星期四, 十二月 07, 2017

Khinasop

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/161/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๗. ปฐมโกกาลิกสูตร

ว่าด้วยพรหมปรารภพระโกกาลิกภิกษุ

[๕๙๒] สาวัตถีนิทาน.
ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่แล้ว.
ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไปใกล้
ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูองค์ละข้าง.
[๕๙๓] ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมปรารภพระโกกาลิกภิกษุอาทิผิด
ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ใครผู้มีปัญญาในโลกนี้ จะพึง
กำหนดวัดซึ่งพระขีณาสพผู้มีคุณอันใคร ๆ
ประมาณไม่ได้ เราเห็นว่าผู้นั้นไม่มีธุต-
ธรรม เป็นปุถุชน วัดอยู่ซึ่งพระขีณาสพผู้
มีคุณ อันใคร ๆ ประมาณมิได้.

อรรถกถาปฐมโกกาลิกสูตร

ในปฐมโกกาลิกสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปเมยฺยํ ปมินนฺโต ความว่า กำหนดนับบุคคลผู้เป็น
ขีณาสพ ผู้มีคุณอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ อย่างนี้ว่า ศีลมีประมาณเท่านี้
สมาธิมีประมาณเท่านี้ ปัญญามีประมาณเท่านี้. ด้วยคำว่า โกธ วิทฺวา วิกปฺปเย
ความว่า ใครผู้มีปัญญา ผู้มีเมธาในโลกนี้พึงกำหนด ท่านแสดงว่า พระ-
ขีณาสพอาทิผิด อักขระเท่านั้น พึงกำหนดนับพระขีณาสพ. บทว่า นิธุตนฺตํ มญฺเ ความว่า
ก็ผู้ใดเป็นปุถุชน ปรารภจะวัดพระขีณาสพนั้น เรากล่าวผู้นั้นว่า ไม่มีธุตธรรม
คือมีปัญญาต่ำทราม.
จบอรรถกถาปฐมโกกาลิกสูตรที่ ๗
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: