星期三, 二月 28, 2018

Nirot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/59/2  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในขณะนั้น ณ ภูเขาคันธมาทน์มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเข้า
นิโรธอาทิผิด อักขระสมาบัติอยู่ตลอด ๗ วัน ครั้นออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว จึงตรวจดู
สัตวโลกเห็นสังขพราหมณ์กำลังนำทรัพย์มา รำพึงอยู่ว่า มหาบุรุษจะไป
นำทรัพย์มา อันตรายในมหาสมุทร จักมีแก่เขาหรือไม่มีหนอ รู้ว่า จักมี
อันตราย คิดว่ามหาบุรุษผู้นี้เห็นเราจักถวายร่มและรองเท้าแก่เราด้วยอานิ-
สงส์ถวายรองเท้า เมื่อเรือแตกในมหาสมุทรจักได้ที่พึ่ง เราจักอนุเคราะห์
เขา จึงเหาะไปทางอากาศ แล้วลงไม่ไกลสังขพราหมณ์นั้น ครั้นเวลาเที่ยง
ด้วยลมและแดดอันร้อนแรง เหยียบทรายร้อนคล้ายกับลาดไว้ด้วยถ่านไฟ
เดินมาถึงข้างหน้าสังขพราหมณ์นั้น. สังขพราหมณ์เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
นั้น มีความยินดีร่าเริงคิดว่า บุญเขตมาหาเราแล้ววันนี้ เราควรจะหว่านพืช
ในเขตนี้. ด้วยเหตุพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า เราเห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเดินสวนทางมา จึงคิดเนื้อความนี้ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ เขตฺตํ เป็นต้น แสดงอาการคิด. บทว่า
เขตฺตํ ชื่อว่า เขต เพราะป้องกันพืชที่หว่านไปโดยทำให้มีผลมาก คือพื้นที่
ปลูกปุพพัณณชาติ ( เช่นข้าว ข้าวฟ่าง ลูกเดือย เป็นต้น ) และอปรัณ-
ณ ชาติ ( เช่นถั่ว งา เป็นต้น นอกจากข้าว ) ให้งอกงาม. ในที่นี้พระปัจเจก
พุทธเจ้าเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ ชื่อว่าเป็นบุญเขตเพราะเป็นดุจเขต. ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปุญฺกามสฺส ชนฺตุโน ผู้เป็นสัตว์ต้องการบุญ.
บทว่า มหาคมํ คือเป็นที่มาแห่งผลอันไพบูลย์ อธิบายว่า ให้ความสมบูรณ์
แห่งข้าวกล้า. บทว่า พีชํ น โรเปติ คือไม่ปลูกพืช.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 26, 2018

Anchan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   16/3/6  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ด้วยทอง
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียดธุลีละอองจึง
มิได้ติดอยู่ในพระวรกาย
๑๓. มีพระโลมาขุมละเส้น ฯ เสมอไปทุกขุมขน
๑๔. มีพระโลมามีปลายช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียวเหมือนสี
ดอกอัญชันอาทิผิด อักขระ ขดเป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ
๑๕. มีพระวรกายตรงเหมือนกายพรหม
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน คือหลังพระหัตถ์ทั้งสอง
หลังพระบาททั้งสอง จงอยพระอังสาทั้งสอง และ
พระศอ
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ
๑๘. มีระหว่างพระอังสาเต็ม
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระ
วรกายของพระองค์ พระวรกายของพระองค์เท่ากับ
วาของพระองค์
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 25, 2018

Santhan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 59/501/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พอล่วงไปปีที่ ๓ นายสุมังคละได้พาลูกเมียมา. อำมาตย์รู้ว่า พระราชา
มีพระทัยอ่อนลงแล้ว จึงพานายสุมังคละ ไปยืนที่ประตูพระราชวัง แล้ว
กราบทูลพระราชาว่า นายสุมังคละมา. พระราชารับสั่งให้เรียกนาย
สุมังคละมา ทรงทำปฏิสันถารอาทิผิด อักขระ แล้วตรัสว่า สุมังคละ เหตุไรท่านจึง
ฆ่าพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นบุญเขตของเราเสีย ? นายสุมังคละกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์มิได้มีเจตนาฆ่าพระปัจเจก-
พุทธเจ้า ข้าพระองค์เข้าใจผิด คิดว่าเป็นเนื้อจึงได้ยิงไป ดังนี้แล้วได้
กราบทูลเหตุการณ์ที่เป็นมานั้นให้ทรงทราบ. ลำดับนั้น พระราชาทรง
ปลอบโยนเขาว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านอย่ากลัวเลย แล้วตั้งให้เป็นผู้เฝ้า
พระราชอุทยานอีก.
ลำดับนั้น อำมาตย์ได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
เหตุไรพระองค์ แม้ได้ฟังคุณของนายสุมังคละถึง ๒ ครั้ง ก็ไม่ตรัส
อะไร ๆ แต่พอได้ฟังในครั้งที่ ๓ เหตุไรจึงทรงเรียกมาอนุเคราะห์.
พระราชาตรัสว่า แน่ะพ่อ ธรรมดาพระราชากำลังพิโรธ ทำอะไรลง
ไปด้วยความผลุนผลันไม่สมควร ฉะนั้นครั้งก่อน ๆ เราจึงนิ่งเสีย ครั้ง
ที่ ๓ เรารู้ใจของเราว่า ความโกรธนายสุมังคละอ่อนลงแล้ว จึงให้
เรียกเขามา ดังนี้ เมื่อจะทรงแสดงราชวัตร ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ความ
ว่า :-
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 二月 24, 2018

Khan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   35/4/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กิเลสปรินิพพาน (คือดับกิเลส). ทรงจบเทศนาตามลำดับอนุสนธิว่า นี้เป็นการ
ปรินิพพานครั้งแรกของพระศาสดานั้น ณ โพธิมัณฑสถาน. แต่ภายหลังพระองค์
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุดับขันธ์อาทิผิด สระ ณ ระหว่างไม้อาทิผิด อาณัติกะสาละคู่ดังนี้.
อรรถกถาอนุพุทธสูตรที่ ๑
๒. ปปติตสูตร
ว่าด้วยผู้ตกจากพระธรรมวินัย
[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เรียกว่า ผู้ตกจากพระธรรมวินัยนี้ ธรรม ๔ ประการ คืออะไรบ้าง คือ
อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุตติ บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
๔ ประการนี้แล เรียกว่า ผู้ตกจากพระธรรมวินัยนี้.
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เรียกว่า ผู้ไม่ตกจากพระ-
ธรรมวินัยนี้ ธรรม ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริย-
ปัญญา อริยวิมุตติ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เรียกว่า
ผู้ไม่ตกจากพระธรรมวินัยนี้.
(นิคมคาถา)
บุคคลผู้เคลื่อนไป (จากคุณมีอริยศีล
เป็นต้น) ชื่อว่า ตก (จากพระธรรมวินัย)
ผู้ตกแล้ว และยังกำหนัดยินดี ก็ต้องมา
(เกิด) อีก ความสุขย่อมมาถึง ผู้ทำกิจที่
ควรทำแล้ว ยินดีคุณที่ควรยินดีแล้ว โดย
สะดวกสบาย.
จบปปติตสูตรที่ ๒
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 22, 2018

Sangwat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์   5/5/18  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
คนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความ
ขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภอาทิผิด ความ
เพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม
แก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั่นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดี
แห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มภิกษุณีผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่
สำราญแห่งภิกษุณีผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่น
แห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกภิกษุณีจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๕.๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการลูบก็ดี
คลำก็ดี จับก็ดี ต้องก็ดี บีบเคล้นก็ดี ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด
ใต้รากขวัญลงไป เหนือเข่าขึ้นมา แม้ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่อ
อุพภชานุมัณฑลิกา หาสังวาสอาทิผิด อักขระมิได้.
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 二月 20, 2018

Matikamata

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 40/401/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ตนเองทีเดียว.” อุบาสิกาคิดว่า “ ภิกษุผู้บุตรของเราประสงค์จะเห็นเรา
หวังการไปของเราอยู่,” ดังนี้แล้ว จึงให้คนถือโภชนะไปสู่วิหารแล้วได้
ถวายแก่ภิกษุนั้น.
ภิกษุนั้นทำภัตกิจแล้ว ถามว่า “ มหาอุบาสิกา ท่านหรือ ? ชื่อว่า
มาติกอาทิผิด อักขระมาตา.”
อุบาสิกา. ถูกแล้ว พ่อ.
ภิกษุ. อุบาสิกา ท่านทราบจิตของคนอื่นหรือ ?
อุบาสิกา. ถามดิฉันทำไม ? พ่อ.
ภิกษุ. ท่านได้ทำวัตถุทุก ๆ สิ่งที่ฉันคิดแล้วๆ, เพราะฉะนั้น ฉัน
จึงถามท่าน.
อุบาสิกา. พ่อ ภิกษุที่รู้จิตของคนอื่น ก็มีมาก.
ภิกษุ. ฉันไม่ได้ถามถึงคนอื่น, ถาม (เฉพาะตัว) ท่านอุบาสิกา.
แม้เป็นอย่างนั้น อุบาสิกาก็มิได้บอก (ตรง ๆ) ว่า “ ดิฉันรู้จิต
ของคนอื่น ” (กลับ) กล่าวว่า “ ลูกเอ๋ย ธรรมดาคนทั้งหลายผู้รู้จิต
ของคนอื่น ย่อมทำอย่างนั้นได้.”

ภิกษุลาอุบาสิกากลับไปเฝ้าพระศาสดา
ภิกษุนั้นคิดว่า “กรรมนี้หนักหนอ, ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึง
อารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง; ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้วไซร้,
อุบาสิกานี้ ก็พึงยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผม
พร้อมด้วยของกลางฉะนั้น; เราควรหนีไปเสียจากที่นี้” แล้วกล่าวว่า
“ อุบาสิกา ฉันจักลาไปละ.”
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 二月 16, 2018

Rao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/3/13  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มารสังยุต

อรรถกถาตโปอาทิผิด อักขระกรรมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตโปกรรมสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๑ ต่อไป :-
บทว่า อุรุเวลายํ วิหรติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แทงตลอด
พระสัพพัญญุตญาณ ทรงอาศัยหมู่บ้านอุรุเวลาประทับอยู่ บทว่า ปฐมา-
ภิสมฺพุทฺโธ ความว่า ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ภายใน ๗ สัปดาห์แรกนั่นเทียว.
บทว่า ทุกฺกรการิกาย ได้แก่ ด้วยทุกกรกิริยา ที่ทรงทำมาตลอด ๖ ปี.
บทว่า มโร ปาปิมา ความว่า ที่ชื่อว่ามาร เพราะทำเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติ
เพื่อก้าวล่วงวิสัยของตนให้ตาย. ที่ชื่อว่า ปาปิมา เพราะประกอบสัตว์ไว้ใน
บาป หรือประกอบตนเองอยู่ในบาป มารนั้นมีชื่ออื่น ๆ บ้าง มีหลายชื่อ
เป็นต้นว่า กัณหะ อธิปติ วสวัตติ อันตกะ นมุจี ปมัตตพันธุ ดังนี้บ้าง.
แต่ในพระสูตรนี้ระบุไว้ ๒ ชื่อเท่านั้น. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า
พระสมณโคดมนี้บัญญัติว่า เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว จำเราอาทิผิด สระจักกล่าวข้อที่
พระสมณโคดมนั้นยังไม่เป็นผู้หลุดพ้น ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้า.
บทว่า ตโปกมฺมา อปกฺกมฺม แปลว่า หลีกออกจากตบะกรรม
ด้วยบทว่า อปรทฺโธ มารกล่าวว่า ท่านยังห่างไกลจากทางแห่งความหมดจด.
บทว่า อปรํ ตปํ ความว่า ตบะอันเศร้าหมองที่กระทำเพื่อประโยชน์แก่ตบะอาทิผิด สระ
อย่างอื่นอีก เป็นอัตตกิลมถานุโยค ประกอบตนให้ลำบากเปล่า. บทว่า สพฺพํ
นตฺถาวหํ โหติ ความว่า รู้ว่าตบะทั้งหมดไม่นำประโยชน์มาให้เรา. บทว่า
ถิยา ริตฺตํว ธมฺมนิ ความว่า เหมือนถ่อเรือบนบกในป่า. ท่านอธิบายว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 15, 2018

Khum Khon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 80/441/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่ง
การปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่ตนไม่ได้ แก่คนอื่น ๆ ก็ไม่ได้ แก่บุคคลนั้น
ก็ไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไป ซึ่งการ
ปล่อยสุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์.
[๔๕๕ ] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย
สุกกะคืออสุจิแก่พระอรหันต์ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นำเข้าไปทางขุมขนอาทิผิด อักขระ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๕๖] ส. เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารนำเข้าไปซึ่งการปล่อย
สุกกะ คืออสุจิแก่พระอรหันต์ได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เพราะเหตุไร ?
ป. เพราะจะยังท่านให้ตกอยู่ในความสงสัย.
ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๔๕๗] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยในพระศาสดา ความสงสัยในพระ-
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 二月 13, 2018

Khiao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 80/443/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สงสัยในพระศาสดา ฯ ล ฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ
ธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของท่านก็ยังมีอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๔๖๐] ส. ความสงสัยของพระอรหันต์ยังมีอยู่ แต่ความ
สงสัยในพระศาสดา ฯลฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะ
ธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของท่านไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยใน
พระศาสดา ฯ ล ฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม
นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาไม่มี หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสงสัยของปุถุชนมีอยู่ แต่ความสงสัยใน
พระศาสดา ฯ ล ฯ ความสงสัยในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรม
นี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ของเขาไม่มี หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๔๖๑] ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์มีอยู่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การปล่อยสุกกะคืออสุจิของพระอรหันต์เป็นผล
ของอะไร ?
ป. เป็นผลของการกิน การดื่ม การเคี้ยวอาทิผิด อักขระ การลิ้ม
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 12, 2018

Pratu

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/357/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ก็เหมือนกัน. ในบาลี ท่านอภยวาสี ได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่ตั้งประจำ
เพื่อถามปัญหา. ท่านอนุราชวาสี ได้บรรลุพระอรหัต ณ ประตูอาทิผิด อักขระด้านทักษิณ
แห่งนครใกล้ประตูถูปาราม.
ก็พระเถระผู้กล่าวมหาอริยวงศ์กล่าวว่า พวกท่านพูดอะไร ควรจะ
พูดว่า ในที่ที่ปรากฏอาทิผิด อักขระ ตั้งแต่ส่วนล่างของที่บูชาโดยรอบมหาเจดีย์ เท้าทั้งสอง
สามารถจะให้ประดิษฐานเสมอกัน ได้ในที่ใด ๆ ภิกษุทุก ๆ สามหมื่นรูป ได้
บรรลุพระอรหัตในการยกเท้าข้างหนึ่งขึ้น ในที่นั้น ๆ.
แต่พระมหาเถระอีกรูปหนึ่งกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายมากกว่าทรายที่
กระจัดกระจายอยู่ ณ พื้นมหาเจดีย์ ได้บรรลุพระอรหัต. บุคคลเห็น
พระเถระแล้วตั้งอยู่ในโอวาทของท่านเห็นอสุภะยังปฐมฌานให้เกิดในอสุภะนั้น
พิจารณาอสุภะนั้นนั่นแล โดยความสิ้นไปย่อมบรรลุพระอรหัต. เพราะฉะนั้น
การเห็นสิ่งเหล่านี้ จึงมีประโยชน์.
ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความเจริญ แม้โดยอามิส ก็เป็นประโยชน์
เหมือนกัน เพราะอาศัยอามิสนั้น ปฏิบัติเพื่ออาทิผิด สระอนุเคราะห์พรหมจรรย์.
ก็ในการเดินนั้น การกำหนดสิ่งที่สบายและไม่สบายแล้วถือเอาสิ่งที่
สบาย เป็นสัปปายสัมปชัญญะ เช่นการเห็นพระเจดีย์ มีประโยชน์ถึงเพียงนั้น.
หากว่า ชุมชนประชุมกันในระหว่าง ๑๒๐ โยชน์ เพื่อมหาบูชาพระเจดีย์.
สตรีบ้าง บุรุษบ้าง ตกแต่งประดับตามสมควรแก่สมบัติของตนอาทิผิด อักขระ พากันเที่ยว
ไปเหมือนรูปจิตรกรรม.
ก็ในเรื่องนั้น ความโลภในอารมณ์ที่น่าใคร่ ความแค้นในอารมณ์
ที่ไม่น่าใคร่ ความหลงด้วยการไม่สมหวัง ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุนั้น
ย่อมต้องอาบัติอันเป็นกายสังสัคคะ. และเป็นอันตรายอชีวิตพรหมจรรย์.
ฐานะนั้น ย่อมเป็นรานะอันไม่สบาย ด้วยประการฉะนี้. ฐานะเป็นที่สบายใน
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 二月 08, 2018

Chang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/345/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาอานาปานาทิเปยยาลที่ ๗*

อรรถกถาอัฏฐิกสัญญา

พึงทราบวินิจฉัยในอัฏฐิกสัญญา ในอานาปานวรรคที่ ๗ เป็นต้น.
บทว่า อฏฺิกสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า
กระดูก กระดูก ดังนี้. ก็เมื่อเจริญอัฏฐิกสัญญานั้นอยู่ ผิวก็ดี หนังก็ดี
ย่อมปรากฏตลอดเวลาที่นิมิตยังไม่เกิดขึ้น เมื่อนิมิตเกิดขึ้น ผิวและหนังย่อม
ไม่ปรากฏเลย. อนึ่ง โครงกระดูก. ล้วนมีสีดุจสังข์ ย่อมปรากฏ ดังที่ปรากฏ
แก่สามเณรผู้แลดูพระเจ้าติสสะ ผู้ทรงธรรมอยู่บนคอช้างอาทิผิด และแก่พระติสสเถระ
ผู้อยู่ที่เจติยบรรพต ผู้แลดูหญิงกำลังหัวเราะในที่สวนทาง. เรื่องทั้งหลาย
ขยายให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า
เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่.
จบอรรถกถาอัฏฐิกสัญญา

ว่าด้วยปุฬุวกสัญญา
บทว่า ปุฬุวกสญฺ ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า
มีหนอน. แม้ในบทว่า วินีลกสัญญาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน . ส่วนในข้อนี้
เรื่องวินิจฉัยกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคกับนัยภาวนา. พรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น
พึงทราบด้วยอำนาจฌานหมวด ๓-๔. อุเบกขา ด้วยอำนาจฌานที่ ๔ แล.
จบอรรถกถาปุฬุวกสัญญา
* อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๗
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 二月 07, 2018

Akuson

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 90/392/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปัจจัย มี ๙ วาระ ในนกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ ในนวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ
ในนวิปปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ.
สหชาตวาระก็ดี ปัจจยวาระก็ดี นิสสยวาระก็ดี สังสัฏฐวาระก็ดี
สัมปยุตตวาระก็ดี พึงให้พิสดารเหมือนปฏิจจวาระ.

อกุศลบทปัญหาวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๑๑๘๘] ๑. อกุศลธรรมที่เป็นทั้งอาสวะและสาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อกุศลอาทิผิด สระธรรมที่เป็นทั้งอาสวะและสาสวธรรม ด้วยอำนาจของ
เหตุปัจจัย ฯลฯ
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๑๑๘๙] ในเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ.
ปัจจนียนัย
การยกปัจจัยในปัจจนียะ
[๑๑๙๐] ๑. อกุศลธรรมที่เป็นทั้งอาสวะและสาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นทั้งอาสวะและสาสวธรรม ด้วยอำนาจของ
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 二月 06, 2018

Sassata

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/20/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยความเป็นตนอาทิผิด อักขระ เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่า
ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบ
เหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้
เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแล มีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้
ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นเวทนา...โดยความเป็นตน นี้เป็นสัสสตอาทิผิด อักขระทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็น
วัตถุที่ ๑ สัสสตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ
ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ
มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้.
[๓๓๖] อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วย
อาการ ๑๕ เป็นไฉน ?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า...ไม่ได้รับ
แนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นเวทนาโดย
ความเป็นตน เห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นสังขารโดยความเป็นตน เห็น
วิญญาณโดยความเป็นตน.
ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความ
เป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมัน
ลุกโพลงอยู่ ฯลฯ นี้เป็นอุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุที่ ๑ อุจเฉททิฏฐิ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 二月 05, 2018

Kasin

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/19/8  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็น
สัปบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ
ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็น
ตนในรูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน
บ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง.
ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณอาทิผิด อักขระ ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความ
เป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด
เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน
ลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเห็น
โอทาตกสิณโดยความเป็นตน ทิฏฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ฯลฯ
นี้เป็นสักกายทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ สักกายทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้
เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ
สักกายทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.
[๓๓๕] สัสสตทิฏฐิมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ
๑๕ เป็นไฉน ?
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า...ไม่ได้รับ
แนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็น
ตนในรูปบ้าง เห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง เห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง เห็นตนว่ามี
สังขารบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนใน
วิญญาณบ้าง.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 二月 04, 2018

Damnoen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/45/21  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของโพธิราชกุมาร เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ ครั้นมาณพสัญชิกาบุตรทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาแล้วลุกจากที่นั่งอาทิผิด อักขระเข้าไปเฝ้าโพธิราชกุมาร
แล้วทูลว่า เกล้ากระหม่อมได้กราบทูลท่านพระโคดมนั้นตามรับสั่งของพระองค์
แล้วว่า โพธิราชกุมาร ขอถวายบังคมพระบาทของท่านพระโคดมผู้เจริญด้วย
เศียรเกล้า ทูลถามถึงพระประชวรเบาบาง พระโรคน้อย ทรงกระปรี้กระเปร่า
พระกำลัง ทรงพระสำราญ และกราบอาทิผิด อักขระทูลอย่างนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของโพธิราชกุมาร เพื่อเสวยในวัน
พรุ่งนี้ ก็แลพระสมณโคดมทรงรับอาราธนาแล้ว..
[๑๒๑] ครั้นล่วงราตรีนั้น โพธิราชกุมารรับสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยว
ของฉันอันประณีตแลรับสั่งให้ปูลาดโกกนุทปราสาทด้วยผ้าขาวตราบเท่าถึงบันได
ขั้นอาทิผิด สระที่สุดแล้วรับสั่งกะมาณพสัญชิกาบุตรว่า พ่อสหายสัญชิกาบุตร เธอจงไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้เวลาแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จ แล้ว มาณพสัญชิกาบุตรรับคำสั่งอาทิผิด โพธิราชกุมาร
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
[๑๒๒] ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกอาทิผิด
แล้วทรงถือบาตรจีวร เสด็จเข้าสู่นิเวศน์ของโพธิราชกุมาร ก็แลเวลานั้น โพธิ-
ราชกุมารกำลังประทับรอพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ที่ซุ้มอาทิผิด อักขระพระทวารชั้นนอก ได้
ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกลอาทิผิด อาณัติกะ ครั้นแล้วเสด็จ
รับแต่ที่ไกลนั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จไปข้างหน้า ทรงดำเนินอาทิผิด อักขระ
ไปทางโกกนุทปราสาท พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทับยืนอยู่ใกล้บันไดขั้นแรก.
 
พระปิฎกธรรม