Ocha
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 39/91/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ถ้าหากว่า ธรรมเหล่านี้ปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น โดยวรรณะเมื่อ
เป็นดังนั้น ผมทั้งหลายก็ปรากฏ โดยเป็นนีลกสิณ. ขน ฟัน ก็อย่างนั้น ย่อม
ปรากฏ โดยเป็นโอทาตกสิณ. ในทวัตติงสาการทุกอย่าง ก็นัยนี้. พระโย-
คาวจรนี้ ย่อมมนสิการธรรมเหล่านี้ โดยเป็นกสิณนั้น ๆ นั้นแล. ธรรมที่
ปรากฏโดยวรรณะอย่างนี้ พระโยคาวจรก็มนสิการโดยวรรณะ ก็ถ้าหากว่า
ธรรมเหล่านั้นปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น โดยความเป็นของว่างเปล่า เมื่อเป็น
ดังนั้น ผมทั้งหลายย่อมปรากฏ โดยเป็นการประชุมวินิพโภครูปที่มีโอชะอาทิผิด อักขระครบ ๘
ด้วยการกำหนดแยกออกจากกลุ่มก้อน. ขนเป็นต้น ก็ปรากฏเหมือนอย่างที่ผม
ปรากฏ. พระโยคาวจรนี้ ย่อมมนสิการธรรมเหล่านั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.
ธรรมที่ปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่าอย่างนี้ ก็มนสิการโดยความเป็นของ
ว่างเปล่า.
พระโยคาวจรนี้ มนสิการอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มนสิการธรรมเหล่านั้น
โดยลำดับ. ข้อว่าโดยปล่อยลำดับ อธิบายว่า พระโยคาวจร ปล่อยผมที่ปรากฏ
โดยเป็นอสุภะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง และมนสิการขน เป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ใน
ผมทั้งหลายแล้วมนสิการขนทั้งหลาย เมื่อตั้งมนสิการในขนทั้งหลาย ก็ชื่อว่า
ปล่อยผม เปรียบเหมือนปลิง เพ่งเฉยอยู่ที่ประเทศอันจับไว้ด้วยหาง ปล่อย
ประเทศอื่นทางจะงอยปาก เมื่อจับประเทศนั้นไว้ ก็ชื่อว่าปล่อยประเทศนอกนี้
ฉะนั้น. ในทวัตติงสาการทุกอย่าง ก็นัยนี้. ก็ธรรมเหล่านั้น เมื่อปรากฏ
แก่พระโยคาวจรนั้น ผู้มนสิการ โดยปล่อยลำดับอย่างนี้ ย่อมปรากฏไม่เหลือเลย
ทั้งปรากฏว่าปรากฏชัดกว่า.
เมื่ออาทิผิด เป็นดังนั้น ธรรมเหล่าใด ปรากฏโดยความเป็นของไม่งามแก่
พระโยคาวจรใด ทั้งปรากฏว่าปรากฏชัดกว่า เปรียบเหมือนลิงถูกพรานไล่
ตะเพิดไปในดงตาล ๓๒ นี้ ไม่หยุดอยู่แม้แต่ต้นเดียว โลดโผไป เมื่อใด
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论