星期日, 十二月 30, 2018

Baek

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/233/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เป็นต้น กำหนดตั้งไว้โดยความเป็นเหตุ จัดแจงอยู่ซึ่งทองและเงิน
เป็นต้น.
ธรรมชาติใด อันสัตว์ทรงไว้ ความว่า ย่อมธำรงไว้ ดุจภาระ
อันบุคคลผู้แบกภาระ แบกอาทิผิด อักขระไปอยู่ฉะนั้น. อนึ่งธาตุนี้ ก็เพียงแค่ทรงไว้
ซึ่งทุกข์เท่านั้น เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ.
อธิบายว่า สังสารทุกข์อันสัตว์ทั้งหลายทรงไว้เสมอด้วยธาตุ
ทั้งหลายอันเป็นเหตุประการหนึ่ง, สังสารทุกข์นั้นอันสัตว์ทรงไว้แล้ว
อย่างนั้น ย่อมตั้งอยู่ สถิตอยู่ในธาตุทั้งหลายเหล่านั้น ประการหนึ่ง
อนึ่ง สำหรับอัตตาของเดียรถีย์ทั้งหลายไม่มีอยู่โดยสภาวะ ฉัน
ใด, ก็แลธาตุทั้งหลายเหล่านี้ จะมีสภาวะฉันนั้นก็หาไม่. แต่ที่เรียกว่า
ธาตุ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน. เหมือน
อย่างว่าส่วนต่าง ๆ ของหินมีหรดาลและมโนศิลาเป็นต้นอันวิจิตรตระ-
การในโลก ก็เรียกว่าธาตุ ฉันใด ธาตุทั้งหลายอันวิจิตรแม้เหล่านี้
ก็เรียกว่าเป็นส่วนที่จะพึงรู้ได้ด้วยญาณ ฉันนั้นแล.
อีกอย่างหนึ่ง ในส่วนทั้งหลายมีรสและโลหิตเป็นต้น กำหนด
ตามลักษณะอันเป็นวิสภาคแก่กันและกัน อันเป็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
กล่าวคือสรีระ ย่อมมีชื่อว่า ธาตุ ฉันใด ในส่วนต่างๆ แห่งอัตภาพ
กล่าวคือเบญจขันธ์แม้เหล่านี้ ก็พึงทราบว่า ชื่อว่า ธาตุ ฉันนั้น.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: