星期日, 十二月 30, 2018

Baek

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/233/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เป็นต้น กำหนดตั้งไว้โดยความเป็นเหตุ จัดแจงอยู่ซึ่งทองและเงิน
เป็นต้น.
ธรรมชาติใด อันสัตว์ทรงไว้ ความว่า ย่อมธำรงไว้ ดุจภาระ
อันบุคคลผู้แบกภาระ แบกอาทิผิด อักขระไปอยู่ฉะนั้น. อนึ่งธาตุนี้ ก็เพียงแค่ทรงไว้
ซึ่งทุกข์เท่านั้น เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ.
อธิบายว่า สังสารทุกข์อันสัตว์ทั้งหลายทรงไว้เสมอด้วยธาตุ
ทั้งหลายอันเป็นเหตุประการหนึ่ง, สังสารทุกข์นั้นอันสัตว์ทรงไว้แล้ว
อย่างนั้น ย่อมตั้งอยู่ สถิตอยู่ในธาตุทั้งหลายเหล่านั้น ประการหนึ่ง
อนึ่ง สำหรับอัตตาของเดียรถีย์ทั้งหลายไม่มีอยู่โดยสภาวะ ฉัน
ใด, ก็แลธาตุทั้งหลายเหล่านี้ จะมีสภาวะฉันนั้นก็หาไม่. แต่ที่เรียกว่า
ธาตุ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน. เหมือน
อย่างว่าส่วนต่าง ๆ ของหินมีหรดาลและมโนศิลาเป็นต้นอันวิจิตรตระ-
การในโลก ก็เรียกว่าธาตุ ฉันใด ธาตุทั้งหลายอันวิจิตรแม้เหล่านี้
ก็เรียกว่าเป็นส่วนที่จะพึงรู้ได้ด้วยญาณ ฉันนั้นแล.
อีกอย่างหนึ่ง ในส่วนทั้งหลายมีรสและโลหิตเป็นต้น กำหนด
ตามลักษณะอันเป็นวิสภาคแก่กันและกัน อันเป็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
กล่าวคือสรีระ ย่อมมีชื่อว่า ธาตุ ฉันใด ในส่วนต่างๆ แห่งอัตภาพ
กล่าวคือเบญจขันธ์แม้เหล่านี้ ก็พึงทราบว่า ชื่อว่า ธาตุ ฉันนั้น.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十二月 27, 2018

Thamlai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/230/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผึ้งถือเอาน้ำผึ้ง. เพราะฉะนั้น โภชนะนั้นจึงถึงความเป็นของละเอียด. ก็โภชนะ
นั้นเป็นวัตถุหยาบสำหรับมนุษย์ ฉะนั้น จึงไม่ถึงความย่อยไปโดยชอบสำหรับ
มนุษย์เหล่านั้น เพราะเป็นวัตถุหยาบนั่นเอง. แต่ผสมพืช ๓ อย่างลงในนมโค
โภชนะนั้นจึงกลายเป็นเจือด้วยของหยาบ. อนึ่ง โภชนะนั้นเป็นวัตถุละเอียด
สำหรับหมู่เทพ เพราะฉะนั้น จึงไม่ถึงความย่อยไปโดยชอบสำหรับเทวดาเหล่า
นั้น เพราะเป็นวัตถุละเอียด. แม้ในท้องของพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสกก็ไม่ย่อย
ไป. แต่พระขีณาสพผู้ได้สมาบัติแปด พึงย่อยไปด้วยอำนาจสมาบัติ. แต่สำหรับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงย่อยไปด้วยเตโชธาตุเกิดแต่กรรมตามปกติอย่างเดียว.
บทว่า อปฺปหริเต แปลว่า ปราศจากของเขียว. ก็ถ้าพึงใส่ลงในหญ้า
เขียว หญ้าทั้งหลายก็จะพึงเน่าด้วยข้าวปายาสที่ละเอียด ธรรมดาพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมไม่ล่วงละเมิดภูตคามสิกขาบท เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
แต่ควรใส่เข้าในที่มีหญ้าต้นใหญ่ ๆ สูงประมาณแค่คอ.
บทว่า อปฺปาณเก ความว่า ด้วยว่าเมื่อใส่ลงในน้ำน้อยที่มีตัวสัตว์
สัตว์ก็จะตาย เพราะน้ำนั้น จึงตรัสอย่างนั้น แต่ที่ใดมีน้ำลึกมาก แม้เมื่อใส่ตั้ง
๑๐๐ ถาด ๑,๐๐๐ ถาด น้ำย่อมไม่เสีย ควรใส่ในน้ำเช่นนั้น. บทว่า โอปิลาเปสิ
ความว่า ให้จมลงพร้อมกับถาดทอง. บทว่า วิจิฏายติ วิฏิจิฏายติ ความว่า
ย่อมทำเสียงอย่างนั้น. ถามว่า ก็นั่นเป็นอานุภาพของข้าวปายาส หรือเป็น
อานุภาพของพระตถาคต. ตอบว่า เป็นอานุภาพของพระตถาคต. ก็พราหมณ์นี้
ให้ข้าวปายาสจมลงแล้ว ก็จะเดินนอกทาง ไม่มายังสำนักพระศาสดา เดินเลยไป.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระดำริว่า พราหมณ์เห็นข้ออัศจรรย์นี้
แล้วจักมาสู่สำนักของเรา เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะทำลายอาทิผิด อักขระการยึดถือมิจฉาทิฏฐิ
ของเขาด้วยพระธรรมเทศนา ให้หยั่งลงในพระศาสนา ให้ดื่มน้ำอมฤตดังนี้
แล้วได้ทรงกระทำอย่างนั้นด้วยกำลังอธิษฐาน.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 十二月 26, 2018

Chapchai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/310/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期二, 十二月 25, 2018

Yamuna

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/108/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒. ยมุนาปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๒๐๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่
ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . .ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
จบยมุนาอาทิผิด อักขระปาจีนนินนสูตรที่ ๒

๓. อจิรวดีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๒๐๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไป
สู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อ
เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
จบอจิรวดีปาจีนนินนสูตรที่ ๓

๔. สรภูปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน
[๒๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่
ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
จบสรภูปาจีนนินนสูตรที่ ๔
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 十二月 22, 2018

Wacha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 10/103/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คำถามและคำตอบอุชชัคฆิกวรรคที่ ๒
[๑๗๗] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
เดินหัวเราะไปในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน
ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี
ถ. ทรงปรารภใคร
ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์
ถ. เพราะเรื่องอะไร
ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์เดินหัวเราะเสียงดังไปในละแวกบ้าน.
มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย
สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจาและจิต.
[๑๗๘] ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
นั่งหัวเราะในละแวกบ้าน ณ ที่ไหน
ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครสาวัตถี
ถ. ทรงปรารภใคร
ต. ทรงปรารภพระฉัพพัคคีย์
ถ. เพราะเรื่องอะไร
ต. เพราะเรื่องที่พระฉัพพัคคีย์นั่งหัวเราะเสียงดังในละแวกบ้าน.
มีบัญญัติ ๑ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วย
สมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กาย วาจาอาทิผิด อักขระ และจิต.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十二月 21, 2018

Phanuat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 63/5/7  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期四, 十二月 20, 2018

Chon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/231/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ลำดับนั้น พระศาสดา ทรงเริ่มปุถุชนปัญจกปัญหา (ปัญหา
มีปุถุชนเป็นที่ ๕) ในระหว่างบริษัท ๑๒ โยชน์ ด้วยพระพุทธประสงค์ว่า
มหาชนจงรู้อานุภาพปัญญาของพระเถระ. ครั้งแรกตรัสถามปุถุชน
ด้วยพุทธประสงค์ว่า โลกิยมหาชน จักกำหนดได้. ชนเหล่าใด ๆ
กำหนดได้ ชนอาทิผิด อักขระเหล่านั้น ๆ ก็ตอบได้. ครั้งที่ ๒ ตรัสถามปัญหาใน
โสดาปัตติมรรค ล่วงวิสัยปุถุชน. ปุถุชนทั้งหลายก็นิ่ง. พระโสดาบัน
เท่านั้นตอบได้. ลำดับนั้นจึงตรัสถามปัญหาในสกทาคามิมรรค
ล่วงวิสัยพระโสดาบัน. พระโสดาบันก็นิ่ง. พระสกทาคามิบุคคล
เท่านั้นตอบได้. ตรัสถามปัญหาในอนาคามิมรรค ล่วงวิสัยแม้ของ
พระสกทาคามิบุคคลเหล่านั้น พระสกทาคามิบุคคลก็นิ่ง. พระอนาคามิ-
บุคคลเท่านั้นตอบได้. ตรัสถามปัญหาในอรหัตมรรค ล่วงวิสัย ของ
พระอนาคามิบุคคล แม้เหล่านั้น. พระอนาคามีก็นิ่ง. พระอรหันต์
เท่านั้นตอบได้. ตั้งแต่เงื่อนปัญหาเบื้องต่ำกว่านั้น ตรัสถามพระสาวก
ผู้รู้ยิ่ง. พระสาวกเหล่านั้นตั้งอยู่ในวิสัยแห่งปฏิสัมภิทาของตน ๆ
ก็ตอบได้. ลำดับนั้นจึงตรัสถามพระมหาโมคคัลลานเถระ. พระสาวก
นอกนั้นก็นิ่งเสีย. พระเถระเท่านั้นตอบได้. ทรงล่วงวิสัยของพระเถระ
แม้นั้น ตรัสถามปัญหาในวิสัยของพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ
ก็นิ่งเสีย. พระสารีบุตรเถระเท่านั้นตอบได้. ทรงล่วงวิสัยแม้ของ
พระเถระ ตรัสถามปัญหาในพุทธวิสัย พระธรรมเสนาบดีแม้นึกอยู่
ก็ไม่สามารถจะเห็น มองดูไปรอบ ๆ คือ ทิศใหญ่ ๔ คือทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศน้อยทั้ง ๔ ก็ไม่สามารถจะ
กำหนดฐานที่เกิดปัญหาได้.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十二月 17, 2018

Matukham

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/224/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถากรรณกัตถลสูตร

กรรณกัตถลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในพระสูตรนั้น คำว่า อุทญฺญายํ(๑) นี้เป็นชื่อของทั้งรัฐ ทั้ง
พระนครนั้นว่า อุทัญญา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอุทัญญานครประทับ
อยู่. บทว่า กณฺณกตฺถเล มิคทาเย ความว่า ในที่ไม่ไกลพระนครนั้น
มีภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง ชื่อว่า กรรณกัตถละ. ภูมิภาคนั้นเขาเรียกกันว่า
มิคทายวัน เพราะทรงพระราชทานไว้เพื่อให้อภัยแก่เนื้อทั้งหลาย. ณ ที่กรรณ-
กัตถลมิคทายวันนั้น. บทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ความว่า ไม่ใช่กิจ
อย่างอื่น เป็นกรณียกิจอย่างที่ได้กล่าวไว้ในสูตรก่อนอาทิผิด อักขระนั่นแหละ. พระภคินี
ทั้งสองนี้คือ พระภคินีพระนามว่า โสมา และพระภคินีพระนามว่า สกุลา
ทรงเป็นประชาบดีของพระราชา. บทว่า ภตฺตาภิหาเร ได้แก่ในที่เสวย
พระกระยาหาร. ก็ที่เสวยพระกระยาหารของพระราชา นางในทุก ๆ คนจะต้อง
ถือทัพพีเป็นต้น ไปถวายงานพระราชา. พระนางทั้งสองนั้น ได้ไปแล้ว โดย
ทำนองนั้น .
บทว่า กึ ปน มหาราชา เป็นคำถามว่า เพราะเหตุไร จึง
ตรัสอย่างนั้น. ตอบว่า เพื่อจะเปลื้องคำครหาพระราชาเสีย. เพราะพวกบริษัท
จะพึงคิดกันอย่างนี้ว่า พระราชานี้เมื่อจะเสด็จมาก็ยังนำข่าวของมาตุคามมาทูล
ด้วย พวกเราสำคัญว่า มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรมดาของตนอาทิผิด อักขระ แต่
พระเจ้าอยู่หัวเอาข่าวของมาตุคามอาทิผิด อักขระมาเห็นจะเป็นทาสของมาตุคามกระมัง แม้
คราวก่อนพระองค์ก็เสด็จมาด้วยเหตุนี้เหมือนกัน ดังนี้ . อนึ่ง พระราชา
นั้นถูกถามแล้วจักทูลถึงเหตุที่มาของตน คำครหาอันนี้จักไม่เกิดขึ้นแก่พระองค์
ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะทรงปลดเปลื้องคำครหาจึงตรัสอย่างนั้น.

๑. ฉ. อุรุญฺญายํ สี. อุชุญฺญายํ.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十二月 14, 2018

Phut

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 2/635/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คำว่า ภณิตสฺส โหติ ความว่า เมื่อกล่าวคำเท็จแล้ว บุคคลนั้น
ย่อมมีความรู้อย่างนี้ว่า เรากล่าวคำเท็จแล้ว. อธิบายว่า เมื่อเธอกล่าวคำที่พึง
กล่าวนั้นแล้ว ย่อมมีความรู้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภณิตสฺส ความว่า ความรู้อย่างนั้น ย่อมมี
แก่บุคคลนั้น ผู้มีคำพูดอันพูดแล้ว คือ มีคำพูดสำเร็จแล้ว . ในองค์แห่ง
สัมปชานมุสาวาทนี้ ท่านแสดงอรรถไว้ดังนี้ว่า ภิกษุใด แม้ในเบื้องต้นก็รู้
อย่างนี้ แม้กำลังกล่าว ก็รู้อยู่, แม้ในภายหลัง ก็รู้อยู่ว่า เรากล่าวเท็จแล้ว
ภิกษุนั้น เมื่อกล่าวว่า เราเข้าปฐมฌาน ดังนี้ ย่อมต้องปาราชิก. แม้ท่าน
แสดงอรรถไว้แล้วก็จริง ถึงอย่างนั้น ในองค์แห่งสัมปชานมุสาวาทนี้ ยังมี
ความแปลกกัน ดังนี้ :-
มีคำถามก่อนว่า เบื้องต้นว่า เราจักพูดมุสา มีอยู่, ส่วนภายหลังว่า
เราจะพูดมุสาแล้ว ไม่มี, จริงอยู่ คนบางคนย่อมลืมคำพูดที่พอพูดอาทิผิด อักขระออกไปทีเดียว
ภิกษุนั้น จะเป็นปาราชิกหรือไม่เป็น ?
คำถามนั้น ท่านแก้ไว้แล้วในอรรถกถาทั้งหลาย อย่างนี้ ว่า ภิกษุคิดว่า
เราจักพูดเท็จ ในชั้นต้น, และเมื่อพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ การไม่รู้ว่า
เราพูดเท็จแล้ว ในชั้นหลัง ไม่อาจจะไม่มี ถึงหากจะไม่มี ก็เป็นปาราชิก
เหมือนกัน. เพราะ ๒ องค์เบื้องต้นนั่นแลเป็นสำคัญ แม้ภิกษุใด ในชั้นต้น
ไม่มีความผูกใจว่า เราจักกล่าวเท็จ แต่เมื่อกล่าว ย่อมรู้ว่า เรากล่าวเท็จ,
แม้เมื่อกล่าวแล้ว ก็รู้อยู่ว่า เรากล่าวเท็จแล้ว ภิกษุนั้น พระวินัยธรไม่พึง
ปรับอาบัติ. เพราะส่วนเบื้องต้นสำคัญกว่า, เมื่อเบื้องต้นนั้นไม่มี ย่อมเป็นอัน
พูดเล่นหรือพูดพลั้งไปก็ได้ ดังนี้แล.
ก็แล ในคำว่า มุสา ภาณิสฺสํ เป็นต้นนี้ ควรละความมีความรู้
อันนั้นและความประชุมพร้อมแห่งความรู้เสีย.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十二月 10, 2018

Sattha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 79/225/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บัดนี้เพื่อจะแสดงอริยสัจจะทั้ง ๔ ในขณะเดียวกัน พระองค์จึงตรัส
คำเป็นต้นว่า “ตถาคตปฺปเวทิตา” แปลว่า ธรรมอันพระตถาคตแทงตลอด
แล้ว . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า “ตถาคตปฺปเวทิตา” ความว่า สัจธรรม
ทั้ง ๔ ที่พระตถาคตประทับ ณ มหาโพธิมณฑลทรงแทงตลอดแล้ว คือ
ทรงทราบแล้ว ได้แก่กระทำให้ปรากฏแล้ว. บทว่า “ธมฺมา” ได้แก่ ธรรม
คือ อริยสัจทั้ง ๔. คำว่า “โว ทิฏฺฐา โหนฺติ” ได้แก่ ธรรมอันคนเห็นดี
แล้ว. คำว่า “โว จริตา” ได้แก่ ประพฤติดีแล้ว. ในธรรมเหล่านั้นอธิบายว่า
ได้แก่ ปัญญาที่ตนประพฤติดีแล้ว . คำว่า “อยํ วุจฺจติ” ได้แก่ บุคคลนี้
คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า ทิฏฐิปัตโต. ก็บุคคลนี้ บรรลุธรรมที่ตนเห็น
แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิปัตโต. ญาณ คือ ปัญญาว่า “ทุกฺขา สงฺ-
ขารา สุโข นิโรโธ” แปลว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข อัน
บุคคลนั้นเห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า ทิฏฺฐิปตฺโต. ทิฏฐิปัตตบุคคลนี้ ก็มี ๖ จำพวก
เหมือนพระอริยบุคคลผู้ชื่อว่า กายสักขี.
จบอรรถกถาทิฏฐิปัตตบุคคล

[๔๔] สัทธาวิมุตตบุคคล บุคคลชื่อว่า สัทธาอาทิผิด อักขระวิมุต เป็น
ไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อม
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้ทุกข์เกิด ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้
ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 十二月 09, 2018

Angkhirot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/90/13  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พญานาคเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงคุณความดี เสด็จเข้าไปแล้ว
ไม่พอใจ จึงบังหวนควันขึ้น.
ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ มีพระทัยดี มีพระทัยไม่ขัด
เคืองทรงบังหวนควันขึ้นในที่นั้น
แต่พญานาคทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้.
ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ ทรงฉลาดในกสิณสมาบัติมี
เตโชธาตุเป็นอารมณ์ ได้ทรงบันดาลไฟต้านทานไว้ในที่นั้น.
เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้นแล้ว โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลวเพลิง
พวกชฎิลกล่าวกันว่า ชาวเรา พระสมณะรูปงามคงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่
ครั้นอาทิผิด ราตรีผ่านไป เปลวไฟของพญานาคไม่ปรากฏ แต่เปลวไฟสีต่างๆ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ยังสถิตอยู่.
พระรัศมีสีต่าง ๆ คือสีเขียว สีแดง สีหงสบาท สีเหลือง สีแก้วผลึก
ปรากฏที่พระกาย พระอังคีรสอาทิผิด อักขระ.
พระพุทธองค์ทรงขดพญานาคไว้ในบาตรแล้ว ทรงแสดงแก่พราหมณ์อาทิผิด อักขระ
ว่า ดูก่อนกัสสป นี่พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเรา
แล้ว.
ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสป เลื่อมใสยิ่งนัก เพราะอิทธิปาฏิหาริย์นี้
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่มหาสมณะ
นิมนต์อยู่ในที่นี้แหละ ข้าพเจ้าจักบำรุงท่าน ด้วยภัตตาหารประจำ.
ปฏิหาริย์ที่ ๑ จบ
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十二月 07, 2018

Wara

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 89/220/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๒. อารัมมณปัจจัย
[๒๐๘] ๑. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ เหมือนจิตตสมุฏฐานทุกะ ไม่มี
ต่างกัน.
๓. อธิปติปัจจัย
[๒๐๙] ๑. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ อารัมมณาธิปติก็ดี สหชาตาธิปติก็ดี
พึงกระทำ.
๔. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่จิตตสหภูธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระอาทิผิด อักขระ
อารัมมณาธิปติก็ดี สหชาตาธิปติก็ดี พึงกระทำแก่ธรรมทั้ง ๓ วาระแม้เหล่านี้.
แม้ปัญหา ๙ ข้อ ก็เหมือนจิตตสมุฏฐานทุกะ ในบทปลาย ๓ วาระ
เป็นอารัมมณาธิปติอย่างเดียว.

๔. อนันตรปัจจัย ฯลฯ ๙. อุปนิสสยปัจจัย
[๒๑๐] ๑. จิตตสหภูธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสหภูธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ เหมือนจิตตสมุฏฐานทุกะ ไม่มี
ต่างกัน.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ.
เหมือนกับปฏิจจวาระ.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十二月 06, 2018

Thotsaphon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 73/216/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผิว่าพวกเราจะพลาดคำสอน ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อพระ-
พักตร์ของพระโลกนาถพระองค์นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำพลาดท่าน้ำเฉพาะ
หน้าแล้ว ก็ถือเอาท่าน้ำท่าหลังข้ามแม่น้ำฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่าพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้
เสีย ในอนาคตกาล ก็จักอยู่ต่อพระพักตร์ของพระ
ชินเจ้าพระองค์นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระทีปังกรทศพลอาทิผิด  ผู้รู้จักโลก ทรงเป็นปฏิคาหก
ผู้รับของบูชา ทรงประกาศกรรมของเราแล้ว ก็ทรง
ยกพระบาทเบื้องขวา.
พุทธชิโนรสทั้งหมด ที่อยู่ ณ ที่นั้น ก็พากันทำ
ประทักษิณเรา เทวดา มนุษย์และอสูรทั้งหลายก็กราบ
ไหว้แล้วหลีกไป.
เมื่อพระโลกนาถพร้อมทั้งพระสงฆ์ เสด็จลับตา
เราไปแล้ว ครั้งนั้น เราก็ลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิ.
เราประสบสุขโดยสุข เบิกบานโดยปราโมช อัน
ปีติสัมผัสซาบซ่านแล้ว นั่งขัดสมาธิในเวลานั้น.
ครั้นนั่งขัดสมาธิแล้ว เวลานั้น เราคิดอย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงฝั่งในอภิญญา ๕.
ในหมื่นโลกธาตุ ไม่มีฤๅษีที่จะเสมอเรา ไม่มีผู้
เสมอในอิทธิธรรมทั้งหลาย เราได้ความสุขเช่นนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 十二月 04, 2018

Ahan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 70/214/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ได้อัตภาพเป็นพระเวสสันดร จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในภพดุสิต.
จุติจากภพดุสิตนั้นด้วยการอาราธนาของเหล่าเทวดา บังเกิดในสักยตระกูล
เพราะญาณแก่กล้าจึงละทิ้งราชสมบัติในสกลชมพูทวีปเสีย แล้วตัดกำ
พระเกศาให้มีปลายเสมอกัน ด้วยดาบที่ลับไว้อย่างดี ที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานที
รับบริขาร ๘ อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ซึ่งเกิดขึ้นกลีบปทุม ในเวลาที่กัปยังตั้ง
อยู่ซึ่งพระพรหมนำมาให้แล้วบรรพชา เพราะญาณทัสสนะคือพระโพธิ-
ญาณยังไม่แก่กล้าก่อน จึงไม่รู้จักทางและมิใช่ทางแห่งความเป็นพระ-
พุทธเจ้า เป็นผู้มีสรีระเช่นกับเปรตผู้ไม่มีเนื้อและเลือด เหลือแต่กระดูก
หนังและเอ็น ด้วยอำนาจที่บริโภคอาหารอาทิผิด อักขระมื้อเดียว คำเดียว เป็นผู้เดียว
ทางเดียว และนั่งผู้เดียว บำเพ็ญทุกรกิริยามหาปธานความเพียรใหญ่
โดยนัยดังกล่าวไว้ในปธานสูตรนั่นแล ณ อุรุเวลาชนบทถึง ๖ พรรษา.
พระโพธิสัตว์นั้นนึกถึงทุกรกิริยานี้ว่า ไม่เป็นทางแห่งการตรัสรู้ จึงกลับ
เสวยอาหารประณีตในคาม นิคม และราชธานี มีอินทรีย์ผ่องใส มี
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ครบบริบูรณ์ เสด็จเข้าไปยังโพธิมัณฑ์โดยลำดับ
ชนะมารทั้ง ๕ ได้เป็นพระพุทธเจ้า.
ก็ในกาลนั้น เราได้เป็นพราหมณ์ชื่อ โชติปาละ ได้กล่าว
กะพระกัสสปสุคตเจ้าว่า การตรัสรู้ของสมณะโล้นจักมีมาอาทิผิด อักขระแต่
ไหน การตรัสรู้เป็นของได้ยากยิ่ง.
เพราะวิบากของกรรมนั้น เราจึงต้องทำทุกรกิริยามากมาย
อยู่ที่ตำบลอุรุเวลาถึง ๖ ปี จากนั้น จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ.
เราไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุดโดยหนทางนั้น เรา
ถูกกรรมเก่าห้ามไว้ จึงได้แสวงหาโดยทางผิด.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 十二月 03, 2018

Yaep Khai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 17/154/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

星期日, 十二月 02, 2018

Suk Sai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/571/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เรานี้แลมีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่บิดามารดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุก
และขนมสดไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็น
ธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูก่อนอุทายี
เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจีย-
ระไนดีแล้ว สุกใสอาทิผิด สระ แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวล
ร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณา
เห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไน
ดีแล้ว สุกใส แวววาวสมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวล
ร้อยอยู่ในนั้นฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้น ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เรา
บอกแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้อง
นวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้
ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อม
รู้ชัดอย่างนี้แล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่ง
อภิญญาอยู่.
[๓๔๘] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกาย
นี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูก่อน
อุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่าง
นี้ว่า นี้ไส้ นี้หญ้าปล้อง หญ้าปล้องก็อย่างหนึ่ง ไส้ก็อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออก
จากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 十一月 30, 2018

Phiksu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/230/8  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
หรือเหยียบด้วยฝ่ามือฝาเท้า ควรอยู่. เตียงตั่งกระทบกายของภิกษุผู้กำลังขนไป
ไม่เป็นอาบัติ.
[ว่าด้วยสังภัต]
ข้อว่า น สกฺโกนติ สงฺฆภตฺตํ กาตุํ มีความว่า ก็แลชนทั้งหลาย
ไม่สามารถทำภัต เพื่อสงฆ์ทั้งมวลได้.
วินิจฉัยในคำว่า อิจฺฉนฺติ อุท เทสภตฺตํ เป็นต้น พึงทราบ
ดังนี้:-
ชนทั้งหลายปรารถนาจะทำภัต เพื่อภิกษุอาทิผิด ที่ตนได้ ด้วยการเจาะจง
อย่างนี้ว่า ขอท่านจงให้ภิกษุรูป ๑ หรือ ๒ รูป ฯลฯ หรือ ๑๐ รูปเจาะจง
จากสงฆ์.
ชนอีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะกำหนดจำนวนภิกษุอย่างนั้นเหมือนกัน
นิมนต์แล้วทำภัตเพื่อภิกษุเหล่านั้น.
อีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะกำหนดสลาก นิมนต์แล้วทำภัตเพื่อภิกษุ
เหล่านั้น.
อีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะทำภัตเพื่อภิกษุรูป ๑ หรือ ๒ รูป ฯลฯ
หรือ ๑๐ รูป กะไว้อย่างนี้ว่า ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต ภัตมี
ประมาณเท่านี้ ได้โวหารนี้ว่า อุทเทสภัต นิมันตนภัต ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง แม้หากว่าชนเหล่านั้น ไม่สามารถจะทำสังฆภัตได้ในคราว
ทุพภิกขภัย, แต่จักสามารถทำสังฆภัตได้อีกในคราวมีภิกษาหาได้ง่าย ; เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงรวมแม้ซึ่งสังฆภัตนั้น ไว้ในจำนวนด้วย ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆภัต อุทเทสภัต ดังนี้เป็นต้น .
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 十一月 29, 2018

Kan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 47/221/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปานนี้ใด พึงเป็นผู้มีการงานเศร้าหมอง สิ้นกาลนานเหมือนหลุมคูถ เป็น
บุคคลที่เต็มไปด้วยบาป เพราะเพียบพร้อมไปด้วยคูถคือบาป ก็บุคคลเห็น
ปานนี้นั้น ผู้มีการงานอันเศร้าหมอง เป็นผู้ชำระให้สะอาดได้โดยยาก แม้จะ
เสวยวิบากแห่งกิเลส (เพียงดังนั้น) นั้น สิ้นกาลอาทิผิด อักขระนาน ก็หาบริสุทธิ์ได้ไม่
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ภิกษุเช่นนั้นนั่นแลละไปแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์
สิ้นกาลนาน แม้ประมาณมิได้โดยการนับปี.
อีกอย่างหนึ่ง ในคาถานี้มีสัมพันธ์ดังต่อไปนี้.
ในบาทพระคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุผู้เช่นนั้นแล
ละไปแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์ ดังนี้ จะพึงมีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็ภิกษุนี้
ท่านทั้งหลายสามารถจะกระทำโดยประการที่ละไปแล้วจะไม่เข้าถึงทุกข์ได้หรือไม่
ตอบว่า ไม่สามารถ
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะภิกษุนี้เปรียบเหมือนหลุมคูถที่เต็มอยู่นานปี ก็พึงเป็น
หลุมที่เต็มด้วยคูถ ดังนี้.
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงไว้ก่อนทีเดียวว่า ภิกษุทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงรู้จักบุคคลเห็นปานนั้นผู้อาศัยเรือน คือว่าพึงทราบบุคคลเห็น
ปานนั้นผู้อาศัยกามคุณทั้ง ๕ ผู้ชื่อว่ามีความปรารถนาลามก เพราะประกอบ
ด้วยความปรารถนาลามก อันเป็นไปโดยอาการคือการปรารถนาคุณที่ไม่มีจริง
ผู้ชื่อว่ามีความดำริชั่ว เพราะประกอบด้วยความดำริทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น
ผู้ชื่อว่ามีความประพฤติชั่ว เพราะประกอบด้วยความประพฤติชั่ว มีการประพฤติ
 
พระปิฎกธรรม