Phut
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 2/635/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คำว่า ภณิตสฺส โหติ ความว่า เมื่อกล่าวคำเท็จแล้ว บุคคลนั้น
ย่อมมีความรู้อย่างนี้ว่า เรากล่าวคำเท็จแล้ว. อธิบายว่า เมื่อเธอกล่าวคำที่พึง
กล่าวนั้นแล้ว ย่อมมีความรู้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภณิตสฺส ความว่า ความรู้อย่างนั้น ย่อมมี
แก่บุคคลนั้น ผู้มีคำพูดอันพูดแล้ว คือ มีคำพูดสำเร็จแล้ว . ในองค์แห่ง
สัมปชานมุสาวาทนี้ ท่านแสดงอรรถไว้ดังนี้ว่า ภิกษุใด แม้ในเบื้องต้นก็รู้
อย่างนี้ แม้กำลังกล่าว ก็รู้อยู่, แม้ในภายหลัง ก็รู้อยู่ว่า เรากล่าวเท็จแล้ว
ภิกษุนั้น เมื่อกล่าวว่า เราเข้าปฐมฌาน ดังนี้ ย่อมต้องปาราชิก. แม้ท่าน
แสดงอรรถไว้แล้วก็จริง ถึงอย่างนั้น ในองค์แห่งสัมปชานมุสาวาทนี้ ยังมี
ความแปลกกัน ดังนี้ :-
มีคำถามก่อนว่า เบื้องต้นว่า เราจักพูดมุสา มีอยู่, ส่วนภายหลังว่า
เราจะพูดมุสาแล้ว ไม่มี, จริงอยู่ คนบางคนย่อมลืมคำพูดที่พอพูดอาทิผิด อักขระออกไปทีเดียว
ภิกษุนั้น จะเป็นปาราชิกหรือไม่เป็น ?
คำถามนั้น ท่านแก้ไว้แล้วในอรรถกถาทั้งหลาย อย่างนี้ ว่า ภิกษุคิดว่า
เราจักพูดเท็จ ในชั้นต้น, และเมื่อพูดอยู่ก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ การไม่รู้ว่า
เราพูดเท็จแล้ว ในชั้นหลัง ไม่อาจจะไม่มี ถึงหากจะไม่มี ก็เป็นปาราชิก
เหมือนกัน. เพราะ ๒ องค์เบื้องต้นนั่นแลเป็นสำคัญ แม้ภิกษุใด ในชั้นต้น
ไม่มีความผูกใจว่า เราจักกล่าวเท็จ แต่เมื่อกล่าว ย่อมรู้ว่า เรากล่าวเท็จ,
แม้เมื่อกล่าวแล้ว ก็รู้อยู่ว่า เรากล่าวเท็จแล้ว ภิกษุนั้น พระวินัยธรไม่พึง
ปรับอาบัติ. เพราะส่วนเบื้องต้นสำคัญกว่า, เมื่อเบื้องต้นนั้นไม่มี ย่อมเป็นอัน
พูดเล่นหรือพูดพลั้งไปก็ได้ ดังนี้แล.
ก็แล ในคำว่า มุสา ภาณิสฺสํ เป็นต้นนี้ ควรละความมีความรู้
อันนั้นและความประชุมพร้อมแห่งความรู้เสีย.
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论