Phasunthari
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 63/193/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ทั้งนั้น. บทว่า นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโม ความว่า พระราชาทรงครวญคร่ำ
รำพันว่า ความมาแห่งมัจจุนั้น เรารู้ในวันนี้เอง เมื่อก่อนแต่นี้ เราไม่รู้เลย.
บทว่า สฺ วาชฺเชวงฺคเต กาเล ความว่า พระราชาทรงแสดงว่า สามบัณฑิตใด
ถูกลูกศรอาบยาพิษซึมซาบแล้วเจรจาอยู่กะเราในบัดนี้ทีเดียว สามบัณฑิตนั้น
ครั้นมรณกาลไปคือเป็นไปอย่างนี้ในวันนี้ ไม่กล่าวอะไร ๆ แม้แต่น้อยเลย.
บทว่า ตทา หิ ความว่า เราผู้ยิงสามบัณฑิตในขณะนั้นได้กระทำบาปแล้ว.
บทว่า จิรํ รตฺตาย กิพฺพิสํ ความว่า ก็บาปนั้นทารุณหยาบช้าสามารถทำ
ให้เดือดร้อนตลอดราตรีนาน. บทว่า ตสฺส ความว่า ติเตียนเรานั้น ผู้เที่ยว
ทำกรรมชั่วเห็นปานนี้. บทว่า วตฺตาโร ความว่า ย่อมติเตียน. ติเตียนที่ไหน ?
ติเตียนอาทิผิด ในบ้าน. ติเตียนว่าอย่างไร ติเตียนว่าเป็นผู้ทำกรรมหยาบช้า.
พระราชาทรงคร่ำครวญว่า ก็ในป่าอันหามนุษย์มิได้นี้ ใครเล่าควร
จะกล่าวติเตียนเรา ถ้าจะมี ก็พึงว่ากล่าวเรา. บทว่า สารยนฺติ ได้แก่ ใน
บ้านหรือในนิคมเป็นต้น. บทว่า สํคจฺฉ มาณวา ความว่า คนทั้งหลาย
จะประชุมกันในที่นั้น ๆ จะยังกันและกัน ให้ระลึกถึงกรรมทั้งหลาย จะโจทนา
อย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้ฆ่าคน ท่านทำทารุณกรรม ท่านต้องได้รับโทษอย่างโน้น
แต่ในป่าอันหามนุษย์มิได้นี้ ใครเล่าจักยังพระราชานี้ให้ระลึกถึงกรรม พระ-
ราชาทรงโจทนาตนคร่ำครวญอยู่อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
กาลนั้น เทพธิดามีนามว่าพสุนธรีอาทิผิด สระ อยู่ภูเขาคันธมาทน์ เคยเป็นมารดา
ของพระมหาสัตว์ในอัตภาพที่เจ็ด พิจารณาดูพระโพธิสัตว์อยู่เป็นนิจ ด้วย
ความสิเนหาในบุตร ก็วันนั้นนางเสวยทิพยสมบัติ มิได้พิจารณาดูพระมหาสัตว์
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论