turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 55/141/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะอุทายีเถระว่า อุทายีเพราะเหตุไรหนอ
เธอจึงพรรณนาการไปด้วยเสียงอันไพเราะ พระอุทายีเถระกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระชนกของพระองค์ มีพระ
ประสงค์จะพบเห็นพระองค์ ขอพระองค์จงกระทำการสงเคราะห์แก่พระญาติ
ทั้งหลายเถิด พระศาสดาตรัสว่า ดีละอุทายี เราจักกระทำการสงเคราะห์พระ
ญาติ เธอจงบอกแก่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจักได้บำเพ็ญคมิกวัตรสำหรับผู้
จะไป พระเถระรับพระพุทธดำรัสแล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้อมล้อมด้วยภิกษุขีณาสพทั้งสิ้นสองหมื่นองค์
คือ ภิกษุผู้เป็นกุลบุตรชาวอังคะอาทิผิด อักขระและมคธะหมื่นองค์ ภิกษุผู้เป็นกุลบุตรชาว
เมืองกบิลพัสดุ์หมื่นองค์ เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จเดินทางวันละหนึ่ง
โยชน์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า จักเสด็จจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุง
กบิลพัสดุ์ทาง ๖๐ โยชน์ โดยเวลา ๒ เดือน จึงเสด็จหลีกจาริกไปโดยไม่รีบ
ด่วน ฝ่ายพระเถระคิดว่า จักกราบทูลความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกมา
แล้ว จึงเหาะขึ้นสู่เวหาสไปปรากฏในพระราชนิเวศน์ของพระราชา. พระราชา
ทอดพระเนตรเห็นพระเถระแล้วทรงดีพระทัย นิมนต์ให้นั่งบนบัลลังก์อันควร
ค่ามาก ได้ทรงนำบาตรให้เต็มด้วยโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ที่เขาจัดเตรียมไว้
เพื่อพระองค์แล้วถวายไป พระเถระลุกขึ้นแสดงอาการจะไป พระราชาตรัสว่า
จงนั่งฉันเถิดพ่อ พระเถระทูลว่า มหาบพิตร อาตมภาพจักไปยังสำนักของพระ-
ศาสดาแล้วจักฉัน. พระราชาตรัสว่า พระศาสดาอยู่ที่ไหนละพ่อ พระอุทายีเถระ
ทูลว่า มหาบพิตร พระศาสดามีภิกษุ ๒ หมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกจาริกเพื่อ
จะเห็นพระองค์ พระราชาทรงดีพระทัยตรัสว่า ท่านฉันภัตตาหารนี้แล้วจงนำ
บิณฑบาตจากพระราชนิเวศนั้นไปถวายพระโอรสนั้น จนกว่าพระโอรสของเรา
จะถึงพระนครนี้. พระเถระรับแล้ว พระราชาอังคาสพระเถระแล้วอบบาตรด้วย
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 28/10/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
๙. อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร
ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งอายตนะภายในทั้งสามกาล
[ ๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา
จะกล่าวไปไยอาทิผิด สระถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่
อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่ออาทิผิด อักขระหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน
หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปใย
ถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี
เยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อ
หน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน.
จบ อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตรที่ ๙
๑๐. พาหิรสูตร
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายนอกทั้งสามกาล
[ ๑๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของ
ไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยอาทิผิด สระถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในรูป
ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูป
ที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 60/367/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนียติ ความว่า ชีวิตของพี่ใกล้จะขาด
อยู่แล้ว. บทว่า อิทํ ได้แก่ ชีวิต. บทว่า ปาณา ความว่า ดูก่อนจันทา
ลมปราณคือชีวิตของพี่ย่อมจะดับ. บทว่า โอสธิ เม ความว่า ชีวิตของพี่
ย่อมจะจมลง. บทว่า นิตมานิ แปลว่า พี่ย่อมลำบากอย่างยิ่ง. บทว่า ตว
จนฺทิยา ความว่า นี้เป็นความทุกข์ของพี่. บทว่า น นํ อญฺเญหิ โสเกหิ
ความว่า โดยที่แท้นี้เป็นเหตุแห่งความโศกของเธอผู้ชื่อว่าจันทีเมื่อกำลังเศร้าโศก
อยู่ เพราะเหตุที่เธอเศร้าโศกอาทิผิด เพราะความพลัดพรากของเรา. ด้วยบทว่า ติณมิว
มิลายามิ เธอกล่าวว่า ข้าจะเหี่ยวเฉา เหมือนต้นหญ้าที่ถูกทอดทิ้งบนแผ่นหิน
อันร้อน เหมือนป่าไม้ที่ถูกตัดรากฉะนั้น . บทว่า สเร ปาเท ความว่า
เหมือนสายฝนที่ตกบนเชิงเขาไหลซ่านไปไม่ขาดสายฉะนั้น.
พระมหาสัตว์คร่ำครวญด้วยคาถาสี่เหล่านี้ นอนเหนือที่นอนดอกไม้
นั่นเอง ชักดิ้นสิ้นสติ. ฝ่ายพระราชายังคงยืนอยู่. จันทากินรีเมื่อพระมหาสัตว์
รำพัน กำลังเพลิดเพลินเสียด้วยความรื่นเริงของตน มิได้รู้ว่าเธอถูกยิง แต่
ครั้นเห็นเธอไร้สัญญานอนดิ้นไป ก็ใคร่ครวญว่า ทุกข์ของสามีเราเป็นอย่างไร
หนอ พอเห็นเลือดไหลออกจากปากแผล ก็ไม่อาจสะกดกลั้นความโศกอัน
มีกำลังที่เกิดขึ้นในสามีที่รักไว้ได้ ร่ำไห้ด้วยเสียงดัง. พระราชาทรงดำริว่า
กินนรคงตายแล้ว ปรากฏพระองค์ออกมา. จันทาเห็นท้าวเธอหวั่นใจว่าโจร
ผู้นี้คงยิงสามีที่รักของเรา จึงหนีไปอยู่บนยอดเขา พลางบริภาษพระราชา ได้
กล่าวคาถา ๕ คาถา ดังนี้
พระราชบุตรใด ยิงสามีผู้เป็นที่ปรารถนาของเรา
เพื่อให้เป็นหม้ายที่ชายป่า พระราชบุตรนั้นเป็นคน
เลวทรามแท้ สามีของเรานั้นถูกยิงแล้วนอนอยู่ที่พื้นดิน
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 71/789/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
สุมนาเวฬิยเถราปทานที่ ๘ (๓๒๘)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงอาทิผิด อักขระมาลัยดอกมะลิ
[๓๓๐] ชนทั้งปวงมาประชุมกันทำการบูชาใหญ่ แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก
ผู้คงที่.
ในกาลนั้นเราใส่ก้อนปูนขาวแล้ว วางอาทิผิด อักขระพวงมาลัยดอกมะลิ
ไว้บูชา ข้างหน้าแห่งอาสนะทอง.
ชนทั้งปวงมามุงดูดอกไม้อันอุดม ด้วยดำริว่า ใครบูชา
ดอกไม้นี้แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้คงที่.
เราได้เข้าถึงชั้นนิมมานรดี เพราะจิตอันเลื่อมใสนั้น ได้
เสวยกรรมของตน ที่ตนทำไว้ดีในกาลก่อน.
เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์
ย่อมเป็นที่รักของปวงชน นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้.
เราไม่รู้จักทุคติด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจเลย เรา
ทำการบำรุงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ผู้มีตบะ.
ด้วยความประพฤติชอบนั้น และด้วยการตั้งจิตมั่น เรา
เป็นผู้ที่รักของปวงชนบูชา นี้เป็นผลแห่งการไม่ด่า.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้
ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 15/11/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
กฬารมัชฌกะ กลับนุ่งห่มผ้า มีภรรยา กินข้าวและขนม ล่วงเกิน
เจดีย์ที่มีอยู่ในเมืองเวสาลีอาทิผิด อักขระทั้งหมด กลายเป็นคนเสื่อมยศ แล้วตายไป จึงได้
เข้ามาหาเรา ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. เราจึงกล่าว
กะเขาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ดูก่อนสุนักขัตตะเธอสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน วิบากนั้น ได้มีขึ้นเช่นดังที่เราได้พยากรณ์อเจลกชื่อกฬารมัชฌกะ
ไว้แก่เธอ มิใช่มีโดยประการอื่น.
สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากนั้นได้มีขึ้นดังที่
พระผู้มีพระภาคได้พยากรณ์อาทิผิด อเจลกชื่อว่ากฬารมัชฌกะไว้แก่ข้าพระองค์
มิใช่มีโดยประการอื่น.
เรากล่าวว่า เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้
อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นสิ่งที่เราได้แสดงไว้
แล้วหรือยัง.
สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงแสดง
แล้วแน่นอน มิใช่จะไม่ทรงแสดงก็หาไม่.
เรากล่าวว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกล่าวกะเราผู้แสดง
อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ พระผู้มีพระภาคมิได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรม
ของมนุษย์แก่ข้าพระองค์ ดูก่อนโมฆอาทิผิด บุรุษ เธอจงเห็นว่า การกระทำ
เช่นนี้เป็นความผิดของเธอเพียงใด. ดูก่อนภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนัก-
ขัตตะ ถูกเรากล่าวอยู่อย่างนี้ ได้หนีไปจากธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์ผู้
เกิดในอบายและนรกฉะนั้น.
กถาว่าด้วยเรื่องอเจลกปาฏิกบุตร
[๖] ภัคควะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่กูฏาอาทิผิด คารศาลาในป่ามหาวันใน
เมืองเวสาลีนั่นเอง. สมัยนั้นนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร อาศัยอยู่ที่วัชชีคาม
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 39/277/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็น
ไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์
โลกนี้.
น้ำตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด
ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง
เปรตฉันนั้นเหมือนกัน.
ห้วงน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มฉันใด ทาน
ที่ทายกให้ไปจากอาทิผิด อักขระมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง
เปรตฉันนั้น เหมือนกัน.
บุคคลเมื่อระลึกถึงกิจที่ท่านทำมาแต่ก่อนว่าท่าน
ได้ทำกิจแก่เรา ได้ให้แก่เรา ได้เป็นญาติมิตรเป็นเพื่อน
ของเรา ดังนี้ จึงควรให้ทักษิณาแก่ฝูงเปรต.
การร้องไห้ การเศร้าโศก หรือการพิไรรำพัน
อย่างอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น
ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลาย ก็
คงอยู่อย่างนั้น.
ทักษิณานี้แล อันทายกให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วใน
พระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ทายกนั้น โดยฐานะ
ตลอดกาลนาน.
ญาติธรรมนี้นั้น ก็ทรงแสดงแล้ว การบูชาผู้ล่วง
ลับไปแล้ว ก็ทรงทำโอฬารแล้ว ทั้งกำลังของภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญพระองค์ก็ทรงขวน
ขวายไว้มิใช่น้อย.
จบติโรกุฑฑสูตร
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 76/78/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เหมือนเมื่อเขาสร้างทำนบกั้นแม่น้ำทำให้น้ำไหลบ่าไปสู่เหมืองใหญ่ น้ำ
ย่อมไหลบ่าไปเต็มขอบคันในฝั่งทั้งสอง แล้วก็ล้นอาทิผิด อาณัติกะไปตามทางทั้งหลาย มีทางปู
เป็นต้นแล้วก็หยั่งลงสู่แม่น้ำนั่นแหละอีก ฉันใด ข้ออุปไมยนี้พึงทราบฉันนั้น
เถิด. ก็ในความข้อนี้เวลาที่ภวังควิถีเป็นไป เหมือนเวลาเป็นไปของน้ำในแม่น้ำ.
เวลามโนธาตุที่เป็นกิริยายังภวังค์ให้เปลี่ยนไป เหมือนเวลาที่เขาสร้างทำนบกั้น
แม่น้ำ. การที่วิถีจิตเป็นไป เหมือนเวลาที่น้ำกำลังไหลไปในเหมืองใหญ่. ชวนะ
เหมือนการเต็มขอบคันทั้งสองฝั่ง. การแล่นไปของชวนะแล้ว แต่ตทารมณ์ยัง
ไม่ทันเกิดเลย จิตชวนะนั้นก็หยั่งลงสู่ภวังค์อีก เหมือนน้ำไหลจากทางทั้งหลาย
มีทางปูเป็นต้น แล้วไปสู่แม่น้ำอีก คลองการนับจิตที่หยั่งลงสู่ภวังค์ด้วยอาการ
อย่างนี้หามีไม่ แม้จิตนี้ ย่อมเป็นอย่างนี้ก็เพราะความที่อารมณ์ทุรพล นี้เป็น
โมฆวาระที่สาม.
ก็ถ้าอารมณ์ที่มีกำลังแรงมาสู่คลองไซร้ มโนธาตุที่เป็นกิริยายังภวังค์ให้
เปลี่ยนไปแล้ว จิตทั้งหลายมีจักขุวิญญาณเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น ก็ในฐานแห่งชวนะ
กามาวจรกุศลจิตดวงที่หนึ่งเป็นชวนะแล้ว ก็แล่นไป ๖-๗ วาระ แล้วจึงให้
โอกาสแก่ตทารัมมณะ ตทารัมมณะเมื่อตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่เป็นมหาวิบากจิตเช่น
เดียวกับกามาวจรกุศลจิตดวงที่หนึ่งนั่นแหละ มหาวิบากจิตดวงนี้ได้มี ๒ ชื่อ
คือมูลภวังค์ เพราะเป็นเหมือนจิตปฏิสนธิ และชื่อว่า ตทารัมมณะ เพราะ
ความที่จิตนั้นรับอารมณ์ที่ชวนจิตรับมาแล้ว. ในฐานนี้วิบากจิตย่อมถึงการนับ
ได้ ๔ อย่าง คือ จักขุวิญญาณ ๑ สัมปฏิจฉันนะ ๑ สันติรณะ ๑ ตทารัมมณะ ๑.
อนึ่ง เมื่อใดกุศลจิตดวงที่ ๒ เป็นชวนะ เมื่อนั้นกุศลวิบากจิตดวงที่ ๒
เช่นกับกุศลจิตดวงที่สองนั้นก็ตั้งอยู่ในฐานเป็นตทารัมมณะ แม้วิปากจิตดวง
ที่ ๒ นี้ย่อมได้ชื่อ ๒ อย่าง คือ ชื่อว่า อาคันตุกภวังค์เพราะเป็นเช่นเดียวกับ
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 63/85/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
[๔๕๔] พระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้นประดับ
ด้วยสรรพาลังการ เอวบาง สำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ
พูดจาน่ารัก ประคองพาหาทั้งสองกันแสงคร่ำครวญ
ว่า พระองค์ละพวกข้าพระองค์เพราะเหตุไร พระราชา
ทรงละพระสนมนารีเจ็ดร้อยเหล่านั้น ซึ่งประดับด้วย
เครื่องอลังการทั้งปวง เอวบาง สำรวมดี เชื่อถ้อยฟังคำ
พูดจาน่ารัก เสด็จไปมุ่งการผนวชอาทิผิด อักขระเป็นสำคัญ พระราชา
ทรงละภาชนะทองคำหนักร้อยปัลละ มีลวดลายนับ
ด้วยร้อย ทรงอุ้มบาตรดินนั้นให้เป็นอันอภิเษกครั้ง
ที่สอง.
[๔๕๕] คลังทั้งหลาย คือคลังเงิน คลังทอง
คลังแก้วมุกดา คลังแก้วไพฑูรย์ คลังแก้วมณี คลัง-
สังข์ คลังไข่มุกดา คลังผ้า คลังจันทน์เหลือง คลัง
หนังเสือ คลังงาช้าง คลังพัสดุสิ่งของ คลังทองแดง
คลังเหล็กเป็นอันมาก มีเปลวไฟเสมอเป็นอันเดียวกัน
อย่างน่ากลัว แม้อยู่คนละส่วนก็ไหม้หมด ขอพระองค์
โปรดเสด็จกลับดับไฟเสียก่อน พระราชทรัพย์ของ
พระองค์นั้นอย่าได้ฉิบหายเสียเลย.
[๔๕๖] เราทั้งหลายผู้ไม่มีความกังวล มีชีวิต
เป็นสุขดีหนอ เมื่อกรุงมิถิลาถูกเพลิงเผาผลาญอยู่
ของอะไร ๆ ของเรามิได้ถูกเผาผลาญเลย.
[๔๕๗] เกิดโจรป่าขึ้นแล้ว ปล้นแว่นแคว้น
ของพระองค์ มาเถิดพระองค์ ขอพระองค์จงเสด็จ
กลับเถิด แว่นแคว้นนี้อย่าพินาศเสียเลย.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 77/224/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ว่าด้วยวิธีมนสิการ อุทริยํ (อาหารใหม่)
อุทริยํ อาหารอาทิผิด สระใหม่ ได้แก่ ของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม
ที่อยู่ในท้อง บรรดาอาหารใหม่เหล่านั้น พระโยคีพึงมนสิการว่า เมื่อรากสุนัข
ตั้งอยู่ในรางสุนัข รางสุนัขย่อมไม่รู้ว่า รากสุนัขตั้งอยู่ในเรา แม้รากสุนัข
ก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในรางสุนัข ดังนี้ ฉันใด ท้องก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมไม่รู้ว่า อาหารใหม่อยู่ในเรา แม้อาหารใหม่เล่าก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่
ในท้อง ดังนี้ ธรรมเหล่านี้เว้นจากความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน
เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า อาหารใหม่ที่เป็นโกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้
ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง
ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.
ว่าด้วยวิธีมนสิการ กรีสํ (อาหารเก่า)
กรีสํ อาหารเก่า ตั้งอยู่ในที่สุดแห่งไส้ใหญ่ กล่าวคือกระเพาะอาหาร
เก่า เช่นกับกระบอกไม้ไผ่ยาว ๘ นิ้ว ในอาหารเก่าเหล่านั้น พระโยคีพึง
มนสิการว่า เมื่อเอาดินเหนียวละเอียดสีเหลืองขยำใส่ในปล้องไม้ไผ่ ปล้องไม้ไผ่
ย่อมไม่รู้ว่า ก้อนดินเหนียวสีเหลืองตั้งอยู่ในเรา แม้ก้อนดินเหนียวสีเหลือง
ก็ไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระบอกไม้ไผ่ ดังนี้ ฉันใด กระเพาะอาหารเก่า
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่รู้ว่า อาหารเก่าตั้งอยู่ในเรา แม้อาหารเก่าเล่าก็
ย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกระเพาะอาหารเก่า ดังนี้ ธรรมเหล่านั้นเว้นจาก
ความคิดและพิจารณาซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า อาหารเก่าที่เป็น
โกฏฐาสหนึ่งโดยเฉพาะในสรีระนี้ ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากตะ เป็นของสูญ
ไม่ใช่สัตว์ เป็นธรรมชาติแข็ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ ดังนี้.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 69/355/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เป็นไปย่อมเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณ คือ การพิจารณา
ทั้งนิมิตและความเป็นไปย่อมเกิดขึ้น.
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณ มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่าง
เดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย
ความเป็นอนัตตา จิตย่อมออกไปจากอะไร ย่อมแล่นไปในที่ไหน.
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตย่อมออกไปจากนิมิต
ย่อมแล่นไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตย่อม
ออกไปจากความเป็นไป ย่อมแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเป็นไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตย่อมออกไปจากนิมิตและความเป็นไป ย่อม
แล่นไปในนิพพานธาตุอันเป็นที่ดับ ซึ่งไม่มีนิมิต ไม่มีความเป็นไป.
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปภายนอก
และโคตรภูธรรม มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียว
กันต่างกันเเต่พยัญชนะเท่านั้น.
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปภายนอก
และโคตรภูธรรม มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยวิโมกข์อะไร.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 24/384/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อิจฺฉาคตํ แปลว่า ความอยากได้นั่นเอง. เทพบุตรแสดงความไม่ชักช้าด้วย
บทว่า อญฺญเตฺรว ได้ยินว่า โรหิตัสสฤษีนั้น ในเวลาไปภิกขาจาร เคี้ยว
ไม้ชำระฟัน ชื่อนาคอาทิผิด ลดาแล้วบ้วนปากที่สระอโนดาด ถึงอุตตรกุรุทวีปแล้วออก
หาอาหาร นั่งที่ขอบอาทิผิด อักขระปากจักรวาล ฉันอาหาร ณ ที่นั้น พักชั่วครู่ก็เหาะไปเร็วอีก.
บทว่า วสฺสสตายุโก ได้แก่ ยุคนั้น เป็นยุคที่มนุษย์มีอายุยืน. แต่โรหิตัสสฤษี
นี้ เริ่มเดินทางเมื่ออายุเหลือ ๑๐๐ ปี. บทว่า วสฺสสตชีวี ได้แก่เป็นอยู่
โดยไม่มีอันตรายตลอด ๑๐๐ ปีนั้น. บทว่า อนฺตราว กาลกโต ได้แก่ยัง
ไม่ทันถึงที่สุดโลกจักรวาลก็ตายเสียในระหว่าง ก็โรหิตตัสสฤษีนั้นแม้ทำกาละใน
ภพนั้น ก็มาบังเกิดในจักรวาลนี้นี่แล. บทว่า อปฺปตฺวา ได้แก่ ยังไม่ถึงที่
สุดแห่งสังขารโลก. บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์. บทว่า อนฺตกิริยํ
ได้แก่ การทำที่สุด. บทว่า กเฬวเร ได้แก่ ในอัตภาพ. บทว่า สสญฺญมฺหิ
สมนเก ได้แก่มีสัญญา มีจิต. บทว่า โลกํ ได้แก่ทุกขสัจ. บทว่า โลกสมุทยํ
ได้แก่ สมุทัยสัจ. บทว่า โลกนิโรธํ ได้แก่ นิโรธสัจ. บทว่า ปฏิปทํ
ได้แก่ มรรคสัจ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อน
ผู้มีอายุ เราไม่บัญญัติสัจจะ ๔ นี้ลงในหญ้าและไม้เป็นต้น แต่เราบัญญัติลงใน
กายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้เท่านั้น. บทว่า สมิตาวี ได้แก่สงบบาป.
บทว่า นาสึสติ ได้แก่ ไม่ปรารถนา.
จบอรรถกถาโรหิตัสสสูตรที่ ๖
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 77/44/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เวทนาที่เป็นกุศล ชื่อว่า เวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่าไม่มีความกระวน
กระวาย และด้วยอรรถว่ามีสุขเป็นวิบาก เวทนาที่เป็นอัพยากฤต ชื่อว่า
เวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่าไม่มีความอุตสาหะและด้วยอรรถว่าอาทิผิด อาณัติกะไม่มีวิบาก.
เวทนาที่เป็นกุศล และเวทนาที่เป็นอกุศล ชื่อว่า เวทนาหยาบ ด้วยอรรถ
ว่ามีอุตสาหะ และด้วยอรรถว่ามีวิบาก. เวทนาที่เป็นอัพยากฤต ชื่อว่า เวทนา
ละเอียด โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ทุกขเวทนา ชื่อว่า เวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่าไม่มีความยินดี และ
ด้วยอรรถว่าเป็นทุกข์. สุขเวทนา ชื่อว่า เวทนาละเอียด ด้วยอรรถว่ามีความ
ยินดีและด้วยอรรถว่าเป็นสุข. อทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า เวทนาละเอียด
ด้วยอรรถว่าสงบ และด้วยอรรถว่าประณีต. สุขและทุกขเวทนา ชื่อว่า
เวทนาหยาบ ด้วยอรรถว่าหวั่นไหวและด้วยอรรถว่าแผ่ออกไป. จริงอยู่ แม้
สุขเวทนา ก็ย่อมหวั่นไหวย่อมแผ่ออกไป แม้ทุกขเวทนาก็เหมือนกันเพราะ
สุขเวทนาเมื่อเกิดย่อมยังสรีระทั้งสิ้นให้หวั่นไหว ให้กระเพื่อม ให้ชุ่มฉ่ำ ให้
มัวเมา ให้ยินดีเกิดขึ้น ดุจรดอยู่ด้วยหม้อน้ำเย็น. ทุกขเวทนาเมื่อเกิดขึ้น
ย่อมเป็นดุจเวลาที่ใส่ภาชนะร้อนไว้ภายใน และดุจเอาคบเพลิงหญ้าเผาอยู่ภาย
นอกเกิดขึ้น. แต่อทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า เวทนาละเอียดโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
ก็เวทนาของบุคคลผู้ไม่เข้าสมาบัติ ชื่อว่า เวทนาหยาบ เพราะความ
ที่บุคคลนั้น มีจิตซัดส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ เวทนาของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ชื่อ
ว่า เวทนาละเอียด เพราะบุคคลนั้นประพฤติในนิมิตมีอารมณ์สงบ. เวทนา
มีอาสวะ ชื่อว่า เวทนาหยาบ เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาสวะ เป็นเหตุ ขึ้นชื่อว่า
วาระแห่งอาสวะ ย่อมเป็นสภาพหยาบอย่างเดียว. เวทนาไม่มีอาสวะ ชื่อว่า
เวทนาละเอียด โดยปริยายตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว.
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 21/138/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ของพระราชา. พระองค์ได้สำเร็จสังวาสกันกับพระธิดานั้น แล้วพากันหนีไป
ยังพระนครของพระองค์. พระโพธิราชกุมารนี้ทรงเกิดในพระครรภ์ของพระ-
ธิดานั้น จึงได้เรียนศิลปะ (มนต์) ในสำนักของพระชนกของพระองค์.
บทว่า ปธานิยงฺคานิ ความว่า ความเริ่มตั้ง ท่านเรียกว่า ปธานะ
(ความเพียร). ความเพียรของภิกษุนั้นมีอยู่ เหตุนั้นภิกษุนั้น ชื่อว่า ปธานียะ
ผู้มีความเพียร. องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร เหตุนั้น ชื่อว่า ปานิยังคะ.
บทว่า สทฺโธ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศรัทธา. ก็ศรัทธานั้นมี ๔ ประการ คือ
อาคมนศรัทธา ๑ อธิคมนศรัทธา ๑ โอกัปปนศรัทธา ๑ ปสาทศรัทธา ๑.
ในบรรดาศรัทธา ๔ อย่างนั้น ความเชื่อต่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ ชื่อว่า
อาคมนศรัทธา เพราะมาแล้วจำเดิมแต่ตั้งความปรารถนา. ชื่อว่า อธิคมนศรัทธา
เพราะบรรลุแล้วด้วยการแทงตลอดแห่งพระอริยสาวกทั้งหลาย. ความปลงใจ
เชื่อโดยความไม่หวั่นไหวเมื่อเขากล่าวว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ชื่อว่า
โอกัปปนศรัทธา. ความบังเกิดขึ้นแห่งความเลื่อมใส ชื่อว่า ปสาทศรัทธา.
ในที่นี้ประสงค์เอาโอกัปปนศรัทธา. บทว่า โพธิ ได้แก่ มัคคญาณ ๔. บุคคล
ย่อมเชื่อว่า พระตถาคตทรงแทงตลอดมัคคฌาณ ๔ นั้นดีแล้ว. อนึ่ง คำนี้เป็น
ยอดแห่งเทศนาทีเดียว ก็ความเชื่อในพระรัตนะทั้ง ๓ ท่านประสงค์เอาแล้ว
ด้วยองค์นี้. คือ ผู้ใดมีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นต้น อย่างแรงกล้า
ปธานวีริยะของผู้นั้นอาทิผิด ย่อมสำเร็จ. บทว่า อปฺปาพาโธ ได้แก่ ความไม่มีโรค.
บทว่า อปฺปาตงฺโก ได้แก่ ความไม่มีทุกข์. บทว่า สมเวปากินิยาอาทิผิด ความว่า
มีวิปากเสมอกัน . บทว่า คหณิยา ได้แก่ เตโชธาตุ อันเกิดแต่กรรม. บทว่า
นาติสีตาย นาจฺจุณฺหาย ความว่า ก็ผู้มีธาตุอันเย็นจัด ก็กลัวความเย็น
ผู้มีธาตุร้อนจัด ก็กลัวความร้อน. ความเพียรของคนเหล่านั้นจะไม่สำเร็จ.
จะสำเร็จแก่ผู้มีธาตุเป็นกลาง ๆ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มชฺฌิมาย
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 19/144/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
พร้อมแล้ว เรียนพระไตรปิฎก เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทา เป็นพระมหาขีณาสพ ชื่อว่า กาลพุทธรักขิต พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงเห็นเหตุนี้ จึงทรงแสดงธรรมเพื่อเป็นวาสนาในอนาคต.
เมื่อพระศาสนาประดิษฐานในตัมพปัณณิทวีปนั้น สัจจกะแม้นั้น
เคลื่อนจากเทวโลกเกิดในสกุลแห่งอำมาตย์ สกุลหนึ่ง. ในบ้านสำหรับภิกขา
จารแห่งทักษิณาคิริวิหาร บรรพชาในเวลาเป็นหนุ่ม สามารถบรรพชา
ได้เรียนพระไตรปิฎก คือ พระพุทธพจน์ บริหารคณะหมู่ภิกษุเป็นอันมาก
แวดล้อมไปเพื่อจะเยี่ยมพระอุปัชฌาย์ ลำดับนั้น อุปัชฌาย์ของเธอคิดว่า
เราจักท้วงสัทธิวิหารริก จึงบุ้ยปากกับภิกษุนั้น ผู้เรียนพระไตรปิฎกคือพระ
พุทธพจน์มาแล้ว ไม่ได้กระทำสักว่าการพูด ภิกษุนั้นลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง
ไปสำนักพระเถระ ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อกระผมทำคันถกรรมมาสำ
นักของท่าน เพราะเหตุไร ท่านจึงบุ้ยปาก ไม่พูดด้วย กระผมมีโทษอะไร
หรือ. พระเถระกล่าวว่า ท่านพุทธรักขิต ท่านทำความสำคัญว่า ชื่อว่า
บรรพชากิจของเราถึงที่สุดแล้ว ด้วยคันถกรรมประมาณเท่านี้หรือ ท่านพุทธ
รักขิต. กระผมจะทำอะไรเล่าขอรับ. พระเถระกล่าวว่า เธอจงละคณะตัด
ปปัญจธรรมไปสู่เจติยบรรพตวิหาร กระทำสมณธรรมเถิด. ท่านตั้งอยู่ใน
โอวาทอาทิผิด ของอาทิผิด อักขระพระอุปัชฌาย์กระทำอย่างนั้น จึงบรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วยปฏิสัม
ภิทา เป็นผู้มีบุญ พระราชาทรงบูชา มีหมู่ภิกษุเป็นอันมากเป็นบริวาร
อยู่ในเจติยบรรพตวิหาร.
ก็ในกาลนั้น พระเจ้าติสสมหาราช ทรงรักษาอุโบสถกรรม ย่อมอยู่
ในที่เร้นของพระราชา ณ เจติยบรรพต ท่านได้ให้สัญญาแก่ภิกษุผู้อุปัฏฐาก
ของพระเถระว่า เมื่อใดพระผู้เป็นเจ้าของเราจะแก้ปัญหา หรือกล่าว
ธรรม เมื่อนั้นท่านพึงให้สัญญาแก่เราด้วย. ในวันธัมมัสสวนะวันหนึ่ง แม้พระ
พระปิฎกธรรม
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 68/205/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
๕. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน
มีรังสีเขียว, ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว
เขียวล้วน มีรังสีเขียว, หรือว่าผ้าอาทิผิด สระที่กำเนิดในเมือง
พาราณสี มีส่วนทั้งสอง เกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว
เขียวล้วน มีรังสีเขียว แม้ฉันใด, ผู้หนึ่ง มีความ
สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มี
วรรณะเขียว เขียวล้วน มีรังสีเขียว ฉันนั้น
เหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความ
สำคัญอย่างนี้ เรารู้ เราเห็น, นี้ เป็น อภิภายตนะ
ที่ ๕.
๖. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลือง
ล้วน มีรังสีเหลือง, ดอกกรรณิกาอันเหลือง มี
วรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง, หรือว่า
ผ้าอาทิผิด สระที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง-
เหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรังสีเหลือง
แม้ฉันใด, ผู้ใดมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น
รูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลือง
พระปิฎกธรรม