Phirap
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 79/202/7 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คือนำธรรมอันไม่มีอุปการะออกไป เสพธรรมอันมีอุปการะทั้งหลาย เมื่อท่าน
เสพธรรมอันมีอุปการะเหล่านั้นจึงไม่เสื่อมจากสมาบัติ. เปรียบเหมือนชาวนา
ผู้รักษานา ๒ คน เป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.
คนหนึ่ง มีโรคผอมเหลือง ทนต่อความหนาวเป็นต้นไม่ได้ คนหนึ่ง
ไม่มีโรคอดทนต่อความหนาวเย็นเป็นต้นได้ คนที่มีโรคไม่ลงจากกระท่อมไป
ข้างล่าง เขาละทิ้งการรักษานา ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน พวกนกแขกเต้า นก
พิราบอาทิผิด และนกยูงเป็นต้น พากันมาสู่นาของเขาในเวลากลางวัน จิกกินรวง
ข้าวสาลีอาทิผิด อักขระ ในเวลากลางคืน พวกเนื้อและสุกรเป็นต้น เข้าไปสู่ลานนาคุ้ยเขี่ย
ราวกะที่อันตนทำไว้เอง ครั้นคุ้ยเขี่ยแล้วก็ไป เขาย่อมไม่ได้แม้สักว่าข้าวปลูก
อีก เพราะเหตุแห่งความประมาทของตน ส่วนบุคคลผู้ไม่มีโรคไม่ละทิ้งการ
รักษานาตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เขาย่อมได้ข้าวประมาณ ๔ เกวียนบ้าง
๘ เกวียนบ้าง จากที่ประมาณกรีสหนึ่ง เพราะความไม่ประมาทของตน. ใน
พระโยคี ๒ รูปนั้น บัณฑิตพึงเห็นพระโยคีผู้เจตนาภัพพบุคคล เหมือนคน
ขี้โรครักษานา พึงเห็นพระโยคีผู้อนุรักขนาภัพพบุคคล เหมือนคนไม่มีโรค.
บัณฑิตพึงทราบความเสื่อมจากสมาบัติของเจตนาภัพพบุคคลผู้ไม่รู้
ธรรมมีอุปการะและไม่มีอุปการะ แล้วละธรรมอันมีอุปการะ เสพธรรมอัน
ไม่มีอุปการะอยู่ เหมือนกับการไม่ได้เมล็ดพืชที่จะปลูกอีกของคนมีโรค เพราะ
ความประมาทของตน พึงทราบความไม่เสื่อมจากสมาบัติของอนุรักขนาภัพพ-
บุคคลผู้รู้ธรรมมีอุปการะและไม่มีอุปการะ แล้วละธรรมอันไม่มีอุปการะ เสพ
อยู่ซึ่งธรรมมีอุปการะ เปรียบเหมือนกับการได้ข้าว ๔ เกวียน ๘ เกวียน จาก
ที่ประมาณกรีสหนึ่ง ของบุคคลผู้ไม่มีโรคเพราะความไม่ประมาทของตน
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论