Majjhe
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 66/374/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
พึงทราบความในบทนี้ว่า มํสจกฺขุมฺหิ ภควโต ปญฺจ วณฺณา
สํวิชฺชนฺติ สี ๕ สีมีในพระมังสจักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ สี ๕ สี
ย่อมได้เฉพาะพระองค์ ในพระจักษุอันประกอบด้วยพระบารมีธรรมที่
สะสมมาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. บทว่า นีโล จ วณฺโณ สีเขียว คือสี
ดอกผักตบ. บทว่า ปีตโก จ วณฺโณ สีเหลือง คือสีดอกกรรณิการ์. บทว่า
โลหิตโก จ วณฺโณ สีแดง คือสีปีกแมลงทับ. บทว่า กณฺโห จ วณฺโณ สีดำ
คือสีดอกอัญชัน. บทว่า โอหาโต จ วณฺโณ สีขาว คือสีดาวประกายพรึก.
บทว่า ยตฺถ จ อกฺขิโลมานิ ปติฏฺฐิตานิ คือ ขนพระเนตรทั้งหลายตั้งอยู่
เฉพาะที่ใด. บทว่า นีลํ ในบทนี้ว่า ตํ นีลํ โหติ สุนีลํ ที่นั้นมีสีเขียว
เขียวสนิทดังนี้ ท่านกล่าวโดยรวมไว้ทั้งหมด. บทว่า สุนีลํ คือ เขียวสนิท
เว้นช่องว่าง. บทว่า ปาสาทิกํ น่าชม คือให้เกิดความน่าชม. บทว่า
ทสฺสนียํ น่าดู. บทว่า อุมฺมารปุปฺผสมานํ เหมือนดอกผักตบ คือเช่น
กับดอกบัวจงกลนี. บทว่า ตสฺส ปรโต ต่อจากนั้น คือที่ข้างภายนอก
โดยรอบขนพระเนตรนั้น. บทว่า ปีตกํ สีเหลือง ท่านกล่าวรวบยอด.
บทว่า สุปิตกํ เหลืองนวล คือเหลืองสนิทเว้นช่องว่าง. บทว่า อุภยโต
จ อกฺขิกูฏานิ เบ้าพระเนตรทั้งสอง คือท้ายพระเนตรทั้งสองข้าง. บทว่า
โลหิตกานิ มีสีแดงกล่าวรวบยอด. บทว่า สุโลหิตกานิ คือ แดงสนิท
ไม่ปรากฏช่อง. บทว่า มชฺเฌ กณฺหํอาทิผิด ท่ามกลางพระเนตรมีสีดำ คือดำ
คล้ายดอกอัญชันตั้งอยู่กลางพระเนตร. บทว่า สุกณฺหํ ดำงาม คือดำสนิท
เว้นช่องว่าง. บทว่า อลูขํ ไม่หมองมัว คือมีสิริ. บทว่า สินิทฺธํ สนิท
คือประณีต. บทว่า อฬาริฏฺฐกสมานํ ๑ เหมือนสีสมอดำ คือเช่นกับ
ผลสมอดำที่เอาเปลือกออกแล้ว. บาลีว่า อทฺทาริฏฺฐกสมานํ เหมือนลูก
๑. ม. ภทฺทาริฏฺฐกสมานํ คล้ายเมล็ดในผลมะคำดีควายที่ปอกเปลือก.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论