เป็นสาระในไตรเพทอาทิผิด อักขระนั้น จึงบวชเป็นฤๅษีอยู่ที่เชิงเขาพร้อมด้วยมาณพ
๔๔,๐๐๐ ผู้เป็นบริวารของตนอาทิผิด อักขระ ยังสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว.
ทั้งได้บอกกรรมฐานให้แก่อันเตวาสิกทั้งหลายอีกด้วย. แม้อันเตวาสิก
เหล่านั้นต่างก็ได้ฌาน โดยกาลไม่นานเลย.
ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระเสด็จอุบัติ
ขึ้นในโลก อาศัยหังสวดีนครประทับอยู่ วันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่งทรงตรวจ
ดูสัตว์โลก ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ของเหล่าชฎิลผู้เป็นอันเตวาสิก
ของนันทดาบส และความปรารถนาตำแหน่งสาวก อันประกอบไปด้วย
องค์สองของนันทดาบส จึงทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแต่เช้าตรู่
ในเวลาเช้าทรงถือบาตรและจีวร ไม่ทรงชวนภิกษุไร ๆ อื่น เป็นดุจสีหะ
เสด็จไปเพียงพระองค์เดียว ขณะนั้นอันเตวาสิกของนันทดาบสไปหาผลาผล
เมื่อนันทดาบสมองเห็นอยู่นั่นแล เสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนอยู่ที่
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 八月 07, 2019

Rueang Rong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 73/298/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุยังศึกษาอยู่ ภิกษุยังศึกษาอยู่ ดังนี้แล เพราะ
ฉะนั้น จึงเรียกว่าเสขะ ภิกษุศึกษาอะไรเล่า ภิกษุศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษา
อธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง ดังนี้แล ภิกษุ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า
เสขะ. บทว่า สุปุปฺผิตํ ได้แก่ แย้มด้วยดีแล้ว. บทว่า ปาวจนํ ได้แก่
คำอันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว หรือคำที่ถึงความเจริญแล้ว ชื่อว่าปาวจนะ. คำ
เป็นประธานนั้นแล ชื่อว่า ปาวจนะ อธิบายว่า พระศาสนา. บทว่า
อุปโสภติ ได้แก่ เรืองรองอาทิผิด อาณัติกะยิ่ง รุ่งโรจน์ยิ่ง. บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ทุก
กาล. ปาฐะว่า อุปโสภติ สเทวเก ดังนี้ก็มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรพระองค์นั้น ทรงมีพระนคร ชื่อว่ารัมมวดี
มีพระชนกเป็นกษัตริย์ พระนามว่าพระเจ้าสุเทวะ พระชนนีเป็นพระเทวีพระ-
นามว่า พระนางสุเมธา มีพระอัครสาวกคู่ ชื่อสุมังคละ และ ติสสะ มีพระ
อุปัฏฐากชื่อสาคตะ มีพระอัครสาวิกาคู่ ชื่อนันทา และสุนันทา ต้นไม้เป็นที่
ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คือ ต้นเลียบ. พระองค์สูง ๘๐ ศอก
พระชนมายุแสนปี.
ถ้าจะถามว่า ในการแสดงนครเกิดเป็นต้นเหล่านี้มีประโยชน์อะไร. ขอ
ชี้แจงดังนี้ ผิว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ไม่พึงปรากฏพระนครเกิดไม่พึงปรา-
กฏพระชนก ไม่พึงปรากฏพระชนนีไซร้ พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ก็ย่อมไม่
ปรากฏพระนครเกิด พระชนก พระชนนี. ชนทั้งหลาย เมื่อสำคัญว่าผู้นี้เห็น
จะเป็นเทพ สักกะ ยักษ์ มาร หรือพรหม ปาฏิหาริย์เช่นนี้แม้ของเทวดาทั้ง
หลายไม่อัศจรรย์ ก็จะไม่พึงสำคัญพระดำรัสว่าควรฟังควรเชื่อถือ แต่นั้น การ
ตรัสรู้ก็ไม่มี ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ไร้ประโยชน์ พระศาสนาก็จะ
ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงควรแสดงปริจเฉทขั้นตอน มีนครเกิด
เป็นต้นของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 八月 02, 2019

Ruean

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์  9/29/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๗๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถูกยุงรบกวน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมุ้ง.
เรื่องที่จงกรมและเรือนไฟอาทิผิด
[๗๘] สมัยนั้น ทายกทายิกาในพระนครเวสาลีเริ่มจัดปรุงอาหาร
ประณีตขึ้นตามลำดับ ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารอันประณีตแล้ว มีร่างกายอันโทษ
สั่งสม มีอาพาธมาก ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจได้ไปสู่เมืองเวสาสีด้วยกิจจำ
เป็นบางอย่างได้เห็นภิกษุทั้งหลาย มีร่างกายอันอาทิผิด โทษสั่งสม มีอาพาธมาก ครั้น
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย มี
ร่างกายอันโทษสั่งสม มีอาพาธมาก ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้โปรดทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟแก่ภิกษุทั้งหลาย
เถิด พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลายจักมีอาพาธน้อย.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจเห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ... ร่าเริงด้วยธรรมีกถา จึงหมอชีวกโกมารภัจลุกจากที่นั่ง
ถวายบังคมพระผู้มีภาคเจ้า ทำประทักษิณกลับไป.
พุทธานุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ
[๗๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน-
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ.
 
พระปิฎกธรรม