Daen
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 50/161/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เราไม่กลัวภัย พระศาสดาของพวกเราทั้งหลาย
เป็นผู้ฉลาดในธรรมอันไม่ตาย ภัยย่อมไม่ตั้งอยู่ในหน
ทางใด ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไป โดยหนทางนั้น ดังนี้.
ในคาถานั้น ที่ชื่อว่า ภัย เพราะเป็นแดนอาทิผิด อักขระแห่งความกลัว ได้แก่
ชาติและชราเป็นต้น. บทว่า ภยสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งปัญจมี-
วิภัตติ อธิบายว่า เราไม่กลัว นิมิตอันพึงกลัวโดยเป็นภัย ด้วยเหตุมีชาติ
ชราและมรณะเป็นต้น พระเถระกล่าวถึงเหตุไว้ในคาถานั้นว่า สตฺถา โน
อมตสฺส โกวิโท พระศาสดาของพวกเราทั้งหลายเป็นผู้ฉลาด ในธรรมอัน
ไม่ตาย คือ พระศาสดา ของพวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ฉลาดในอมตธรรม
ได้แก่ ฉลาดในการให้ธรรมที่เป็นอมฤต แก่ไวเนยสัตว์ทั้งหลาย. บทว่า
ยตฺถ ภยํ นาวติฏติ ความว่า ภัยตามที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่ตั้งอยู่ คือ
ไม่ได้โอกาสในพระนิพพานใด.
บทว่า เตน ได้แก่ พระนิพพานนั้น. บทว่า วชนฺติ ความว่า
ย่อมถึงที่ ๆ เป็นภัยทีเดียว. อธิบายว่า พระนิพพาน ชื่อว่าที่ ๆ ไม่มีภัย. ถามว่า
ด้วยเหตุไร พระเถระจึงกล่าวว่า วชนฺติ ย่อมไป ตอบว่า เพราะว่า
ภิกษุทั้งหลายย่อมไปโดยทางนั้น อธิบายว่า ภิกษุทั้งหลาย คือผู้ที่เห็นภัยใน
สงสาร ผู้กระทำอาทิผิด สระตามโอวาทของพระบรมศาสดา ย่อมไป โดยทางของพระ-
อริยเจ้ามีองค์ ๘. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยตฺถ ความว่า ภัยแม้ทั้ง ๒๕ อย่าง
มีการเข้าไปตำหนิตนเองเป็นต้น ย่อมไม่ตั้งลง คือ ไม่ได้ที่พำนัก เพราะ
การบรรลุอริยมรรคใด ภิกษุในพระศาสนา ย่อมไปสู่ที่ ๆ ไม่มีภัย ด้วยอริย-
มรรคนั้น แม้เราเองก็ไปแล้วโดยทางนั้น. เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงพยากรณ์
พระอรหัตว่า เราไม่กลัวภัย ดังนี้.
จบอรรถกถานิโครธเถรคาถา
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论