星期二, 十一月 28, 2017

Hong

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 50/144/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
(พ้นจากทาส) แล้วบอกว่า ขอท่านจงบวชตามสบาย ภิกษุทั้งหลายให้เขา
บรรพชาแล้ว. จำเดิมแต่บวชแล้ว เขากลับเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นผู้ที่มีความ-
เพียรเสื่อม ไม่กระทำวัตรปฏิบัติใด ๆ ที่ไหนจะบำเพ็ญสมณธรรมเล่า มุ่งแต่
บริโภคจนเต็มที่ มักมากไปด้วยการนอนอย่างเดียว. แม้ในเวลาฟังธรรม
ก็เข้าไปสู่มุมแห่งหนึ่ง นั่งท้ายบริษัท หลับกรนครอก ๆ ตลอดเวลา. ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูบุรพนิสัยของท่านแล้ว เพื่อจะให้ท่านเกิดความ
สังเวช จึงได้ตรัสพระคาถาว่า
เมื่อใด บุคคลเป็นผู้ง่วงเหงา และกินมาก มัก
นอนหลับ กลิ้งเกลือกไปมา เมื่อนั้น เขาเป็นคนเขลา
ย่อมเข้าห้องอาทิผิด อักขระบ่อย ๆ เหมือนสุกรใหญ่ ที่เขาปรนปรือ
ด้วยเหยื่อ ฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิทฺธี ความว่า เป็นผู้อันถีนะและมิทธะ
ครอบงำแล้ว. อธิบายว่า มิทธะครอบงำผู้ใด แม้ถีนะก็ย่อมครอบงำผู้นั้นด้วย
เหมือนกัน. บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใด.
บทว่า มหคฺฆโส ความว่า บริโภคมาก เหมือนพราหมณ์อาหรหัตถะ
พราหมณ์อลังสาฎกะ พราหมณ์ตัตถวัฏฏกะ พราหมณ์กากมาสกะ พราหมณ์
ภุตตวมิตกะคนใดคนหนึ่ง. บทว่า นิทฺทายิตา แปลว่า ผู้มักหลับ. บทว่า
สมฺปริวตฺตสายี ความว่า นอนกลิ้งไปกลิ้งมา. ท่านแสดงว่า ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งความสุขในการนอน ความสุขในผัสสะ และความสุขในความง่วงเหงา-
หาวนอน แม้ด้วยบททั้งสอง. บทว่า นิวาปปุฏฺโฐ ความว่า อันเขาเลี้ยง
คือ บำรุงเลี้ยง ด้วยสูกรภัต มีรำข้าวเป็นต้น. อธิบายว่า สุกรในเรือนที่เขาเลี้ยง
แต่เวลายังเล็ก ๆ เวลามีร่างกายอ้วนพีไม่ได้ออกไปนอกคอก ย่อมนอนกลิ้ง
ไปมา ในที่ต่าง ๆ มีเตียงข้างล่างเป็นต้น ทีเดียว.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: