星期四, 六月 21, 2018

Yak

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 64/168/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ เมสิ วุตฺโต ความว่า ข้าพระองค์
ได้ทูลไว้แล้วในกาลก่อนเทียวมิใช่หรือว่า คนมีชาติขลาดกลัวเช่นพระองค์ ไม่
สามารถจะบูชายัญ ขึ้นชื่อว่า บูชายัญนี้ทำได้ยาก ให้ความยินดีได้ยากอาทิผิด สระ เมื่อเป็น
เช่นนี้ ท่านชื่อว่ากระทำความซัดส่ายแห่งยัญ ซึ่งถูกทอดทิ้งในบัดนี้ของเรา.
บาลีว่า วิขมฺภํ ดังนี้ ก็มี อธิบายว่า ปฏิเสธ. เขาแสดงว่า ดูก่อนมหาราช
เพราะเหตุไรพระองค์จึงทรงกระทำอย่างนี้ ก็ชนประมาณเท่าใด บูชายัญด้วย
ตนเองก็ดี ให้บุคคลอื่นบูชาก็ดี อนุโมทนาที่ผู้อื่นบูชาแล้วก็ดี ทั้งหมดนั้นย่อม
ไปสู่สุคติอย่างเดียว.
พระราชาผู้บอดเขลา ทรงถือเอาคำของกัณฑหาลพราหมณ์ ผู้เป็น
ไปในอำนาจแห่งความโกรธ ผู้สำคัญว่าเป็นการชอบธรรม ก็ทรงให้ราชบุรุษ
ไปจับกุมพระราชกุมารทั้งหลายกลับมาอีก.
เพราะเหตุนั้น พระจันทกุมาร เมื่อจะยังพระราชบิดาให้ทรงทราบ
จึงทูลว่า
ขอเดชะ เหตุไรในกาลก่อน พระองค์จึงรับสั่ง
ให้พราหมณ์กล่าวคำเป็นสวัสดีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย
มาบัดนี้จะรับสั่งให้ฆ่าข้าพระองค์ทั้งหลายเพื่อต้องการ
บูชายัญ โดยหาเหตุมิได้เลย ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อน
ในเวลาที่ข้าพระองค์ยังเป็นเด็ก พระองค์มิได้ทรงฆ่า
และมิได้ทรงสั่งให้ฆ่า บัดนี้ข้าพระองค์ทั้งหลาย ถึง
ความเจริญวัยเป็นหนุ่มแน่นแล้ว มิได้คิดประทุษร้าย
พระองค์เลย เพราะเหตุไร จึงรับสั่งให้ฆ่าเสีย ข้า
แต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทอดพระเนตรข้า
พระองค์ทั้งหลาย ผู้ขึ้นคอช้าง ขี่หลังม้า ผูกสอด
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: