星期一, 十一月 27, 2017

Akan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/395/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คือมองดูประตูเรือน. บทว่า อุทฺธํ โอโลเกนฺโต แลดูข้างบน คือแหงน
หน้ามองดูเบื้องบน. บทว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา เห็นรูปด้วยจักษุ คือ
เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณอันสามารถเห็นรูป ที่เรียกว่าจักษุด้วยอำนาจของ
เหตุ. แต่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า จักษุไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจิต
จิตไม่เห็นรูป เพราะไม่มีจักษุ ย่อมเห็นด้วยจิตอันมีปสาทจักษุกระทบ
อารมณ์ทางทวาร. ก็กถาเช่นนี้ชื่อว่าสสัมภารกถา (กล่าวรวมกัน ) ดุจใน
ประโยคมีอาทิว่า ยิงด้วยธนูเพราะฉะนั้น ความในข้อนี้จึงมีว่า เห็นรูป
ด้วยจักษุวิญญาณ. บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี เป็นผู้ถือนิมิต คือถือนิมิตหญิง
และชาย หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส มีสุภนิมิตเป็นต้นด้วยอำนาจ
ฉันทราคะ. เพียงเห็นเท่านั้นนิมิตไม่ปรากฏ. บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี
ถืออนุพยัญชนะ คือถืออาการอันอาทิผิด ต่างด้วยมือ เท้า หัวเราะ ขบขัน พูด
ชำเลืองดูและการเหลียวดูเป็นต้น เรียกว่าอนุพยัญชนะเพราะทำให้ปรากฏ
โดยเป็นเหตุให้กิเลสทั้งหลายปรากฏ. พึงทราบความในบทว่า ยตฺวาธิ-
กรณเมนํ เป็นต้น ดังต่อไปนี้. ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้
พึงครอบงำติดตามบุคคลนั้นผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ด้วยประตูคือสติ ผู้ไม่ปิด
จักษุทวารอันเป็นเหตุแห่งการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ บทว่า ตสฺส สํวรายอาทิผิด
น ปฏิปชฺชติ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ คือย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ
ปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยประตูคือสติ. ท่านกล่าวว่า ภิกษุเป็นอย่างนี้ ชื่อว่า
ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์บ้าง. ในบทนั้น
การสำรวมหรือไม่สำรวม ย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์โดยแท้. เพราะสติหรือ
การหลงลืมย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย จักษุประสาท อีกอย่างหนึ่ง เมื่อใด
รูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ เมื่อนั้นเมื่อภวังคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไปสองครั้ง
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: