星期五, 八月 16, 2019

Samano

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/137/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในบทเหล่านั้น บทว่า อิธ เป็นนิบาตในการชี้ถึงที่อยู่. ท่านกล่าว อิธ
นิบาตนี้ในที่บางแห่งหมายถึงที่อยู่ ในบทเป็นต้นว่า อิเธว ติฏฺฐมานสฺส
เทวภูตสฺส เม สโต แปลว่า เมื่อเราเป็นเทพสถิตอยู่ เทวโลกนี้แล.
ในที่บางแห่งหมายถึงศาสนา ในบทมีอาทิว่า อิเธว ภิกฺขเว สมโณอาทิผิด อักขระ อิธ
ทุติโย สมโณ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น
สมณะที่สองมีในศาสนานี้. ในที่บางแห่งเป็นเพียงบทบูรณ์ ในบทมีอาทิว่า
อิธาหํ ภิกฺขเว ภุตฺตาวี อสฺสํ ปวาริโต แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอันทายกขอร้องแล้วพึงฉัน. ในที่บางแห่งกล่าวหมายถึงโลก ในบทมีอาทิว่า
อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ แปลว่า พระตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้.
พึงเห็นว่าในสูตรนี้หมายถึงในโลกแม้นี้เท่านั้น.
บทว่า เอกจฺจํ ได้แก่ คนหนึ่ง คือคนใดคนหนึ่ง. บทว่า ปุคฺคลํ
ได้แก่สัตว์. จริงอยู่ สัตว์นั้นท่านเรียกว่าบุคคล เพราะยังกุศลอกุศล และ
วิบากของกุศลอกุศลนั้น ให้บริบูรณ์ตามปัจจัย และเพราะอำนาจความตายกลืน
กิน. บทว่า ปทุฏฺฐจิตฺตํ ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวด้วยความประทุษร้าย ด้วยความ
อาฆาต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปทุฏฺฐจิตฺตํ ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวด้วยราคะ
เป็นต้นอันเป็นโทษ. อนึ่ง บทว่า เอกจฺจํ ในที่นี้ นี้เป็นวิเสสนะของบุคคล
ผู้มีจิตขุ่นมัว. ท่านกล่าวอย่างนั้น ถึงบุคคล ผู้ให้ปฏิสนธิได้ทำเหตุขึ้น. อนึ่ง
เพราะอกุศลยังเป็นไปอยู่ ผู้ใกล้จะตายไม่สามารถจะกลับจิตให้หยั่งลงด้วยกุศล
ได้. ท่านแสดงอาการที่ควรกล่าวในบัดนี้ ด้วยบทว่า เอวํ ดังนี้. บทว่า
เจตสา ได้แก่ ด้วยจิต คือ ด้วยเจโตปริยญาณ (การกำหนดรู้จิต) ของตน.
บทว่า เจโต ได้แก่ จิตของบุคคลนั้น . บทว่า ปริจฺจ คือ กำหนดรู้.
ถามว่า นี้เป็นวิสัยของยถากัมมูปคญาณ (การรู้ว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม) มิใช่
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: