星期四, 二月 08, 2018

Chang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 30/345/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาอานาปานาทิเปยยาลที่ ๗*

อรรถกถาอัฏฐิกสัญญา

พึงทราบวินิจฉัยในอัฏฐิกสัญญา ในอานาปานวรรคที่ ๗ เป็นต้น.
บทว่า อฏฺิกสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า
กระดูก กระดูก ดังนี้. ก็เมื่อเจริญอัฏฐิกสัญญานั้นอยู่ ผิวก็ดี หนังก็ดี
ย่อมปรากฏตลอดเวลาที่นิมิตยังไม่เกิดขึ้น เมื่อนิมิตเกิดขึ้น ผิวและหนังย่อม
ไม่ปรากฏเลย. อนึ่ง โครงกระดูก. ล้วนมีสีดุจสังข์ ย่อมปรากฏ ดังที่ปรากฏ
แก่สามเณรผู้แลดูพระเจ้าติสสะ ผู้ทรงธรรมอยู่บนคอช้างอาทิผิด และแก่พระติสสเถระ
ผู้อยู่ที่เจติยบรรพต ผู้แลดูหญิงกำลังหัวเราะในที่สวนทาง. เรื่องทั้งหลาย
ขยายให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า
เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่.
จบอรรถกถาอัฏฐิกสัญญา

ว่าด้วยปุฬุวกสัญญา
บทว่า ปุฬุวกสญฺ ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า
มีหนอน. แม้ในบทว่า วินีลกสัญญาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน . ส่วนในข้อนี้
เรื่องวินิจฉัยกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคกับนัยภาวนา. พรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น
พึงทราบด้วยอำนาจฌานหมวด ๓-๔. อุเบกขา ด้วยอำนาจฌานที่ ๔ แล.
จบอรรถกถาปุฬุวกสัญญา
* อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๗
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: