星期二, 十二月 05, 2017

Chue

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 65/127/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ความสุขเป็นปทัฏฐาน. พึงเห็นว่า ความตั้งมั่นแห่งใจเหมือนความหยุด
นิ่งของเปลวประทีปในที่สงัดลม ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะอรรถว่า ไม่
หวั่นไหวในความฟุ้งซ่าน.
ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด, รู้ชัดอะไร ? รู้ชัดอริยสัจ
ทั้งหลายโดยนัยเป็นต้นว่า นี้ทุกข์ ดังนี้. ปัญญานั้นมีการแทงตลอดตาม
สภาวะเป็นลักษณะ, หรือมีการแทงตลอดไม่พลาดเป็นลักษณะ, เหมือน
การแทงตลอดของลูกธนูที่ยิงไปด้วยธนูของผู้มีฝีมือ. มีการส่องสว่างซึ่ง
อารมณ์เป็นรส. เหมือนดวงประทีป. มีความไม่ลุ่มหลงเป็นปัจจุปัฏฐาน
เหมือนผู้ชี้แจงอย่างดีแก่ผู้ไปป่า. ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหวในอวิชชา.
บทว่า หิริพลํ โอตฺตปฺปพลํ ความว่า ชื่อว่า หิริพละ เพราะ
อรรถว่า ไม่หวั่นไหวในคนไม่มีหิริ ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะ
อรรถว่า ไม่หวั่นไหวในคนไม่มีโอตตัปปะ.
พรรณนาเนื้อความของบททั้งสองมีดังต่อไปนี้. ชื่อว่า หิริ เพราะ
อรรถว่า ละอายต่อกายทุจริตเป็นต้น. คำว่า หิริ นี้เป็นชื่ออาทิผิด อาณัติกะของความ
ละอาย. ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะอรรถว่า เกรงกลัวต่อกายทุจริตเป็น
ต้นเหล่านั้นแล. คำว่า โอตตัปปะ นี้เป็นชื่อของความหวาดสะดุ้งต่อ
บาป.
เพื่อแสดงการกระทำต่าง ๆ ของหิริและโอตตัปปะเหล่านั้น ท่านเว้น
มาติกานี้ สมุฏฐานที่สำคัญมีความละอายเป็นต้นเป็นลักษณะ ดังนี้เสีย,
กล่าวกถาพิสดารต่อไปนี้ :-
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: