星期一, 九月 16, 2019

Kilet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/277/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระมหากัสสปะเป็นผู้กำจัดกิเลสอาทิผิด อักขระและมีการ
สอนเรื่องกำจัดกิเลส ดังนี้.
บทว่า ธุตธมฺมา เวทิตพฺพา ความว่า ธรรม ๕ ประการ
อันเป็นบริวารของธุดงคเจตนาเหล่านี้ คือ ความเป็นผู้มักน้อย ๑
ความเป็นผู้สันโดษ ๑ ความเป็นผู้ขัดเกลา ๑ ความเป็นผู้สงัด ๑
ความเป็นผู้มีสิ่งนี้ ๑ ชื่อว่าธรรมเครื่องกำจัดกิเลส เพราะพระบาลี
ว่า อปฺปิจฺฉํเยว นิสฺสาย (อาศัยความมักน้อยเท่านั้น) ดังนี้
เป็นต้น. ในธรรม ๕ ประการนั้น ความมักน้อยและความสันโดษ
เป็นอโลภะ. ความขัดเกลาและความวิเวกจัดเข้าในธรรม ๒ ประการ
คือ อโลภะและอโมหะ. ความเป็นผู้มีสิ่งนี้คือ ญาณนั่นเอง. บรรดา
อโลภะและอโมหะเหล่านั้น กำจัดความโลภในวัตถุที่ต้องห้ามด้วย
อโลภะ กำจัดโมหะอันปกปิดโทษในวัตถุที่ต้องห้ามเหล่านั้นแหละ
ด้วยอโมหะ อนึ่งกำจัดกามสุขัลลิกานุโยคอันเป็นไปโดยมุข คือ
การส้องเสพสิ่งที่ทรงอนุญาต ด้วยอโลภะ กำจัดอัตตกิลมถานุโยค
อันเป็นไปโดยมุขคือ การขัดเกลายิ่งในธุดงค์ทั้งหลาย ด้วยอโมหะ
เพราะฉะนั้นธรรมเหล่านี้ พึงทราบว่าธรรมเครื่องกำจัดกิเลส.
บทว่า ธุตงฺคานิ เวทิตพฺพานิ ความว่า พึงทราบธุดงค์ ๑๓
คือ ปังสุกูลิกังคะ (องค์ของภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร) ฯลฯ
เนสัชชิกังคะ (องค์ของภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร).
บทว่า ธุตวาทานํ ยทิทํ มหากสฺสโป ความว่า ทรงสถาปนา
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในระหว่างภิกษุผู้สอนธุดงค์ว่า มหากัสสป-
เถระนี้เป็นยอด. บทว่า มหากสฺสโป ความว่า ท่านกล่าวว่า ท่าน
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: