星期六, 六月 30, 2018

Sathan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/173/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๕. ปฐมโยธาชีวสูตร
ว่าด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวก
[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน
โลก ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้น
เท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ นักรบ
อาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.
อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็
อดทนได้ แต่พอเห็นยอดธงข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทก-
สะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ นักรบอาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้
เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.
อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อด
ทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของ
ข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้านอาทิผิด อาณัติกะ ไม่สามารถเข้ารบได้
นักรบอาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่
ในโลก.
อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็
อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึก
ก็อดทนได้ แต่ว่าย่อมขลาดสะดุ้งต่อการสัมปหารของข้าศึก นักรบ
อาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.
อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็
อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องข้าศึก
ก็อดทนได้ อดทนต่อการสัมปหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 六月 29, 2018

Phutthachao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 51/178/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถานิสภเถรคาถา
คาถาของท่านพระนิสภเถระ เริ่มต้นว่า ปญฺจ กามคุเณ หิตฺวา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าอาทิผิด สระองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง
เห็นพระศาสดาเสด็จเที่ยวบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายผลมะขวิด.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปแต่ในสุคติภพอย่างเดียว เกิดใน
เรือนแห่งตระกูลในโกลิยชนบท ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า นิสภะ
เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในสงคราม ของเจ้าศากยะ และเจ้าโกลิยะ
ทั้งหลาย แล้วได้ศรัทธาจิต บวชแล้ว บรรลุพระอรหัตในวันนั้นเอง. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้ถวายผลมะขวิด แด่พระสัมพุทธเจ้า ผู้มี
พระฉวีวรรณปานดังทองคำ สมควรรับเครื่องบูชา
กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เห็นภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของตน
ยังกาลเวลาให้ล่วงไป ด้วยการอยู่อย่างประมาท เมื่อจะโอวาทภิกษุเหล่านั้น
ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 六月 28, 2018

Phao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 53/163/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เชษฐบุรุษของโลกเป็นนระผู้องอาจ ขอจงทรงอนุเคราะห์
เถิด ข้าพระองค์ขอถวายประทีป แก่พระองค์ผู้เข้าณานอยู่
ที่ควงไม้ พระสยัมภูผู้ประเสริฐ ธีรเจ้านั้น ทรงรับแล้ว
จึงห้อยไว้ที่ต้นไม้ ประกอบยนต์ในกาลนั้น เราได้ถวาย
ไส้ตะเกียงน้ำมันพันหนึ่ง แก่พระพุทธเจ้าผู้เผ่าอาทิผิด อาณัติกะพันธุ์ของ
โลก ประทีปลุกโพลงอยู่ ๗ วันแล้วดับไปเอง ด้วยจิตอัน
เลื่อมใสนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เราละกายมนุษย์
แล้วได้เข้าถึงวิมาน เมื่อเราเข้าถึงความเป็นเทวดา วิมาน
อันบุญกุศลนิรมิตไว้เรียบร้อย ย่อมรุ่งโรจน์โดยรอบ นี้
เป็นผลแห่งการถวายประทีป เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๒๘ ครั้ง เวลานั้น เรามองเห็นได้ตลอดโยชน์หนึ่งโดย
รอบทั้งกลางวันกลางคืน เราย่อมไพโรจน์ทั่วโยชน์หนึ่ง
โดยรอบ ในกาลนั้น ย่อมครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็น
ผลแห่งการถวายประทีป เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยราช
สมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป ใคร ๆ ย่อมไม่ดูหมิ่นเราได้
นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป เราได้บรรลุทิพยจักษุมอง
เห็นได้ตลอดพันโลกด้วยญาณในศาสนาของพระศาสดา
นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า
สุเมธ เสด็จอุบัติในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับแต่กัปนี้ เรามีจิต
ผ่องใสได้ถวายประทีปแก่พระองค์ คุณวิเศษเหล่านี้คือ
ปฏิสัมภิทา ๔ ...ฯ ลฯ... คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้
ทำเสร็จแล้ว.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 六月 24, 2018

Khuankhwai

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 53/153/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
มีสติเข้าไปตั้งไว้ เพ่งอยู่คือ ขวนขวายอาทิผิด อักขระในการเพ่ง ย่อมบรรลุนิพพานสุข
อันยอดเยี่ยม คือสูงสุด.
บทว่า สุวาคตํ นาปคตํ ความว่า การที่เรามาในสำนักของพระ-
ศาสดาในกาลนั้น หรือในการที่พระศาสดาเสด็จมาในป่ามหาวันนั้น เป็น
การมาดีแล้ว คือเป็นการมาที่ดี ไม่ใช่เป็นการมาไม่ดี คือเป็นการมาที่ไม่
ไปปราศจากประโยชน์.
บทว่า เนตํ ทุมฺมนฺติตํ มม ความว่า ข้อที่เราคิดไว้ในคราวนั้นว่า
จักบวชในสำนักของพระศาสดา แม้นี้ก็ไม่ใช่เป็นความคิดไม่ดีของเรา
คือเป็นความคิดดีทีเดียว. เพราะเหตุไร ? เพราะได้บรรลุในธรรมทั้งหลาย
ที่มีจำแนกไว้แล้ว. อธิบายว่า บรรดาธรรมทั้งหลายที่ทรงจำแนกไว้เป็น
อย่าง ๆ เช่นธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษเป็นต้น เราบรรลุพระ-
นิพพานอันประเสริฐ คือสูงสุดประเสริฐสุด ได้แก่เข้าถึงพระนิพพานนั้น
นั่นแล.
พระเถระเมื่อจะแสดงภาวะแห่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขว่า ในกาลนั้น
ในเวลาที่ยังเป็นปุถุชน เราอยู่ลำบากในป่าเป็นต้น เพราะเป็นผู้มีประโยค
และอาสยวิบัติ บัดนี้ เราอยู่เป็นสุขในป่าเป็นต้นนั้น เพราะเป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยประโยคและอาสยะ และเมื่อจะแสดงความเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ว่า
เมื่อก่อนเราเป็นพราหมณ์แต่เพียงชาติกำเนิด แต่บัดนี้ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะเป็นบุตรอันเกิดแต่พระอุระของพระศาสดา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
อรญฺเ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ สยามิ ความว่า เราแม้นอนอยู่ก็
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 六月 22, 2018

Chon

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 46/154/20 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เกิดในเขต เพราะเกิดในเขตของเรา ตรัสให้เสด็จเข้าสู่พระนคร ทรงให้สตรี
๒๐,๐๐๐ นาง ทำหน้าที่พระพี่เลี้ยง สตรีใด ๆ ให้พระกุมารทรงรู้ ทรงเคี้ยว
พระขาทนียะที่ทรงปรารถนาแล้ว ๆ สตรีนั้น ๆ ย่อมได้ทรัพย์พันหนึ่ง ชาว
พระนครพาราณสีทั้งสิ้นเคลื่อนไหว ชนทั้งปวงส่งบรรณาการตั้งพันถวายพระ-
กุมาร พระกุมารถูกมหาชนนำสิ่งนั้น ๆ ทูลว่า จงทรงเคี้ยวสิ่งนี้ จงเสวยสิ่งนี้
ก็ทรงเบื่อระอาด้วยโภชนะ ก็เสด็จไปสู่ซุ้มพระทวาร ทรงเล่นกับก้อนครั่ง.
ในกาลครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง อาศัยกรุงพาราณสีอยู่ที่
อิสิปตนะ ท่านลุกขึ้นตามกาล ทำกิจทั้งปวงมีเสนาสนวัตร บริกรรมร่างกาย
และมนสิการเป็นต้น ออกจากที่หลีกเร้น นึกอยู่ว่า วันนี้ จักรับภิกษาที่ไหน
เห็นสมบัติของพระกุมารแล้ว พิจารณาว่า ในกาลก่อน พระกุมารนี้ทรงทำ
กรรมอะไร ดังนี้ รู้ว่า พระกุมารนี้ได้ถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
เช่นเรา แล้วตั้งปรารถนา ๔ อย่าง ในปรารถนา ๔ อย่างนั้น ๓ อย่างสำเร็จ
แล้ว อีกอย่างหนึ่ง ยังไม่สำเร็จก่อน เราจักให้อารมณ์โดยอุบายแก่พระกุมาร
นั้น ดังนี้แล้ว ได้ไปสู่สำนักของพระกุมาร ด้วยอำนาจแห่งภิกขาจริยา พระ
กุมารทรงเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่พระสมณะ ท่าน
อย่ามาในที่นี้ ด้วยว่า คนเหล่านั้นพึงกล่าวแม้กะท่านว่า จงเคี้ยวสิ่งนี้ จงกิน
สิ่งนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น กลับจากที่นั้น ด้วยคำพูดคำเดียวเท่านั้น เข้า
ไปสู่เสนาสนะของตน.
ฝ่ายพระกุมารตรัสกะชนว่า สมณะนี้พอถูกเราพูดแล้ว ก็กลับ โกรธ
แก่เราหรือหนอ แต่นั้น แม้อันชนอาทิผิด อักขระเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 六月 21, 2018

Yak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/168/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ เมสิ วุตฺโต ความว่า ข้าพระองค์
ได้ทูลไว้แล้วในกาลก่อนเทียวมิใช่หรือว่า คนมีชาติขลาดกลัวเช่นพระองค์ ไม่
สามารถจะบูชายัญ ขึ้นชื่อว่า บูชายัญนี้ทำได้ยาก ให้ความยินดีได้ยากอาทิผิด สระ เมื่อเป็น
เช่นนี้ ท่านชื่อว่ากระทำความซัดส่ายแห่งยัญ ซึ่งถูกทอดทิ้งในบัดนี้ของเรา.
บาลีว่า วิขมฺภํ ดังนี้ ก็มี อธิบายว่า ปฏิเสธ. เขาแสดงว่า ดูก่อนมหาราช
เพราะเหตุไรพระองค์จึงทรงกระทำอย่างนี้ ก็ชนประมาณเท่าใด บูชายัญด้วย
ตนเองก็ดี ให้บุคคลอื่นบูชาก็ดี อนุโมทนาที่ผู้อื่นบูชาแล้วก็ดี ทั้งหมดนั้นย่อม
ไปสู่สุคติอย่างเดียว.
พระราชาผู้บอดเขลา ทรงถือเอาคำของกัณฑหาลพราหมณ์ ผู้เป็น
ไปในอำนาจแห่งความโกรธ ผู้สำคัญว่าเป็นการชอบธรรม ก็ทรงให้ราชบุรุษ
ไปจับกุมพระราชกุมารทั้งหลายกลับมาอีก.
เพราะเหตุนั้น พระจันทกุมาร เมื่อจะยังพระราชบิดาให้ทรงทราบ
จึงทูลว่า
ขอเดชะ เหตุไรในกาลก่อน พระองค์จึงรับสั่ง
ให้พราหมณ์กล่าวคำเป็นสวัสดีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
มาบัดนี้จะรับสั่งให้ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเพื่อต้องการ
บูชายัญ โดยหาเหตุมิได้เลย ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อน
ในเวลาที่ข้าพระองค์ยังเป็นเด็ก พระองค์มิได้ทรงฆ่า
และมิได้ทรงสั่งให้ฆ่า บัดนี้ข้าพระองค์ทั้งหลาย ถึง
ความเจริญวัยเป็นหนุ่มแน่นแล้ว มิได้คิดประทุษร้าย
พระองค์เลย เพราะเหตุไร จึงรับสั่งให้ฆ่าเสีย ข้า
แต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทอดพระเนตรข้า
พระองค์ทั้งหลาย ผู้ขึ้นคอช้าง ขี่หลังม้า ผูกสอด
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 六月 18, 2018

Daen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 50/161/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เราไม่กลัวภัย พระศาสดาของพวกเราทั้งหลาย
เป็นผู้ฉลาดในธรรมอันไม่ตาย ภัยย่อมไม่ตั้งอยู่ในหน
ทางใด ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไป โดยหนทางนั้น ดังนี้.
ในคาถานั้น ที่ชื่อว่า ภัย เพราะเป็นแดนอาทิผิด อักขระแห่งความกลัว ได้แก่
ชาติและชราเป็นต้น. บทว่า ภยสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งปัญจมี-
วิภัตติ อธิบายว่า เราไม่กลัว นิมิตอันพึงกลัวโดยเป็นภัย ด้วยเหตุมีชาติ
ชราและมรณะเป็นต้น พระเถระกล่าวถึงเหตุไว้ในคาถานั้นว่า สตฺถา โน
อมตสฺส โกวิโท พระศาสดาของพวกเราทั้งหลายเป็นผู้ฉลาด ในธรรมอัน
ไม่ตาย คือ พระศาสดา ของพวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ฉลาดในอมตธรรม
ได้แก่ ฉลาดในการให้ธรรมที่เป็นอมฤต แก่ไวเนยสัตว์ทั้งหลาย. บทว่า
ยตฺถ ภยํ นาวติฏติ ความว่า ภัยตามที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่ตั้งอยู่ คือ
ไม่ได้โอกาสในพระนิพพานใด.
บทว่า เตน ได้แก่ พระนิพพานนั้น. บทว่า วชนฺติ ความว่า
ย่อมถึงที่ ๆ เป็นภัยทีเดียว. อธิบายว่า พระนิพพาน ชื่อว่าที่ ๆ ไม่มีภัย. ถามว่า
ด้วยเหตุไร พระเถระจึงกล่าวว่า วชนฺติ ย่อมไป ตอบว่า เพราะว่า
ภิกษุทั้งหลายย่อมไปโดยทางนั้น อธิบายว่า ภิกษุทั้งหลาย คือผู้ที่เห็นภัยใน
สงสาร ผู้กระทำอาทิผิด สระตามโอวาทของพระบรมศาสดา ย่อมไป โดยทางของพระ-
อริยเจ้ามีองค์ ๘. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยตฺถ ความว่า ภัยแม้ทั้ง ๒๕ อย่าง
มีการเข้าไปตำหนิตนเองเป็นต้น ย่อมไม่ตั้งลง คือ ไม่ได้ที่พำนัก เพราะ
การบรรลุอริยมรรคใด ภิกษุในพระศาสนา ย่อมไปสู่ที่ ๆ ไม่มีภัย ด้วยอริย-
มรรคนั้น แม้เราเองก็ไปแล้วโดยทางนั้น. เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงพยากรณ์
พระอรหัตว่า เราไม่กลัวภัย ดังนี้.
จบอรรถกถานิโครธเถรคาถา
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 六月 16, 2018

Fao

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 73/150/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เป็นลานอันเดียวกัน นับตั้งแต่อกนิษฐภพจนถึงอเวจีนรก และโดยเบื้องขวาง
หมื่นจักรวาลอาทิผิด อักขระก็ได้เป็นลานอันเดียวกัน. เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์ แม้มนุษย์
ทั้งหลายก็เห็นเทวดา เทวดาและมนุษย์ทั้งหมด จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จจงกรมโดยปกติได้โดยประการใด ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จ
จงกรม โดยประการนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จจงกรม ก็ทรงแสดง
ธรรม และทรงเข้าสมาบัติในระหว่าง ๆ.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า อันหมู่เทพใน
หมื่นโลกธาตุห้อมล้อมแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ด้วยพุทธสิริวิลาส อันหาที่เปรียบ
มิได้ ด้วยพระพุทธลีลาอันไม่มีอะไรเปรียบ เหมือนภูเขาทองอันประเสริฐ
เคลื่อนที่ได้ มีพระพุทธสรีระอันประเสริฐ งดงามด้วยพระวรลักษณ์ ๓๒ อัน
กำลังกุศลที่ทรงสร้างสมมาตลอดสมัยที่ประมาณมิได้ รุ่งเรืองด้วยพระอนุพยัญ-
ชนะ ๘๐ มีพระสิริแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง สูง ๑๘ ศอก เหมือนดวงจันทร์
เต็มดวงในฤดูสารท และเหมือนดอกปาริฉัตตกะ สูงร้อยโยชน์ ออกดอกบาน
สะพรั่งทั่วต้น. ครั้นเห็นแล้วก็ดำริว่า หมื่นโลกธาตุแม้ทั้งสิ้นนี้ประชุมกันแล้ว
ก็ในที่ประชุมนี้ ควรมีพระธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่. ก็พุทธวงศ์เทศนา จะมี
อุปการะมาก นำมาซึ่งความเลื่อมใส ถ้ากระไร เราพึงทูลถามพุทธวงศ์ จำเดิม
แต่อภินีหารการบำเพ็ญบารมีของพระทศพล แล้วจึงทำจีวรเฉวียงบ่า เข้าเฝ้าอาทิผิด อักขระ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประคองอัญชลีที่รุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน เสมอดอกบัว
ตูมเกิดอยู่ในน้ำ ไม่มีมลทิน ไม่วิกล ไว้เหนือเศียรแล้ว ทูลถามผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามีว่า กีทิโส เต มหาวีร เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคี-
ติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวเป็นต้นว่า
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 六月 15, 2018

Nung

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 21/37/5  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๔๔๓] ท่านรัฐปาละ ก็ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้เป็นไฉน. ท่าน
รัฐปาละ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนมีอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก. เขาคิด
เห็นดังนี้ว่า เดี๋ยวนี้เราเป็นคนมีอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ก็การที่เราจะได้
โภคสมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทำ
ได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งอาทิผิด อักขระห่มผ้ากาสายะ ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. เขาประกอบด้วยความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้นั้น
จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้
เรียกว่าความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้. ส่วนท่านรัฐปาละ เดี๋ยวนี้เป็นผู้ไม่อาพาธ
ไม่มีทุกข์ ประกอบด้วยไฟธาตุที่ย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก
ไม่มีความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้นั้นเลย. ท่านรัฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า.
[๔๔๔] ท่านรัฐปาละ ก็ความเสื่อมจากโภคสมบัติเป็นไฉน. ท่าน
รัฐปาละ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก โภค
สมบัติเหล่านั้นของเขาถึงความสิ้นไปโดยลำดับ. เขาคิดเห็นดังนี้ว่า เมื่อก่อน
เราเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก โภคสมบัติเหล่านั้นของเราถึงความ
สิ้นไปโดยลำดับแล้ว ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะ
ทำโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด ดังนี้. เขา
ประกอบด้วยความเสื่อมจากโภคสมบัตินั้น จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านรัฐปาละผู้เจริญ นี้เรียกว่าความ
เสื่อมจากโภคสมบัติ. ส่วนท่านรัฐปาละเป็นบุตรของตระกูลเลิศในถุลลโกฏฐิต
นิคมนี้ ไม่มีความเสื่อมจากโภคสมบัตินั้น. ท่านรัฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร
จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 六月 14, 2018

To

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 69/158/10 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อุปกฺกิเลสา ปหียนฺติ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละ
อุปกิเลสได้ คือละนิวรณ์ได้ด้วยการข่มไว้. บทว่า วิตกฺกา วูปสมนฺติ วิตก
ย่อมสงบไป คือ วิตกไม่ตั้งมั่นแล้ว เที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ ย่อมถึงความสงบ
ภิกษุปรารภความเพียรละอุปกิเลสได้ด้วยฌานใด วิตกทั้งหลายย่อมสงบด้วย
ฌานนั้น. บทว่า อยํ ปโยโค ท่านทำเป็นปุงลิงค์เพราะเพ่งถึงประโยค.
บทว่า สญฺโญชนานิ ปหียนฺติ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรย่อมละสังโยชน์ได้
คือ ละสังโยชน์อันมรรคนั้น ๆ ทำลายด้วยสมุจเฉทปหาน. บทว่า อนุสยา
พฺยาสนฺติ อนุสัยย่อมถึงความพินาศ คือ เพราะอนุสัยที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีก
จึงชื่อว่า พยนฺตา เพราะมีเกิดหรือเสื่อมปราศจากไปแล้ว. ชื่อว่า พฺยนฺติ
โหนฺติ เพราะไม่เสื่อมมาก่อน ต่ออาทิผิด อักขระมาเสื่อม ความว่า พินาศ. เพื่อแสดงว่า
การละสังโยชน์ย่อมมีได้ด้วยการละอนุสัย มิใช่ด้วยอย่างอื่น ท่านจึงกล่าวถึง
การละอนุสัย. ความว่า ละสังโยชน์ได้ด้วยมรรคใด อนุสัยย่อมพินาศไปด้วย
มรรคนั้น นี้เป็นความวิเศษ.
ในจตุกะที่ ๔ ท่านกล่าวถึงอริยมรรคไว้ในที่นี้ เพราะแม้อริยมรรค
ท่านก็ได้ชี้แจงไว้แล้ว แม้เมื่อไม่กล่าวถึงความไม่มีอารมณ์เป็นสองแห่งจิต
ดวงเดียว เพราะสำเร็จแล้วท่านจึงไม่แก้จิตดวงนั้นแล้วสรุปว่า ธรรม ๓ อย่าง
เหล่านั้นไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวอย่างนี้.
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะสรรเสริญพระโยคาวจร ผู้สำเร็จภาวนา
นั้นจึงกล่าวคาถาว่า อานาปานสฺสติ ยสฺส แล้วกล่าวนิเทศแห่งคาถานั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบทนั้นดังต่อไปนี้ ภิกษุใดเจริญอานาปานสติให้
บริบูรณ์ดีแล้ว อบรมแล้วตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ภิกษุ
นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนอะไร เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจาก
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 六月 12, 2018

Bueang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 47/158/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในทิศใต้ (ทกฺขิณาย ทิสาย) มีนิคมอาทิผิด อักขระชื่อว่าเสตะกัณณิกะ ถัดจาก
นิคมนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ
ในทิศตะวันตก (ปจฺฉิมาย ทิสาย) มีบ้านอาทิผิด อักขระพราหมณ์ชื่อ ถูนะ
ถัดจากบ้านพราหมณ์ชื่อถูนะไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิม
ประเทศ.
ในทิศอุดร (เหนือ) (อุตฺตราย ทิสาย) มีภูเขาชื่อว่า อุสีรัทธชะ
ต่อจากภูเขานั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ.
มัชฌิมประเทศนี้ยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ วัด โดยรอบได้
๙๐๐ โยชน์มัชฌิมประเทศน์ ชื่อว่า ปฏิรูปเทส.
พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นอิสริยาธิบดี แห่งทวีปใหญ่ ๔ ทวีปและทวีป
น้อย ๒,๐๐๐ ทวีป ก็ทรงอุบัติในอาทิผิด มัชฌิมประเทศนี้ พระมหาสาวกทั้งหลาย มี
พระสารีบุตรและพระโมคัลคัลลาน์เป็นต้น ซึ่งบำเพ็ญบารมีหนึ่งอสงไขยแสนกัป
ก็บังเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บำเพ็ญบารมี ๒
อสงไขยกับแสนกัป ก็อุบัติขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายผู้บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขย หรือ ๘ อสงไขย หรือ ๑๖ อสงไขย กับ
แสนกัป ก็บังเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้.
ในมัชฌิมประเทศนั้น สัตว์ทั้งหลายรับโอวาทของพระปัจเจกพุทธเจ้า
แล้วดำรงอยู่ในเบญจศีล ก็มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ดำรงอยู่ในโอวาท
ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็เหมือนกัน แต่ดำรงอยู่ในโอวาทของพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายแล้ว มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ด้วย มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องอาทิผิด อักขระหน้าด้วย การอยู่ในประเทศนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสว่าเป็น มงคล เพราะเป็นปัจจัยแห่งสมบัติทั้งหลายเหล่านี้ด้วย.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 六月 10, 2018

Ratri

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 37/153/5 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
กำแพง เพื่อจะรักษากำแพงเมืองนั้น. เพราะเหตุนั้น เมืองนั้นจึงมีชื่อว่า
เวฬุกัณฏกะนั่นแล. บทว่า ปารายนํ ความว่า ซึ่งธรรม อันได้โวหารว่า
ปารายนะ. เพราะเป็นที่ดำเนินไปถึงฝั่งคือพระนิพพาน. บทว่า
สเรน ภาสติ ความว่า นันทมารดาอริยสาวิกา นั่งในที่มีอารักขา
อันเขาจัดแจงไว้ดีแล้ว บนพื้นชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น ให้ครึ่งราตรีอาทิผิด อักขระ
ผ่านล่วงไปด้วยกำลังแห่งสมาบัติ ครั้นออกจากสมาบัติแล้วคิดว่า
เราจักให้ราตรีที่เหลือเพียงเท่านี้ ผ่านล่วงไปด้วยความยินดีเพียงไหน ?
แล้วกระทำความตกลงว่า จะให้ผ่านล่วงไปด้วยความยินดีในธรรม
ดังนี้แล้วนั่งบรรลุผล ๓ จึงกล่าวปารายนสูตร ประมาณ ๒๕๐ คาถา
โดยทำนองสรภัญญะอันไพเราะ
บทว่า อสฺโสสิ โข ความว่า ท้าวเวสสวัณมหาราชทรงตรวจ
ดูวิมานอันตั้งอยู่ในอากาศแล้ว ขึ้นสู่ยานนาริวาหนะ เสด็จออกไป
โดยทางอันผ่านส่วนเบื้องบนปราสาทนั้น ได้ยินเสียง (ปารายนสูตร)
แล้ว. บทว่า กถาปริโยสานํ อาคมยมาโน อฏฺฐาสิ ความว่า ท้าว-
เวสวัณมหาราชนั้น ครั้นตรัสถามว่า พนาย นั่นเสียงอะไร เมื่อ
ยักขบริษัททูลว่า นั่นคือเสียงสวดโดยทำนองสรภัญญะ ของนันท-
มารดาอุบาสิกา ดังนี้แล้ว เสด็จลงรอคอยการจบเทศนานี้ว่า อิทมโวจ
แล้วประทับยืนบนอากาศในที่ไม่ไกลนัก. บทว่า สาธุ ภคินิ สาธุ
ภคินิ ความว่า ท้าวเวสวัณมหาราช ตรัสว่า พี่ท่าน พระธรรม-
เทศนาท่านรับมาดีแล้ว กล่าวดีแล้ว เราไม่เห็นอะไรที่จะต่างกัน
ระหว่างวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับที่ปาสาณกเจดีย์ ตรัสแก่
ปารายนิกพราหมณ์ ๑๖ คน และที่นี้ท่านกล่าววันนี้ คำที่นี่
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 六月 05, 2018

Noen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 66/157/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้รูปจึงไม่มี เพราะว่าส่วนแห่ง
ธรรมเครื่องให้เนิ่นช้าอาทิผิด อาณัติกะ มีสัญญาเป็นนิทาน.
[๕๐๓] คำว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ ไม่เป็น
ผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ ความว่า ชนเหล่าใด ตั้งอยู่โดยสัญญาปกติ
ชนเหล่านั้นเรียกว่า เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ บุคคลนั้นไม่ตั้งอยู่โดย
สัญญาปกติ ชนเหล่าใดเป็นบ้า และเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ชนเหล่านั้นเรียกว่า
เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ บุคคลนั้นไม่เป็นบ้า ทั้งไม่เป็นผู้มีจิต
ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาปกติ
ไม่เป็นผู้มีสัญญาโดยสัญญาผิดปกติ.
[๕๐๔] คำว่า ไม่เป็นผู้ไม่มีสัญญา และไม่เป็นผู้ปราศจาก
สัญญา ความว่า ชนเหล่าใดเข้านิโรธ และเป็นอสัญญีสัตว์ ชนเหล่านั้น
เรียกว่า เป็นผู้ไม่มีสัญญา. บุคคลนั้นไม่ใช่ผู้เข้านิโรธทั้งไม่ใช่เป็นอสัญญี-
สัตว์ ชนเหล่าใดได้อรูปสมาบัติ ๔ ชนเหล่านั้นเรียกว่า ไม่เป็นผู้ปราศจาก
สัญญา. บุคคลนั้นไม่เป็นผู้ได้อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่
เป็นผู้ไม่มีสัญญาและไม่เป็นผู้ปราศจากสัญญา.
[๕๐๕] คำว่า เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ รูปจึงไม่มี ความว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เพราะละสุข ภิกษุนั้นเมื่อ
จิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
ประโยชน์แก่การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วย
ธรรมเป็นทางแห่งอรูปสมาบัติ เมื่อบุคคลดำเนินอย่างนี้ คือปฏิบัติ ผลัด
เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยาอยู่อย่างนี้ ด้วยประการ
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 六月 04, 2018

Mueang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 43/148/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เสด็จไปยังเมืองอาทิผิด อักขระไพศาลี ” แล้ว รับสั่งให้ทำการป่าวร้องในพระนครเข้าไป
เฝ้าพระศาสดา ทูลถามว่า “ พระองค์ทรงรับการเสด็จไปเมืองไพศาลีหรือ
พระเจ้าข้า ?” เมื่อพระศาสดาตรัสว่า “ ขอถวายพระพร มหาบพิตร”
ทูลว่า “ ถ้ากระนั้น ขอพระองค์ทรงรอก่อน พระเจ้าข้า, ข้าพระองค์
จัดแจงหนทางก่อน ” แล้วรับสั่งให้ปราบพื้นที่ ๕ โยชน์ในระหว่างกรุง-
ราชคฤห์และแม่น้ำคงคา (ต่อกัน) ให้สม่ำเสมอ ให้จัดแจงวิหารไว้ในที่
โยชน์หนึ่ง ๆ จึงกราบทูลกาลเป็นที่เสด็จไปแด่พระศาสดา.
ครั้งนั้น พระศาสดาเสด็จเดินทางกับภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระราชา
รับสั่งให้โปรยดอกไม้ ๕ สี โดยส่วนสูงประมาณเพียงเข่า ในระหว่าง
โยชน์หนึ่ง ๆ แล้วให้ยกธงชัย ธงแผ่นผ้า และต้นกล้วยเป็นต้น ให้กั้น
เศวตฉัตร ๒ คันซ้อนกันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กั้นเศวตฉัตรแก่ภิกษุ
รูปละคันๆ พร้อมทั้งบริวาร ทรงทำบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น
ทรงอาราธนาพระศาสดาให้ประทับอยู่ในวิหารแห่งหนึ่ง ๆ ถวายมหาทาน
แล้ว ให้เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคาโดย ๕ วัน ทรงประดับเรือในที่นั้น พลาง
ทรงส่งข่าวไปแก่ชาวเมืองไพศาลีว่า “ ชาวเมืองไพศาลีจงจัดแจงหนทาง
ทำการรับรองพระศาสดาเถิด.”
ชาวเมืองไพศาลีจัดการต้อนรับพระศาสดา
ชาวเมืองไพศาลีเหล่านั้น คิดว่า “ เราทั้งหลายจักทำการบูชาทวีคูณ
(๒ เท่า) แล้วปราบพื้นที่ประมาณ ๓ โยชน์ ในระหว่างเมืองไพศาลีและ
แม่น้ำคงคา (ต่อกัน) ให้สม่ำเสมอ แล้วตระเตรียมเศวตฉัตรซ้อน ๆ กัน
ด้วยเศวตฉัตร เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ๔ คัน เพื่อภิกษุรูปละ ๒ คัน
ทำการบูชาอยู่ ได้มายืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 六月 03, 2018

Chuti

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 72/144/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๔๘๙. อรรถกถาธรรมรุจิเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทาหํ มาณโว อาสึ ความว่า สุเมธบัณฑิตได้รับพยากรณ์
จากสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าทีปังกรในกาลใดในกาลนั้นเรา
ชื่อว่า เมฆะ เป็นพราหมณ์หนุ่มบวชเป็นฤาษีร่วมกับสุเมธดาบส ศึกษาใน
สิกขาบททั้งหลายจบแล้วคลุกคลีกับเพื่อนชั่วบางคนเข้า เพราะโทษที่คลุก-
คลีสมาคมกันจึงตกไปในอำนาจแห่งวิตกที่ลามกเป็นต้น ด้วยกรรมคือการ
ฆ่ามารดา จึงได้เสวยทุกข์อันเนื่องด้วยเปลวไฟเป็นต้นในนรก จุติอาทิผิด อักขระจากอัตภาพ
นั้นแล้ว ได้บังเกิดเป็นปลาใหญ่ชื่อ ติมิงคละ ในมหาสมุทร มีความประสงค์
จะกลืนเรือใหญ่ที่แล่นไปในท่ามกลางมหาสมุทร จึงได้ว่ายไป พวกพ่อค้า
เห็นเราเข้าจึงกลัวร้องเสียงดังว่า โอ พระผู้มีพระภาคเจ้าโคดม ลำดับนั้น
ด้วยอำนาจวาสนาที่ได้อบรมมาในกาลก่อน ปลาใหญ่จึงเกิดความเคารพใน
พระพุทธเจ้า จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ที่สมบูรณ์
ด้วยสมบัติในกรุงสาวัตถี มีศรัทธาเลื่อมใส ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ
ศาสดาแล้วบวช ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ได้ไปสู่ที่บำรุง
วันละ ๓ ครั้ง ระลึกถึงไหว้อยู่ ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะ
เราว่า เป็นผู้ยินดีในธรรมได้นาน. ลำดับนั้น พระเถระรูปนั้นกล่าวชมเชย
ด้วยคาถาเป็นต้นว่า สุจิรํ สตปุญฺญลกฺขณํ ผู้ทรงพระลักษณะแห่งบุญตั้งร้อย
เสียนานดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้ทรงพระลักษณะแห่งบุญตั้งร้อยผู้เจริญ. บทว่า
ปติปุพฺเพน วิสุทฺธปจฺจยํ ความว่า ข้าพเจ้ามิได้พบเห็นท่านผู้มีปัจจัยสมภารที่
บำเพ็ญมาจนบริบูรณ์ ณ บาทมูลของพระพุทธเจ้าทีปังกรในกาลก่อนเสียนาน
 
พระปิฎกธรรม