星期一, 七月 11, 2011

Dueat Ron

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 46/467/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ด้วยอสังกิเลส วิมุตติรส ชื่อว่า ยังประโยชน์ให้สำเร็จ เพราะความเป็นธรรม
อันท่านอบรมแล้วด้วยปรมัตถสัจจรส และชื่อว่าเป็นอรรถรสและธรรมรส
เพราะอาศัยอรรถและธรรมที่เป็นอุบายจะให้บรรลุปรมัตถสัจจรสนั้นเป็นไป
ดังนี้แล.
ก็ในบทนี้ว่า ปญฺญาชีวึ ผู้ศึกษาพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ในบุคคล
ผู้บอด ผู้มีตาข้างเดียว และผู้มีตาสองข้างทั้งหลาย บุคคลผู้มีตาสองข้างนี้ใด
เป็นคฤหัสถ์ยินดีข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์มีการขยันทำการงาน ถึงสรณะ
จำแนกทาน สมาทานศีล และอุโบสถกรรมเป็นต้น หรือเป็นบรรพชิตยินดี
ข้อปฏิบัติสำหรับบรรพชิต กล่าวคือศีลอันทำความไม่เดือดร้อนอาทิผิด อักขระ หรืออันต่างด้วย
จิตตวิสุทธิเป็นต้นอันยิ่งกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลาย
กล่าวชีวิตอันเป็นอยู่ด้วยปัญญาของบุคคลนั้น หรือปัญญาชีวิตของบุคคลผู้เป็น
อยู่ด้วยปัญญานั้นว่า ประเสริฐที่สุด.
ยักษ์ได้ฟังปัญหาแม้ทั้งสี่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบแล้วอย่างนี้ มี
ใจเป็นของตน เมื่อจะทูลถามปัญหาทั้งสี่แม้ที่เหลือจึงกล่าวคาถาว่า กถํสุ ตรตี
โอฆํ บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้อย่างไร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงวิสัชนาแก่ยักษ์นั้น โดยนัยมีในก่อนนั่นเทียว จึงตรัสคาถาว่า สทฺธาย
ตรตี โอฆํ บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.
ในคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ บุคคลใดข้ามโอฆะทั้ง ๔ อย่างได้ บุคคล
นั้นย่อมข้ามอรรณพคือ สังสารบ้าง ย่อมล่วงทุกข์ในวัฏฏะบ้าง ย่อมบริสุทธิ์
จากมลทิน คือ กิเลสบ้าง แม้ก็จริง แต่เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลไม่มีศรัทธา
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: