Phum
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 11/383/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เหลือง.
ครูมักขลิโคสาล ทำผู้ให้ปัจจัยแก่ตนให้เป็นผู้เจริญที่สุดกว่านิครนถ์
ทั้งหลายอย่างนี้. เขาเรียกอาชีวกชายและอาชีวกหญิง ว่า อภิชาติขาว.
ได้ยินว่า พวกอภิชาติขาวเหล่านั้นขาวกว่า ๔ พวกข้างต้น. ท่านกล่าวว่า
นันทะ วัจฉะ กีสะ สังกิจจะ ท่านมักขลิโคสาลเป็นอภิชาติขาวยิ่ง
ได้ยินว่า ท่านเหล่านั้นขาวกว่าท่านอื่น ๆ ทั้งหมด.
บทว่า อฏฺฐ ปุริสภูมิโย ความว่า ครูมักขลิโคสาลกล่าวว่า ภูมิ
๘ เหล่านี้คือ มันทภูมิ ขิฑฑาภูมิ ปทวีมังสภูมิ อุชุคตภูมิ เสขภูมิ สมณภูมิ
ชินภูมิ ปันนภูมิ เป็นปุริสภูมิ.
ในภูมิ ๘ นั้น ตั้งแต่วันคลอดอาทิผิด อักขระมาใน ๗ วัน สัตว์ทั้งหลายยังมึนงง
อยู่ เพราะออกมาจากที่คับแคบ ครูมักขลิโคสาลเรียกคนภูมินี้ว่า มันท-
ภูมิ.
ส่วนผู้ที่มาจากทุคติย่อมร้องไห้ส่งเสียงอยู่เนือง ๆ ผู้ที่มาจากสุคติ
ระลึกถึงสุคตินั้นเสมอ ย่อมหัวเราะ นี้ชื่อว่า ขิฑฑาภูมิ.
เด็กที่จับมือหรือเท้าของมารดาบิดา หรือจับเตียงหรือตั่ง แกว่งเท้า
บนพื้น ชื่อว่า ปทวีมังสภูมิอาทิผิด อักขระ.
เด็กในเวลาที่สามารถเดินได้ ชื่อว่า อุชุคตภูมิ.
ในเวลาศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชื่อว่า เสขภูมิ.
ในเวลาออกจากเรือนบวช ชื่อว่า สมณภูมิ.
ในเวลาที่คบหาอาจารย์แล้วรู้วิชา ชื่อว่า ชินภูมิ.
สมณะผู้ไม่มีรายได้ เรียกว่า ปันนภูมิ ดังที่กล่าวไว้ว่า ภิกษุก็ดี
พวกปันนกะหรือชินะก็ดี ไม่กล่าวขออะไร ๆ.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论