Samvuto
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 42/468/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
๘. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๘๑]
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " กายปฺปโกปํ " เป็นต้น.
มูลบัญญัติการสวมเขียงเท้า
ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระศาสดาทรงสดับเสียง “ ขฏะขฏะ ก๊อก ๆ ”
แห่งภิกษุเหล่านั้น ผู้ถือไม้เท้าทั้งสองมือ สวมเขียงเท้าไม้ จงกรมอยู่บน
หลังแผ่นหิน ตรัสถามว่า “ อานนท์ นั่นชื่อ เสียงอะไรกัน ? ” ทรงสดับว่าอาทิผิด
“ เป็นเสียงขฏะขฏะแห่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ผู้สวมเขียงเท้าไม้จงกรมอยู่ ”
จึงทรงบัญญัติสิกขาบท แล้วตรัสว่า “ ธรรมดาภิกษุ ควรรักษาทวาร
มีกายทวาร เป็นต้น ” ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงได้ทรง
ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
๘. กายปฺปโกปํ รกฺเขยฺยํ กาเยน สํวุโต สิยา
กายทุจฺจริตํ หิตฺวา กาเยน สุจริตํ จเร
วจีปโกปํ รกฺเขยฺย วาจาย สํวุโตอาทิผิด สระ สิยา
วจีทุจฺจริตํ หิตฺวา วาจาย สุจริตํ จเร
มโนปโกปํ รกฺเขยฺย มนสา สํวุโต สิยา
มโนทุจฺจริตํ หิตฺวา มนสา สุจริตํ จเร
กาเยน สํวุตา ธีรา อโถ วาจาย สํวุตา
มนสา สํวุตา ธีรา เต เว สุปริสํวุตา.
“ พึงรักษาความกำเริบทางกาย พึงเป็นผู้สำรวม
ทางกาย, พึงละกายทุจริตแล้ว ประพฤติสุจริตทาง
กาย; พึงรักษาความกำเริบทางวาจา, พึงเป็นผู้สำรวม
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论