星期四, 七月 07, 2011

Laeo

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 78/427/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
จิต ย่อมพยาบาท ย่อมละปกติภาวะ ด้วยธรรมชาตินี้ เช่นกับขนม
กุมมาสบูดเป็นต้น เหตุนั้นธรรมชาตินี้ จึงชื่อว่า พยาปาทะ.
จิตใด ย่อมทำลาย หรือย่อมทำให้เสียหาย หรือย่อมพินาศไป เพราะ
ถึงการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น จิตนั้นจึงชื่อว่า ปโทสะ (คือประทุษร้าย).
คำทั้งสองนี้ เป็นชื่อของความโกรธโดยแท้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า โย พยาปาโท โส ปโทโส โย ปโทโส โส
พยาปาโท (แปลว่า ความพยาบาทอันนั้น ชื่อว่า ความประทุษร้าย ความ
ประทุษร้ายอันนั้น ชื่อว่า ความพยาบาท) ดังนี้ ก็เพราะศัพท์นี้ ท่านยกขึ้น
แสดงแล้ว ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง ฉะนั้น พระองค์
จึงไม่ตรัสว่า สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี แต่ตรัสว่า อพฺยาปนฺนจิตฺโต
เพียงเท่านี้.
ความป่วยแห่งจิต ชื่อว่า ถีนะ. ความป่วยแห่งเจตสิก ชื่อว่า มิทธะ.
ถีนะด้วย มิทธะด้วย เรียกว่า ถีนมิทธะ.
สองบทว่า สนฺตา โหนฺติ (แปลว่า สงบ) ได้แก่ ธรรมทั้งสอง
คือถีนมิทธะเหล่านั้น ชื่อว่า สงบลงแล้ว เพราะความสงบลงด้วยนิโรธ. ในที่นี้
ท่านทำการแยกถ้อยคำไว้ โดยหมายเอาถีนมิทธะนี้.
คำว่า อาโลกสญฺญี (แปลว่า มีอาโลกสัญญา) ได้แก่ ผู้ประกอบ
ด้วยสัญญาอันบริสุทธิ์ ซึ่งมีนิวรณ์ไปปราศแล้วอาทิผิด อักขระ เพื่อสามารถอันจำอาโลกะ
อันตนเห็นแล้วในเวลาราตรีบ้าง ในเวลากลางวันบ้าง.
คำว่า สโต สมฺปชาโน (แปลว่า มีสติสัมปชัญญะ) ได้แก่ ผู้
ประกอบด้วยสติ และญาณ. ก็คำว่า จตฺตตฺตา (แปลว่า เพราะความที่ถีน-
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: