星期五, 十一月 17, 2017

Nam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 2/660/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข้อว่า โกญฺจํ กโรนฺตานํ ความว่า ยืนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอาทิผิด สระสอดงวง
เข้าในปากแล้ว ทำเสียงดังนกกระเรียน.
คำว่า สทฺทํ อสฺโสสึ ความว่า เราได้ยินเสียงโกญจนาทนั้น.
ข้อว่า อตฺเถโส ภิกฺขเว สมาธิ โส จ โข อปริสุทฺโธ
ความว่า สมาธินั่นของโมคคัลลานะ มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล เป็นของไม่บริสุทธิ์.
ได้ยินว่า พระเถระ ในวันที่ ๗ แต่เวลาบวช ได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้น
ยังไม่มีวสี (ความชำนาญ) อันประพฤติแล้ว ด้วยอาการ ๕ อย่าง ในสมาบัติ
๘ ยังมิได้ยังธรรมอันเป็นข้าศึกอาทิผิด อักขระต่อสมาธิให้บริสุทธิ์ด้วยดี นั่งเข้าจตุตถฌานแน่ว
แน่ กระทำให้มีเพียงแต่สัญญาแห่งการนึก การเข้า การตั้งใจ การออก และ
การพิจารณาเท่านั้น ออกจากองค์ฌานแล้ว ได้ยินเสียงแห่งช้างทั้งหลาย ได้
มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราได้ยินเสียงภายในสมาบัติ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สมาธินั่น มีอยู่, แต่สมาธินั้นแล
ไม่บริสุทธิ์.
[เรื่องพระโสภิตะ]
ในเรื่องพระโสภิตะ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ข้อว่า อหํ
อาวุโส ปญฺจกปฺปสตานิ อนุสฺสรามิ ความว่า พระเถระกล่าวว่า เรา
ระลึกชาติได้ ด้วยอาวัชชนจิตเดียว. ก็เมื่อถือเอาความอีกอย่างหนึ่ง การระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในอดีตนั้น ๆ ด้วยอาวัชชนจิตต่าง ๆ กัน โดยลำดับ ของ
พระสาวกทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์ ; เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยกโทษ.
แต่เพราะพระโสภิตะนั้นกล่าวว่า เราระลึกชาติได้ด้วยอาวัชชนจิตเดียว ดังนี้ ;
เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงยกโทษ.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: