Yuet Thue
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 49/180/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ได้แก่ ซึ่งนางติสสา. บทว่า อวจ แปลว่า ได้กล่าวแล้ว. ก็เพื่อ
จะแสดงถึงอาการที่นางติสสากล่าว จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า ปาปกมฺมํ
กรรมชั่ว. บาลีว่า ปาปกมฺมานิ ดังนี้ก็มี. นางเปรตกล่าวว่า ท่าน
กระทำกรรมชั่วอย่างเดียว แต่ท่านไม่ได้สุคติด้วยดี เพราะกรรมชั่ว
โดยที่แท้ ได้แต่ทุคติอาทิผิด เท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านได้กล่าว คือโอวาท
เราในกาลก่อน โดยอาการใด กรรมนั้นก็ย่อมมีโดยอาการนั้น
เหมือนกัน.
นางติสสาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าว ๓ คาถา โดยนัยมี
อาทิว่า วามโต มํ ตฺวํ ปจฺเจสิ ท่านไม่เชื่อถือเรา ดังนี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า วามโต นํ ตฺวํ ปจฺเจสิ ความว่า ท่านเชื่อเรา
โดยอาการผิดตรงกันข้าม คือ ท่านยึดถืออาทิผิด สระเราแม้ผู้แสวงหาประโยชน์
แก่ท่าน ก็ทำให้เป็นข้าศึก. บทว่า มํ อุสูยสิ แปลว่า ท่านริษยาเรา
คือ ทำความริษยาเรา. ด้วยบทว่า ปสฺส ปาปานํ กมฺมานํ วิปาโก
โหติ ยาทิโส นี้ นางเปรตแสดงว่า ท่านจงดูวิบากของกรรมชั่ว
ที่ร้ายกาจมากนั้น โดยประจักษ์.
บทว่า เต อญฺเญ ปริจาเรนฺติ ความว่า ทาสีในเรือนของท่าน
และเครื่องอาภรณ์เหล่านี้ที่ท่านหวงแหนไว้ในกาลก่อน บัดนี้
บำเรอคนอื่น คือ คนอื่นใช้สอย. จริงอยู่ บทว่า อิเม นี้ ท่านกล่าว
โดยเป็นลิงควิปลาส. บทว่า น โภคา โหนฺติ สสฺสตา ความว่า
ธรรมดาว่าโภคะเหล่านี้ ไม่แน่นอน คือไม่ยั่งยืนเป็นของชั่วกาล
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论