星期一, 一月 20, 2020

Wimutti

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/349/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า ทส มิจฺฉตฺตา - ความเห็นผิด ๑๐ คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉาญาณํ - รู้ผิด ได้แก่ โมหะเกิด
ขึ้น ด้วยคิดถึงอุบายในการทำชั่ว และด้วยอาการพิจารณาว่า เราทำชั่ว
ก็เป็นการทำของตนเอง.
บทว่า มิจฺฉาวิมุตฺติอาทิผิด สระ - พ้นผิด ได้แก่ เมื่อยังไม่พ้นสำคัญว่าพ้น.
[๖๕] บัดนี้ เพื่อแสดงธรรมที่ควรละด้วยปหานะ มีประเภท
หลายอย่าง พระสารีบุตรจึงเริ่มบทมีอาทิว่า เทฺว ปหานานิ - ปหานะ
๒ ก็เมื่อรู้แจ้งปหานะแล้วควรรู้ธรรมที่ควรละด้วยปหานะนั้น ๆ. ใน
ปหานะ ๕ ท่านกล่าวถึงโลุกุตรปหานะ ๒ พร้อมกับ ปโยคะ ก่อนเว้น
ปหานะ ๒ ทางโลก และ นิสสรณปหานะ การละด้วยอุบายเครื่องสลัด
ออก อันไม่เป็น ปโยคะ.
ชื่อว่า สมุจเฉทะ เพราะปหานะเป็นเหตุทำให้กิเลสขาดไป
โดยชอบ, ชื่อว่า ปหานะ เพราะปหานะเป็นเหตุละกิเลส.
ชื่อว่า สมุจเฉทปหานะ เพราะละกิเลสอันเป็นสมุจเฉท ไม่ใช่
ละกิเลสที่ยังมีเหลือ.
ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิ เพราะกิเลสสงบ, ชื่อว่า ปหานะ เพราะ
ละกิเลส, การละอันเป็นความสงบ ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิปหานะ.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: