星期四, 一月 09, 2020

Fungsan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/359/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถากัสสปโคตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัสสปโคตตสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-
บทว่า เฉตํ คือพรานล่าเนื้อคนหนึ่ง. บทว่า โอวทิ ความว่า ได้
ยินว่า พรานล่าเนื้อนั้นกินข้าวเช้าแล้วคิดว่า เราจักล่าเนื้อ จึงเข้าไปสู่ป่า
เห็นละมั่งตัวหนึ่ง คิดว่า เราจักประหารมันด้วยหอก ติดตามไป หลีกไปไม่
ไกลที่พระเถระนั่งในที่พักกลางวัน โดยนัยที่กล่าวแล้วในสูตรที่ ๑. ลำดับนั้น
พระเถระจึงกล่าวกะเขาว่า อุบาสก ขึ้นชื่อว่า ปาณาติบาตนี้ เป็นไปเพื่ออบาย
เป็นไปด้วยเหตุให้มีอายุสั้น เขาอาจจะทำการเลี้ยงเมียด้วยการงานอย่างอื่น มี
การกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้นก็ได้ ท่านอย่าทำกรรมหยาบช้าอย่างนี้เลย.
แม้เขาก็คิดว่า พระเถระผู้ถือผ้ามหาบังสุกุลพูด จึงเริ่มยืนฟังด้วยความเคารพ.
ลำดับนั้น พระเถระนั้น คิดว่า เราจักยังความใคร่พึงให้เกิดแก่เขา จึงยัง
นิ้วหัวแม่มือให้ลุกโพลงขึ้น. เขาเห็นแม้ด้วยตา ได้ยินแม้ด้วยหู แต่จิตใจ
ของเขาแล่นไปตามรอยเท้าเนื้ออย่างนี้ว่า เนื้อจักไปสู่ที่โน้น ลงท่าโน้น
เราจักไปฆ่ามันในที่นั้น กินเนื้อตามต้องการแล้ว จักหาบเนื้อที่เหลือไปฝาก
ลูก ๆ. บทว่า โอวทติ ดังนี้ ท่านกล่าวหมายถึงพระเถระผู้แสดงธรรมนั้น
แก่พรานผู้ฟุ้งซ่านอาทิผิด สระอย่างนี้. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า พระเถระนี้ ยังการ
งานทั้งของตน ทั้งของพรานนั้นให้พินาศ เหมือนอย่างคนถากของคนอื่นที่ไม่
ใช่ไม้ฟืน เหมือนอย่างคนหว่านข้าวในที่ไม่ใช่นา คิดว่า เราจักเตือนเขา จึงกล่าว.
บทว่า อปฺปปญฺญํ แปลว่า ไม่มีปัญญา. บทว่า อเจตสํ ได้แก่ ปราศจาก
ความคิดที่สามารถรู้เหตุการณ์. บทว่า มนฺโทว แปลว่า เหมือนคนโง่เขลา.
บทว่า สุณาติ ได้แก่ ฟังธรรมกถาของท่าน. บทว่า น วิชานาติ ได้แก่
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: