星期六, 十月 30, 2021

Chue

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/721/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๖. สีสัจฉินนสูตร

ว่าด้วยตัวกะพันธ์ศีรษะขาด

[๖๕๕] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง
มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นตัวกะพันธ์ไม่มีศีรษะ มีตาและปากอยู่ที่อก
ลอยอยู่ในเวหาส แร้งบ้าง กาบ้าง นกตะกรุมบ้าง ต่างก็โผถลาตามจิกอาทิผิด อักขระ
ทึ้งอาทิผิด สระตัวกะพันธ์นั้น ได้ยินว่า ตัวกะพันธ์นั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ได้เป็นเพชฌฆาตผู้ฆ่าโจร ชื่ออาทิผิด ว่าหาริกะ อยู่ใน
กรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.
จบสีสัจฉินนสูตรที่ ๖

อรรถกถาสีสัจฉินนสูตรที่ ๖

ในเรื่องคนฆ่าโจร มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ผู้ฆ่าโจรนั้น ตัดศีรษะพวกโจรเป็นเวลานานตามคำสั่งพระราชา
เมื่อบังเกิดในเปตโลก บังเกิดเป็นตัวกะพันธ์ไม่มีศีรษะ.
จบอรรถกถาสีสัจฉินนสูตรที่ ๖

๗. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยภิกษุไฟติดทั่วตัวลอยในอากาศ

[๖๕๖] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง
มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นภิกษุอยู่ในเวหาส ผ้าสังฆาฏิก็ดี บาตร
ก็ดี ประคดเอวก็ดี ร่างกายก็ดี ของภิกษุนั้น อันไฟติดทั่วลุกโชติช่วง
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十月 26, 2021

Krachao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 49/512/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ศาสตราอาทิผิด ย่อมเข้าไปในระหว่างอันเป็นช่องกาย
๗ ช่องเท่านั้น ชีพของสัตว์ทั้งหลายไม่ขาดสูญ
ไม่แตกทำลาย บางคราวมี ๘ เหลี่ยม บางคราว
กลมเหมือนงบน้ำอ้อย บางคราวสูงตั้ง ๕๐๐
โยชน์ ใครเล่าสามารถตัดชีพให้ขาดได้ เหมือน
หลอดด้ายอันบุคคลซัดไปแล้ว. หลอดด้ายนั้น
อันด้ายคลายอยู่ ย่อมกลิ้งไปได้ ฉันใด ชีพนั้น
ก็ฉันนั้น ย่อมแหวกหนีไปจากร่างได้ บุคคลผู้
ออกจากบ้านนี้ไปเข้าบ้านอื่น ฉันใด ชีพนั้นก็
ออกจากร่างนี้แล้วไปเข้าร่างอื่น ฉันนั้นเหมือน
กัน บุคคลออกจากเรือนหลังนี้แล้วไปเข้าเรือน
หลังอื่น ฉันใด แม้ชีพนั้นก็ออกจากร่างนี้แล้ว
เข้าไปอาศัยร่างอื่นฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสิ้น
กำหนด ๘ ล้าน ๔ แสนมหากัป สัตว์ทั้งหลายทั้ง
ที่เป็นพาล ทั้งที่เป็นบัณฑิต จักยังสงสารให้
สิ้นไป แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง สุขทุกข์
เหมือนตักตวงได้ด้วยทะนานและกระเช้าอาทิผิด พระ-
ชินเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงสุขทุกข์ทั้งปวง สัตว์นอกนี้
ล้วนเป็นผู้ลุ่มหลง เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์มี
ความเห็นอย่างนี้จึงได้เป็นคนหลง ถูกโมหะ
ครอบงำ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทุศีล ตระหนี่ บริภาษ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十月 25, 2021

Phra Chao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 49/508/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๓. นันทกเปตวัตถุ

ว่าด้วยขัดขวางการให้ทานไปเกิดเป็นเปรต

[๑๒๓] มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนาม
ว่าปิงคละเป็นใหญ่ในสุรัฏฐประเทศ เสด็จไป
เฝ้าพระเจ้าอาทิผิดโมริยะแล้ว กลับมาสู่สุรัฏฐประเทศ
เสด็จมาถึงที่มีเปือกตม ในเวลาเที่ยงซึ่งเป็น
เวลาร้อน ทอดพระเนตรเห็นทางอันรื่นรมย์ เป็น
ทางที่เปรตเนรมิตไว้ จึงตรัสบอกนายสารถีว่า
ทางนี้น่ารื่นรมย์ เป็นทางปลอดภัย มีความสวัสดี
ไม่มีอุปัทวันตราย ดูก่อนนายสารถี ท่านจงตรง
ไปทางนี้แหละ เมื่อเราไปโดยทางนี้ จักถึงเขต
เมืองสุรัฏฐะเร็วทีเดียว พระเจ้าสุรัฏฐ์ได้เสด็จไป
โดยทางนั้น พร้อมด้วยจตุรงคเสนา บุรุษคนหนึ่ง
สะดุ้งตกใจกลัว ได้กราบทูลพระเจ้าสุรัฏฐ์ว่า
พวกเราเดินทางผิด เป็นทางน่ากลัวขนพอง
สยองเกล้า เพราะทางปรากฏเฉพาะข้างหน้า แต่
ข้างหลังไม่ปรากฏ พวกเราเดินทางผิดเสียแล้ว
พวกเราเห็นจะเดินมาใกล้สำนักพวกอมนุษย์
กลิ่นอมนุษย์ฟุ้งไป ข้าพระองค์ได้ยินเสียงอัน
พิลึกน่าสะพึงกลัว พระเจ้าสุรัฏฐ์ทรงสะดุ้ง
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十月 24, 2021

Ubai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 43/475/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เทพยดาคิดอุบายอาทิผิด สระให้ภิกษุไปจากที่นั้น
เมื่อเวลาประมาณกึ่งเดือนล่วงไปแล้วอย่างนี้, เทพดาก็คิดอาทิผิด อักขระว่า “ภิกษุ
นี้ เห็นจักอยู่ในที่นี้จริง ๆ สิ้นภายในฤดูฝน, ก็การที่เรากับบุตรน้อย
ทั้งหลายอยู่ในที่อันเดียวกันกับผู้มีศีล เป็นการทำได้ยาก; อนึ่งเราไม่อาจ
จะกล่าวกะภิกษุนี้ว่า ‘ ท่านจงออกไปเสีย ’ ดังนี้ได้, ความพลั้งพลาดใน
ศีลของภิกษุนี้มีอยู่ไหมหนอ ?” ดังนี้แล้ว ตรวจดูอยู่ด้วยทิพยจักษุ ก็ยัง
ไม่เห็นความพลั้งพลาดในศีลของท่าน ตั้งแต่เวลาอุปสมบท จึงคิดว่า “ ศีล
ของท่านบริสุทธิ์, เราจักทำเหตุบางอย่างนั่นเทียว ให้ความเสื่อมเสียเกิด
ขึ้นแก่ท่าน” ดังนี้แล้ว จึง (เข้าไป) สิงในสรีระของบุตรคนใหญ่ของ
อุบาสิกา ในตระกูลอุปัฏฐาก บิดคอแล้ว. นัยน์ตาทั้งสองของบุตรนั้น
เหลือกแล้ว, น้ำลายไหลออกจากปาก. อุบาสิกาเห็นบุตรนั้นแล้ว ร้องว่า
“ นี้อะไรกัน ? ”
ครั้งนั้น เทพดามีรูปไม่ปรากฏ กล่าวกะอุบาสิกานั้นอย่างนี้ว่า “ บุตร
นั่นเราจับไว้แล้ว, เราไม่มีความต้องการแม้ด้วยพลีกรรม, แต่ท่านจงขอ
ชะเอมเครือกะพระเถระผู้เข้าถึงตระกูลของท่านแล้ว เอาชะเอมเครือนั้น
ทอดน้ำมันแล้ว จงให้แก่บุตรนี้โดยวิธีนัตถุอาทิผิด อักขระเถิด, เมื่อทำอย่างนี้ เราจึง
จักปล่อยบุตรนี้.”
อุบาสิกา. บุตรนั่น จงฉิบหายหรือตายไปก็ตามเถิด, ฉันไม่อาจจะ
ขอชะเอมเครือกะพระผู้เป็นเจ้าได้.
เทพดา. ถ้าท่านไม่อาจจะขอชะเอมเครือไซร้, ท่านจงบอกเพื่อใส่
ผงหิงคุลงในจมูกของบุตรนั้น.
อุบาสิกา. ฉันไม่อาจเพื่อกล่าวคำแม้อย่างนี้ได้.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十月 22, 2021

Khao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/469/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นักปราชญ์ไม่พึงเป็นผู้มีคนชั่วเป็น
เพื่อนเลย เพราะความกลัวแต่การเข้าไป
ติดเปื้อน คนใดห่อปลาเน่าไว้ด้วยใบหญ้า
คา แม้หญ้าคาของคนนั้นย่อมมีกลิ่นเหม็น
ฟุ้งไป การเข้าอาทิผิด อาณัติกะไปซ่องเสพคนพาล ย่อม
เป็นเหมือนอย่างนั้น ส่วนคนใดห่อกฤษณา
ไว้ด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของคนนั้นย่อมมี
กลิ่นหอมฟุ้งไป การเข้าไปซ่องเสพ
นักปราชญ์ย่อมเป็นเหมือนอย่างนั้น เพราะ
เหตุนั้น บัณฑิตรู้ความสำเร็จผลแห่งตน
ดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่พึงเข้าไปเสพอสัต-
บุรุษ พึงเสพสัตบุรุษ เพราะว่าอสัตบุรุษ
ย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบสุขสูตรที่ ๗
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十月 20, 2021

Himmawan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/474/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นั้นกลับจากที่นั้นทีเดียวนำไปพระราชนิเวศน์ ทรงตั้งเป็นอัครมเหสี พระนาง
นั้นประสูติพระโอรสพระนามว่า สีวี เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระเจ้าสีวี
จึงครองราชสมบัติในกรุงทวาราวดี สุวโปดกกล่าวคำนี้ หมายเอาเจ้าสีวีนั้น.
สุวบัณฑิตนำอุทาหรณ์นี้มาอย่างนี้แล้วกล่าวว่า กษัตริย์แม้เห็นปานนี้
ยังสำเร็จสังวาสกับหญิงจัณฑาล ใครจะว่าอะไรในเราทั้งสองซึ่งเป็นสัตว์
ดิรัจฉานเล่า ความชอบใจในการร่วมประเวณีกันและกันต่างหาก เป็นข้อสำคัญ
กล่าวฉะนี้แล้ว เมื่อจะชักอุทาหรณ์อื่นมาอีก จึงกล่าวว่า
กินรีชื่อรัตนวดีมีอยู่ แม้นางก็ได้ร่วมรักกะดาบส
ชื่อวัจฉะ มนุษย์ทั้งหลายร่วมอภิรมย์กับมฤคีอาทิผิด อักขระก็มี มนุษย์
และสัตว์ไม่เป็นเช่นเดียวกันในเพราะกามย่อมไม่มี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วจฺฉํ ความว่า กะดาบสผู้มีชื่ออย่างนั้น
ก็กินรีนั้นได้ร่วมรักกะดาบสนั้นอย่างไร ในอดีตกาล มีพราหมณ์คนหนึ่งเห็น
โทษในกามทั้งหลาย จึงละยศใหญ่ออกบวชเป็นฤๅษี สร้างบรรณศาลาอยู่ ณ
หิมวันตอาทิผิด อักขระประเทศ กินนรเป็นจำนวนมากอยู่ ณ ถ้ำแห่งหนึ่งใกล้บรรณศาลาของ
ฤๅษีนั้น แมงมุมตัวหนึ่งอยู่ ณ ประตูถ้ำนั้น มันได้กัดศีรษะของกินนรเหล่า
นั้นดื่มกินโลหิต ธรรมดากินนรทั้งหลายหากำลังมิได้ เป็นชาติขลาด แม้
แมงมุมตัวนั้นก็ใหญ่โตมาก กินนรทั้งหลายไม่อาจจะทำอะไรมันได้จึงเข้าไป
หาดาบสนั้น ทำปฏิสันถารแล้วดาบสถามถึงเหตุที่มา จึงพากันบอกว่า มี
แมงมุมตัวหนึ่งประหารชีวิตของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าไม่เห็นผู้อื่นจะเป็น
ที่พึ่งได้ ขอท่านจงฆ่ามันเสียทำความสวัสดีแก่พวกข้าพเจ้า ดาบสได้ฟังคำ
ดังนั้นก็รุกรานว่า พวกเองไปเสีย บรรพชิตทั้งหลายเช่นเราไม่ทำปาณาติบาต
บรรดากินนรเหล่านั้น มีกินรีชื่อรัตนาวดี ยังไม่มีผัว กินนรเหล่านั้นจึงตกแต่ง
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十月 18, 2021

Samvuto

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 42/468/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๘. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๘๑]
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " กายปฺปโกปํ " เป็นต้น.
มูลบัญญัติการสวมเขียงเท้า
ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระศาสดาทรงสดับเสียง “ ขฏะขฏะ ก๊อก ๆ ”
แห่งภิกษุเหล่านั้น ผู้ถือไม้เท้าทั้งสองมือ สวมเขียงเท้าไม้ จงกรมอยู่บน
หลังแผ่นหิน ตรัสถามว่า “ อานนท์ นั่นชื่อ เสียงอะไรกัน ? ” ทรงสดับว่าอาทิผิด
“ เป็นเสียงขฏะขฏะแห่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ผู้สวมเขียงเท้าไม้จงกรมอยู่ ”
จึงทรงบัญญัติสิกขาบท แล้วตรัสว่า “ ธรรมดาภิกษุ ควรรักษาทวาร
มีกายทวาร เป็นต้น ” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงได้ทรง
ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
๘. กายปฺปโกปํ รกฺเขยฺยํ กาเยน สํวุโต สิยา
กายทุจฺจริตํ หิตฺวา กาเยน สุจริตํ จเร
วจีปโกปํ รกฺเขยฺย วาจาย สํวุโตอาทิผิด สระ สิยา
วจีทุจฺจริตํ หิตฺวา วาจาย สุจริตํ จเร
มโนปโกปํ รกฺเขยฺย มนสา สํวุโต สิยา
มโนทุจฺจริตํ หิตฺวา มนสา สุจริตํ จเร
กาเยน สํวุตา ธีรา อโถ วาจาย สํวุตา
มนสา สํวุตา ธีรา เต เว สุปริสํวุตา.
“ พึงรักษาความกำเริบทางกาย พึงเป็นผู้สำรวม
ทางกาย, พึงละกายทุจริตแล้ว ประพฤติสุจริตทาง
กาย; พึงรักษาความกำเริบทางวาจา, พึงเป็นผู้สำรวม
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十月 17, 2021

Kumari

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/587/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เจริญด้วยบุตรและธิดา คิดแล้วจึงส่งนางกุมารีคนนั้นไป นางกุมารีนั้นก็เข้าไป
ในม่าน พอเห็นพระเจ้ากินนรเข้าก็เกิดรักใคร่ ได้ประพฤติลามกด้วยกันแล้ว
พระราชาทรงถอดพระธำมรงค์พระราชทาน พอสำเร็จกิจ นางกุมารีนั้นกลับมา
ชนทั้งหลายก็ถามว่า เขาคลอดลูกเป็นชายหรือหญิง นางก็ตอบว่าเป็นชาย
งามเหมือนดังทอง. กุฎุมพีก็พานางกุมารีไป ฝ่ายปุโรหิตก็กลับมาเฝ้าพระเจ้า
กินนรแล้วทูลว่า ขอพระราชทาน พระองค์ได้ทอดพระเนตรแล้ว นางกุมารี
รุ่นสาวยังลามกถึงเพียงนี้ ก็จะประสาอะไรถึงหญิงพวกอื่น อ้อ พระองค์
ประทานอะไรแก่นางไปบ้างหรือเปล่า พระเจ้ากินนรตรัสว่า เราให้แหวนที่
ติดมือมาแก่นางไป ปุโรหิตจึงทูลว่า พระองค์ประทานมันทำไม ว่าแล้วก็วิ่ง
ไปยึดยานไว้ ครั้นคนทั้งหลายถามว่าอะไรกัน ก็ตอบว่า นางกุมารีคนนี้หยิบ
เอาแหวนที่วางไว้ข้างศีรษะของนางพราหมณีภรรยาของข้ามา ขอแหวนให้ข้า
เถิดแม่ นางกุมารีอาทิผิด สระยื่นมือออกไปหยิกมือปุโรหิต ตะคอกว่า ตาโจร เอาของ
แกไปเถิด แล้วส่งแหวนคืนให้. ปุโรหิตสำแดงหญิงที่ประพฤตินอกใจผัว
หลายคนถวายพระเจ้ากินนร ด้วยอุบายต่าง ๆ อย่างอื่นแล้วทูลว่า ขอพระ
ราชทาน ที่นี่เท่านี้ก็พอแล้ว ขอเชิญเสด็จไปที่อื่นบ้างเถิด พระเจ้ากินนรตรัสว่า
ถึงจะเที่ยวไปให้ทั่วชมพูทวีป หญิงทั้งปวงก็จักเป็นเช่นเดียวกันหมด เราจะ
ต้องการดูอะไรมันอีกเล่า กลับเถิด ตรัสแล้วก็เสด็จกลับเมืองพาราณสี. ปุโรหิต
จึงทูลขอประทานโทษนางกินรีว่า ขอพระราชทาน ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายแล้ว
ย่อมลามกอย่างนี้ ปกติของเขาเป็นอย่างนี้เอง พระองค์จงงดโทษนางกินรี
เสียเถิด พระเจ้ากินนรก็ทรงยกโทษให้รับสั่งให้ไล่ไปเสียจากพระราชนิเวศน์
เมื่อทรงขับไล่จากตำแหน่งแล้ว ก็ทรงตั้งหญิงอื่นเป็นอัครมเหสี แล้วรับสั่งให้
ไล่บุรุษเปลี้ยเสียจากที่นั้นและให้ตัดกิ่งต้นหว้าเสีย.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十月 14, 2021

Sangkappa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/470/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงทราบบททั้งปวงว่า พระโยคาวจรทำบริกรรมด้วยเมตตา, ทำ
บริกรรมด้วยกรุณาแล้วเข้าฌาน โดยนัยก่อนนั่นแล. ความดำริอันเกิด
ขึ้นอย่างนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า อพฺยาปาทสงฺกปฺโปอาทิผิด อวิหิงฺสา-
สงฺกปฺโป. เนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น เหล่านี้ต่างกันในส่วนเบื้องต้น
เพราะการเกิดขึ้นต่างด้วยอำนาจวิปัสสนาและฌาน, แต่ความดำริที่
เป็นกุศลอย่างเดียวเท่านั้น ยังองค์มรรคให้บริบูรณ์ด้วยทำการไม่เกิดให้
สำเร็จ เพราะตัดเหตุแห่งความดำริที่เป็นอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นในฐานะ ๓
เหล่านี้ ในขณะแห่งมรรคเกิดขึ้น นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ.
พึงทราบวินิจฉัยใน สัมมาวาจานิทเทส ดังต่อไปนี้ เพราะ
ภิกษุเว้นจาก มุสาวาทด้วยจิตอื่น เว้นจากปิสุณาวาจาเป็นต้น ด้วยจิต
อื่นๆ ฉะนั้นการเว้นอย่างนี้ จึงต่างกันในส่วนเบื้องต้น, แต่
ในขณะแห่งมรรค การเว้นที่เป็นกุศลกล่าวคือสัมมาวาจาอย่างเดียวเท่า
นั้น ยังองค์มรรค ๘ ให้บริบูรณ์ด้วยสามารถอาทิผิด อักขระทำความไม่เกิดให้สำเร็จได้
เพราะตัดทางแห่งเจตนาอันเป็นอกุศล และความเป็นผู้ทุศีล ๔ อย่าง
กล่าวคือมิจฉาวาจา ย่อมเกิดขึ้น นี้ชื่อว่า สัมมาวาจา.
พึงทราบวินิจฉัยใน สัมมากัมมันตนิทเทส ดังต่อไปนี้ เพราะ
ภิกษุเว้นจากปาณาติบาตด้วยจิตอื่น เว้นจากอทินนาทานด้วยจิตอื่น
เว้นจากมิจฉาจารด้วยจิตอื่น ฉะนั้นการเว้น ๓ อย่างเหล่านี้ จึงต่างกัน
ในส่วนเบื้องต้น แต่ในขณะแห่งมรรค การเว้นที่เป็นกุศล กล่าวคือ
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十月 13, 2021

Majjhe

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/374/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พึงทราบความในบทนี้ว่า มํสจกฺขุมฺหิ ภควโต ปญฺจ วณฺณา
สํวิชฺชนฺติ สี ๕ สีมีในพระมังสจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ สี ๕ สี
ย่อมได้เฉพาะพระองค์ ในพระจักษุอันประกอบด้วยพระบารมีธรรมที่
สะสมมาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. บทว่า นีโล จ วณฺโณ สีเขียว คือสี
ดอกผักตบ. บทว่า ปีตโก จ วณฺโณ สีเหลือง คือสีดอกกรรณิการ์. บทว่า
โลหิตโก จ วณฺโณ สีแดง คือสีปีกแมลงทับ. บทว่า กณฺโห จ วณฺโณ สีดำ
คือสีดอกอัญชัน. บทว่า โอหาโต จ วณฺโณ สีขาว คือสีดาวประกายพรึก.
บทว่า ยตฺถ จ อกฺขิโลมานิ ปติฏฺฐิตานิ คือ ขนพระเนตรทั้งหลายตั้งอยู่
เฉพาะที่ใด. บทว่า นีลํ ในบทนี้ว่า ตํ นีลํ โหติ สุนีลํ ที่นั้นมีสีเขียว
เขียวสนิทดังนี้ ท่านกล่าวโดยรวมไว้ทั้งหมด. บทว่า สุนีลํ คือ เขียวสนิท
เว้นช่องว่าง. บทว่า ปาสาทิกํ น่าชม คือให้เกิดความน่าชม. บทว่า
ทสฺสนียํ น่าดู. บทว่า อุมฺมารปุปฺผสมานํ เหมือนดอกผักตบ คือเช่น
กับดอกบัวจงกลนี. บทว่า ตสฺส ปรโต ต่อจากนั้น คือที่ข้างภายนอก
โดยรอบขนพระเนตรนั้น. บทว่า ปีตกํ สีเหลือง ท่านกล่าวรวบยอด.
บทว่า สุปิตกํ เหลืองนวล คือเหลืองสนิทเว้นช่องว่าง. บทว่า อุภยโต
จ อกฺขิกูฏานิ เบ้าพระเนตรทั้งสอง คือท้ายพระเนตรทั้งสองข้าง. บทว่า
โลหิตกานิ มีสีแดงกล่าวรวบยอด. บทว่า สุโลหิตกานิ คือ แดงสนิท
ไม่ปรากฏช่อง. บทว่า มชฺเฌ กณฺหํอาทิผิด ท่ามกลางพระเนตรมีสีดำ คือดำ
คล้ายดอกอัญชันตั้งอยู่กลางพระเนตร. บทว่า สุกณฺหํ ดำงาม คือดำสนิท
เว้นช่องว่าง. บทว่า อลูขํ ไม่หมองมัว คือมีสิริ. บทว่า สินิทฺธํ สนิท
คือประณีต. บทว่า อฬาริฏฺฐกสมานํ ๑ เหมือนสีสมอดำ คือเช่นกับ
ผลสมอดำที่เอาเปลือกออกแล้ว. บาลีว่า อทฺทาริฏฺฐกสมานํ เหมือนลูก

๑. ม. ภทฺทาริฏฺฐกสมานํ คล้ายเมล็ดในผลมะคำดีควายที่ปอกเปลือก.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十月 10, 2021

Katha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 52/56/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๑๑อาทิผิด อาณัติกะ. สัปปกเถรคาถา

ว่าด้วยคาถาของพระสัปปกเถระ

[๓๓๓] เมื่อใด นกยางทั้งหลายมีขนอันขาวสะอาดถูกความ
กลัวต่อเมฆคุกคามแล้ว ปรารถนาจะหลบซ่อนอยู่ในรัง
บินเข้าไปสู่รัง เมื่อนั้น แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี
เมื่อใด นกยางมีขนขาวสะอาดดี ถูกความกลัวต่อเมฆดำ
คุกคามแล้วไม่เห็นที่หลบลี้ จึงแสวงหาที่หลบลี้ เมื่อนั้น
แม่น้ำอชกรณีย่อมยังเราให้ยินดี ต้นหว้าทั้งหลาย
ทั้งสองข้างแห่งแม่น้ำอชกรณี ทำฝั่งแม่น้ำข้างหลังแห่ง
ถ้ำใหญ่ของเราให้งาม จะไม่ยังสัตว์อะไรให้ยินดี ในหมู่นั้น
ได้เล่า กบทั้งหลายมีปัญญาน้อย พ้นดีแล้วจากหมู่แห่งงู
มีพิษและงูไม่มีพิษ พากันร้องด้วยเสียงอันไพเราะ วันนี้
เป็นสมัยที่อยู่ปราศจากภูเขาและน้ำก็หามิได้ แม่น้ำ
อชกรณีนี้เป็นแม่น้ำปลอดภัย เป็นแม่น้ำเกษมสำราญ
รื่นรมย์ดี.
จบสัปปกเถรคาถา

อรรถกถาอาทิผิด อักขระสัปปกเถรคาถาที่ ๑๑

คาถาของท่านพระสัปปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยทา พลากา ดังนี้.
เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร .
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ บังเกิดเป็นนาคมี
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十月 09, 2021

Sampayut

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 81/469/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมเป็นกุศล เกิดพร้อมกับกรรม
ที่เป็นกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นกุศล เกิดพร้อมกับกรรม
ที่เป็นกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เกิด
พร้อมกับกรรมที่สัมปยุตอาทิผิด ด้วยสุขเวทนา หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมกรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ฯลฯ ที่
สัมปยุตด้วยอทุกขเวทนา เกิดพร้อมกับกรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรม เกิดพร้อมกับกรรม หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นอกุศล เกิดพร้อมกับ
กรรมที่เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสั่งสมแห่งกรรมที่เป็นอกุศล เกิดพร้อมกับ
กรรมที่เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十月 08, 2021

Bhavaraga

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 83/377/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภวราคานุสยมูล
ภวราคาอาทิผิด นุสยมูละ อวิชชานุสยมูลี :-
[๑๔๐๓] บุคคลไม่ละภวราคานุสัย จากที่ใด, ย่อมไม่ละ
อวิชชานุสัย จากที่นั้น ใช่ไหม ?
บุคคลไม่ละภวราคานุสัย จากที่นั้น คือที่เวทนา ๓ ในกามธาตุ
แต่จะไม่ใช่ไม่ละอวิชชานุสัย จากที่นั้น, บุคคลย่อมไม่ละภวราคานุสัย
และไม่ละอวิชชานุสัย จากที่นั้น คือที่อปริยาปันนธรรม.
ก็หรือว่า บุคคลไม่ละอวิชชานุสัย จากที่ใด, ย่อมไม่ละภวราคา-
นุสัย จากที่นั้น ใช่ไหม ?
ใช่.
จบ ภวราคานุสยมูละ อวิชชานุสยสมูลี
ภวราคานุสยมูล จบ
เอกมูลกะ จบ

กามราคานุสย - ปฏิฆานุสยมูล
ทุกมูลกะ - กามราคานุสย - ปฏิฆานุสยมูละ มานานุสยมูลี :-
[๑๔๐๔] บุคคลไม่ละกามราคานุสัย และปฏิฆานุสัย จากที่ใด,
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十月 05, 2021

Thi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/451/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลาย
ปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเมตตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริย-
เจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่
เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การรักใคร่ กิริยาที่รักใคร่ ความรักใคร่ เมตตา
เจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า เมตตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ
เรียกว่า ธรรมทีอาทิผิด อาณัติกะสัมปยุตด้วยเมตตา.

กรุณากุศลฌาน จตุกกนัย
[๗๕๒] กรุณา เป็นไฉน ?
ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยกรุณา
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด การสงสาร
กิริยาที่สงสาร ความสงสาร กรุณาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า
กรุณา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยกรุณา.
กรุณา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติย-
ฌานที่สหรคตด้วยกรุณา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ
วิตก วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การสงสาร กิริยาที่สงสาร ความสงสาร

๑. โดยนัยของพระสูตร กรุณาเป็นอารมณ์ของฌานที่ ๑ ถึงที่ ๓ เท่านั้น ไม่เป็น
อารมณ์ของฌานที่ ๔
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十月 04, 2021

Rua

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 62/411/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นกกระเรียน เมื่อผัวจมลงสู่สมุทรกล่าวคือน้ำเค็ม ตายเสียแล้ว ก็ย่อมว้าเหว่
คร่ำครวญอยู่ฉะนั้นแล.
สุมุขหงส์ได้สดับคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า พญาหงส์นี้เป็นผู้สมควรที่จะ
สั่งสอนผู้อื่น มาพร่ำรำพันไปด้วยอำนาจกิเลส เพราะอาศัยมาตุคาม เกิด
เป็นประหนึ่งเวลาที่น้ำมีอาการร้อน และเป็นประหนึ่งเวลาที่นาอันไม่มีรั้วอาทิผิด อักขระล้อม
กั้น ถ้ากระไรเราพึงประกาศโทษมาตุคาม ด้วยกำลังแห่งญาณของตน พึงยัง
พญาหงส์นี้ให้รู้สึก จึงได้กล่าวคาถาว่า
การที่พระองค์เป็นใหญ่กว่าโลกคือหงส์ ใคร ๆ
ไม่สามารถจะประมาณคุณได้ เป็นครูของหมู่คณะใหญ่
พึงตามเศร้าโศกถึงหญิงคนเดียวอย่างนี้ เหมือนไม่ใช่
ความประพฤติของผู้มีปัญญา ลมย่อมพัดพานทั้งกลิ่น
หอมและกลิ่นเหม็น เด็กอ่อนย่อมเก็บผลไม้ทั้งดิบ
ทั้งสุก คนตาบอดผู้โลภในรสอาหาร ย่อมถือเอาอาหาร
ฉันใด ธรรมดาหญิงก็ฉันนั้น พระองค์ไม่รู้จักตัดสินใจ
ในเหตุทั้งหลาย ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนคนเขลา
พระองค์จะถึงมรณกาลแล้ว ยังไม่ทรงทราบถึงกิจที่
ควรและไม่ควร พระองค์เห็นจะเป็นกึ่งคนบ้า บ่นเพ้อ
ไปต่าง ๆ ทรงสำคัญหญิงว่าเป็นผู้ประเสริฐ แท้จริง
หญิงเหล่านี้ เป็นของทั่วไปแก่คนเป็นอันมาก เหมือน
โรงสุราเป็นสถานที่ทั่วไปแก่พวกนักเลงสุรา ฉะนั้น
อนึ่ง หญิงเหล่านี้มีมารยาเหมือนพยับแดด เป็นเหตุ
แห่งความเศร้าโศก เป็นเหตุเกิดโรคและอันตราย อนึ่ง
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十月 03, 2021

Nirot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/452/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถานิโรธอาทิผิด สระสัจนิทเทส
(๘๔)พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธสัจนิทเทส ดังต่อไปนี้ ใน
บทนี้ว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย - การดับตัณหานั้นด้วยความคลาย
กำหนัดโดยไม่เหลือ ควรกล่าวว่า โย ตสฺเสว ทุกฺขสฺส - การดับทุกข์นั้น
ด้วยความคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ เพราะทุกข์อาทิผิด ดับด้วยความดับสมุทัย.
มิใช่ดับด้วยประการอื่น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห
ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ,
เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต
นิพฺพตฺตี ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ.๑.
เมื่อยังถอนตัณหานุสัยไม่ได้ ทุกข์นี้ย่อม
เกิดบ่อย ๆ เหมือนเมื่อรากไม้ยังแข็งแรง ไม่มี
อันตราย ต้นไม้แม้ตัดแล้ว ก็ยังงอกอีกได้.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงทุกขนิโรธนั้น จึง
ตรัสอย่างนี้เพื่อแสดงสมุทยนิโรธ. จริงอยู่ พระตถาคตทั้งหลายผู้มีความ
ประพฤติเสมอด้วยสีหะ, พระตถาคตเหล่านั้น เมื่อจะทรงดับทุกข์และ
เมื่อจะทรงแสดงการดับทุกข์ จึงทรงดำเนินไปในเหตุ, ไม่ทรงดำเนิน
๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.
 
พระปิฎกธรรม