Sap
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 67/80/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
[๑๓๔] คำว่า อาสึสนฺติ ในอุเทศว่า อาสึสนฺติ โถมยนฺติ
อภิชปฺปนฺติ ชุหนฺติ ดังนี้ ความว่า หวังได้รูป หวังได้เสียง หวังได้
กลิ่น หวังได้รส หวังได้โผฏฐัพพะ หวังได้บุตร หวังได้ภรรยา หวัง
ได้ทรัพย์อาทิผิด หวังได้ยศ หวังได้ความเป็นใหญ่ หวังได้อัตภาพในสกุลกษัตริย์
มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุลพราหมณ์มหาศาล หวังได้อัตภาพในสกุล
คฤหบดีมหาศาล หวังได้อัตภาพในเทวดาชาวจาตุมหาราชิก ฯ ล ฯ หวัง
ยินดี ปรารถนา รักใคร่การได้อัตภาพในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมหวัง.
คำว่า ย่อมชม ความว่า ย่อมชมยัญบ้าง ย่อมชมผลบ้าง ย่อม
ชมทักขิไณยบุคคลบ้าง.
ย่อมชมยัญอย่างไร ย่อมชม คือยกย่อง พรรณนา สรรเสริญ
ว่า เราให้ของรัก เราให้ของเจริญใจ เราให้ของประณีต เราให้ของที่
ควร เราเลือกให้ เราให้ของไม่มีโทษ เราให้เนือง ๆ เมื่อกำลังให้ จิต
ก็เลื่อมใส ย่อมชมยัญอย่างนี้.
ย่อมชมผลอย่างไร ย่อมชม ยกย่อง พรรณนา สรรเสริญว่า
เพราะยัญนี้เป็นเหตุ จักได้รูป . . . จักได้โผฏฐัพพะ จักได้อัตภาพใน
สกุลกษัตริย์มหาศาล ฯ ล ฯ จักได้อัตภาพในเทวดาที่นับเนื่องในหมู่
พรหม ย่อมชมผลอย่างนี้.
ย่อมชมทักขิไณยบุคคลอย่างไร ย่อมชม ยกย่อง พรรณนา
สรรเสริญว่า พระทักขิไณยบุคคลเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยชาติ ถึงพร้อมด้วย
โคตร เป็นผู้ชำนาญมนต์ ทรงมนต์ เรียนจบไตรเพท พร้อมด้วย
คัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์และเกตุภศาสตร์ เป็นประเภทอักขระ มีคัมภีร์อิติหาส
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论