Phahittha
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 33/269/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ในบทว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ นี้ รูปฌานที่เกิดด้วยอำนาจ
นีลกสิณเป็นต้น ที่ผมเป็นต้นในภายใน ชื่อว่า รูป. ชื่อว่า รูปี เพราะ
อรรถว่าเขามีรูปฌานนั้น. บทว่า พหิทฺธาอาทิผิด อักขระ รูปานิ ปสฺสติ ความว่า
ย่อมเห็นรูปมีนีลกสิณเป็นต้นภายนอก ด้วยฌานจักษุ. ด้วยบทนี้ ท่าน
แสดงรูปาวจรอาทิผิด อักขระฌานแม้ทั้ง ๔ ของบุคคลผู้ทำฌานให้เกิดในกสิณอันเป็น
วัตถุภายในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺตํ อรูปสญฺญี ความว่า ไม่มี
ความเข้าใจรูปภายใน คือ รูปาวจรฌานอันไม่เกิดที่ผมเป็นต้นของตน.
ด้วยบทนี้ ท่านแสดงรูปาวจรฌานของบุคคลผู้กระทำบริกรรม ( กสิณ )
ในภายนอกแล้วทำฌานให้เกิด ( ที่กสิณ ) ในภายนอกนั่นแหละ.
ด้วยบทว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ นี้ ท่านแสดงฌานใน
วัณณกสิณมีนีลกสิณเป็นต้นอันบริสุทธิ์. ในฌานเหล่านั้น ความคำนึงว่า
งาม ย่อมไม่มีในภายในอัปปนาก็จริง ถึงอย่างนั้น ภิกษุใดทำความงาม
อันบริสุทธิ์ดีให้เป็นอารมณ์ของกสิณอยู่ เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นจะต้องถูก
เรียกว่า เป็นผู้น้อมใจไปว่า งาม เพราะฉะนั้น จึงตรัสเทศนาอย่างนั้น.
ก็ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ
เป็นผู้น้อมใจไปว่า งามอย่างไร. ภิกษุในพระศาสนานี้ มีจิตสหรคต
ด้วยเมตตา ฯลฯ แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์
ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่ารังเกียจ. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา
แผ่ไป ฯ ล ฯ ตลอดทิศหนึ่งอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา
สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่ารังเกียจ, ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นผู้
น้อมใจว่างามอย่างนี้ ด้วยประการดังกล่าวนี้. คำใดที่จะพึงกล่าวในบทว่า
สพฺพโส รูปสญฺญานํ เป็นต้น คำทั้งหมดแม้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วใน
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论