Phatthiya
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 44/263/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
บุตรของ เมณฑกเศรษฐี ในภัททิยนคร. ก็ในเวลาที่นางเกิด ชนทั้งหลาย
ได้ขนานนามของเธอว่า วิสาขา. ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ภัททิยอาทิผิด อักขระนคร เธอพร้อมด้วยทาริกา ๕๐๐ คน ไปต้อนรับพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ได้เป็นพระโสดาบัน เพราะการได้เฝ้าครั้งแรกนั่นเอง.
ครั้นภายหลัง เธอไปยังคฤหาสน์ของ ปุณณวัฒนกุมาร ผู้เป็นบุตร
ของมิคารเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี มิคารเศรษฐีผู้เป็นพ่อผัวตั้งเธอไว้ใน
ฐานะเป็นมารดา โดยเป็นผู้มีอุปการะในคฤหาสน์นั้น. เพราะฉะนั้น เขา
จึงขนานนามว่า มิคารมารดา. เธอสละเครื่องประดับ ชื่อว่า มหาลดา
ของตนโดยใช้ทรัพย์ ๙ โกฏิสร้างปราสาทประดับไว้ ๑,๐๐๐ ห้อง คือพื้น
ชั้นบน ๕๐๐ ห้อง พื้นชั้นล่าง ๕๐๐ ห้อง ณ พื้นที่ประมาณ ๑ กรีส
เพื่อเป็นที่ประทับและเป็นที่อยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในปราสาทของมิคารมารดา.
บทว่า โกจิเทว อตฺโต แปลว่า ประโยชน์บางอย่าง. บทว่า รญฺเญ
แปลว่า พระราชา. บทว่า ปฏิพทฺโธ แปลว่า เนื่องถึงกัน. พวกญาติของ
นางวิสาขาส่งสิ่งของเช่นนั้น อันวิจิตรด้วยแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น
จากตระกูลญาติไปเพื่อเป็นบรรณาการแก่นาง. สิ่งของนั้นพอถึงประตูเมือง
พวกเก็บส่วยจึงเก็บส่วย ณ ที่นั้น แต่ไม่เก็บให้พอควรแก่สิ่งของนั้น เก็บ
เอาเกินไป. นางวิสาขาได้ฟังดังนั้น ประสงค์จะทูลความนั้นแก่พระราชา
จึงได้ไปยังพระราชนิเวศน์พร้อมด้วยบริวารพอสมควร, ขณะนั้น พระ-
ราชาพร้อมด้วยพระนางมัลลิกาเทวี ได้เสด็จไปภายในพระตำหนัก, นาง
วิสาขาเมื่อไม่ได้โอกาส จึงคิดว่า เราจักได้ในบัดนี้ เราจักได้ในบัดนี้
เป็นผู้ขาดการบริโภคอาหารเพราะเลยเวลาบริโภค จึงหลีกไป. แม้นางจะ
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论