星期日, 十二月 02, 2018

Suk Sai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/571/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เรานี้แลมีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่บิดามารดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุก
และขนมสดไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็น
ธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูก่อนอุทายี
เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจีย-
ระไนดีแล้ว สุกใสอาทิผิด สระ แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวล
ร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณา
เห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไน
ดีแล้ว สุกใส แวววาวสมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวล
ร้อยอยู่ในนั้นฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้น ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เรา
บอกแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้อง
นวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้
ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อม
รู้ชัดอย่างนี้แล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่ง
อภิญญาอยู่.
[๓๔๘] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกาย
นี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูก่อน
อุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่าง
นี้ว่า นี้ไส้ นี้หญ้าปล้อง หญ้าปล้องก็อย่างหนึ่ง ไส้ก็อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออก
จากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: