星期四, 一月 30, 2020

Khrukhra

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 44/317/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อปฺปฏิกูลา แปลว่า ไม่น่าเกลียด อธิบายว่า น่าชอบใจ
คือน่ารื่นรมย์ใจ. จริงอยู่ ถิ่นที่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ผู้สมบูรณ์ด้วย
คุณมีศีลเป็นต้นอยู่นั้น มีอาการดังที่ลุ่มขรุขระอาทิผิด อักขระไม่สม่ำเสมอก็จริง ถึงกระ-
นั้น สถานที่นั้น ก็เป็นที่ฟูใจ น่ารื่นรมย์ใจทีเดียว. สมจริงดังที่พระองค์
ตรัสไว้ว่า
พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด ไม่ว่าจะเป็นบ้าน
ก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มหรือที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิ
ที่น่ารื่นรมย์ใจ.
บทว่า ปหิเณยฺยาสิ แปลว่า พึงส่งไป. บทว่า สตฺถา อายสฺมนฺ-
ตานํ ทสฺสนกาโม นี้ เป็นบทแสดงถึงอาการที่ส่งไปในสำนักของภิกษุ
เหล่านั้น ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นประโยชน์ที่พระองค์ทรง
ประณามภิกษุเหล่านั้นถึงที่สุด มีพระทัยยินดี จึงตรัสบอกความประสงค์
ที่จะเห็นภิกษุเหล่านั้นแก่พระเถระ. ได้ยินว่า พระองค์ได้มีพระดำริอย่าง
นี้ว่า เราประณามภิกษุเหล่านี้ เพราะกระทำเสียงดังลั่น เมื่อเป็นเช่นนั้น
ภิกษุเหล่านั้นก็ถูกท่านอานนท์โจทท้วง เหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกตี
ด้วยแส้ ได้รับความสลดใจแล้ว จึงเข้าไปยังป่าเพื่อให้เราโปรดปราน เพียร
พยายามอยู่ จักทำให้แจ้งพระอรหัตโดยพลันทีเดียว. บัดนี้พระองค์ทรง
เห็นภิกษุเหล่านั้นบรรลุพระอรหัต มีพระทัยยินดีด้วยการบรรลุพระอรหัต
นั้น มีพระประสงค์จะเห็นภิกษุเหล่านั้น จึงทรงบัญชาท่านพระอานนท์
ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริกอย่างนั้น. บทว่า โส ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุรูปหนึ่ง
ผู้ได้อภิญญา ๖ ถูกท่านพระอานนทเถระสั่งดังนั้น. บทว่า ปมุเข แปลว่า
ในที่พร้อมหน้า.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: