星期五, 二月 16, 2018

Rao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 25/3/13  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มารสังยุต

อรรถกถาตโปอาทิผิด อักขระกรรมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตโปกรรมสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๑ ต่อไป :-
บทว่า อุรุเวลายํ วิหรติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แทงตลอด
พระสัพพัญญุตญาณ ทรงอาศัยหมู่บ้านอุรุเวลาประทับอยู่ บทว่า ปฐมา-
ภิสมฺพุทฺโธ ความว่า ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ภายใน ๗ สัปดาห์แรกนั่นเทียว.
บทว่า ทุกฺกรการิกาย ได้แก่ ด้วยทุกกรกิริยา ที่ทรงทำมาตลอด ๖ ปี.
บทว่า มโร ปาปิมา ความว่า ที่ชื่อว่ามาร เพราะทำเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติ
เพื่อก้าวล่วงวิสัยของตนให้ตาย. ที่ชื่อว่า ปาปิมา เพราะประกอบสัตว์ไว้ใน
บาป หรือประกอบตนเองอยู่ในบาป มารนั้นมีชื่ออื่น ๆ บ้าง มีหลายชื่อ
เป็นต้นว่า กัณหะ อธิปติ วสวัตติ อันตกะ นมุจี ปมัตตพันธุ ดังนี้บ้าง.
แต่ในพระสูตรนี้ระบุไว้ ๒ ชื่อเท่านั้น. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า
พระสมณโคดมนี้บัญญัติว่า เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว จำเราอาทิผิด สระจักกล่าวข้อที่
พระสมณโคดมนั้นยังไม่เป็นผู้หลุดพ้น ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้า.
บทว่า ตโปกมฺมา อปกฺกมฺม แปลว่า หลีกออกจากตบะกรรม
ด้วยบทว่า อปรทฺโธ มารกล่าวว่า ท่านยังห่างไกลจากทางแห่งความหมดจด.
บทว่า อปรํ ตปํ ความว่า ตบะอันเศร้าหมองที่กระทำเพื่อประโยชน์แก่ตบะอาทิผิด สระ
อย่างอื่นอีก เป็นอัตตกิลมถานุโยค ประกอบตนให้ลำบากเปล่า. บทว่า สพฺพํ
นตฺถาวหํ โหติ ความว่า รู้ว่าตบะทั้งหมดไม่นำประโยชน์มาให้เรา. บทว่า
ถิยา ริตฺตํว ธมฺมนิ ความว่า เหมือนถ่อเรือบนบกในป่า. ท่านอธิบายว่า
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: