Matukham
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 21/224/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อรรถกถากรรณกัตถลสูตร
กรรณกัตถลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในพระสูตรนั้น คำว่า อุทญฺญายํ(๑) นี้เป็นชื่อของทั้งรัฐ ทั้ง
พระนครนั้นว่า อุทัญญา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอุทัญญานครประทับ
อยู่. บทว่า กณฺณกตฺถเล มิคทาเย ความว่า ในที่ไม่ไกลพระนครนั้น
มีภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง ชื่อว่า กรรณกัตถละ. ภูมิภาคนั้นเขาเรียกกันว่า
มิคทายวัน เพราะทรงพระราชทานไว้เพื่อให้อภัยแก่เนื้อทั้งหลาย. ณ ที่กรรณ-
กัตถลมิคทายวันนั้น. บทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ความว่า ไม่ใช่กิจ
อย่างอื่น เป็นกรณียกิจอย่างที่ได้กล่าวไว้ในสูตรก่อนอาทิผิด อักขระนั่นแหละ. พระภคินี
ทั้งสองนี้คือ พระภคินีพระนามว่า โสมา และพระภคินีพระนามว่า สกุลา
ทรงเป็นประชาบดีของพระราชา. บทว่า ภตฺตาภิหาเร ได้แก่ในที่เสวย
พระกระยาหาร. ก็ที่เสวยพระกระยาหารของพระราชา นางในทุก ๆ คนจะต้อง
ถือทัพพีเป็นต้น ไปถวายงานพระราชา. พระนางทั้งสองนั้น ได้ไปแล้ว โดย
ทำนองนั้น .
บทว่า กึ ปน มหาราชา เป็นคำถามว่า เพราะเหตุไร จึง
ตรัสอย่างนั้น. ตอบว่า เพื่อจะเปลื้องคำครหาพระราชาเสีย. เพราะพวกบริษัท
จะพึงคิดกันอย่างนี้ว่า พระราชานี้เมื่อจะเสด็จมาก็ยังนำข่าวของมาตุคามมาทูล
ด้วย พวกเราสำคัญว่า มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรมดาของตนอาทิผิด อักขระ แต่
พระเจ้าอยู่หัวเอาข่าวของมาตุคามอาทิผิด อักขระมาเห็นจะเป็นทาสของมาตุคามกระมัง แม้
คราวก่อนพระองค์ก็เสด็จมาด้วยเหตุนี้เหมือนกัน ดังนี้ . อนึ่ง พระราชา
นั้นถูกถามแล้วจักทูลถึงเหตุที่มาของตน คำครหาอันนี้จักไม่เกิดขึ้นแก่พระองค์
ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะทรงปลดเปลื้องคำครหาจึงตรัสอย่างนั้น.
๑. ฉ. อุรุญฺญายํ สี. อุชุญฺญายํ.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论